Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2759
Title: การรับรู้และการเข้าถึงสิทธิประกันสังคมของกลุ่มแรงงานในระบบในจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Perception and Access to Social Insurance Rights of Formal Workers in Samutprakarn Province
Authors: จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร
Jaturong Boonyarattanasoontorn
ณัฐนนท์ บรรดาศักดิ์
Nathanon Bundasuk
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: ประกันสังคม
Social security
แรงงาน -- ไทย -- สมุทรปราการ
Labor -- Thailand -- Samut Prakarn.
สิทธิลูกจ้าง
Employee rights
การรับรู้
Perception
Issue Date: 2012
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาเรื่อง “การรับรู้ และการเข้าถึงสิทธิประกันสังคมของกลุ่มแรงงานในระบบในจังหวัดสมุทรปราการ “มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษระดับการรับรู้เรื่องสิทธิประกันสังคมของแรงงานในระบบในจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อศึกษาการเข้าถึงและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงสิทธิประกันสังคมของแรงงงานในระบบในจังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อศึกษาแนวทางและมาตรการในการส่งเสริมผู้ใช้แรงงานให้รับรู้และเข้าถึงสิทธิประกันสังคมมากขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแรงงานในระบบอุตสาหกรรมอำเภอบางพลี จำนวน 233 คน อำเภอบางเสาธง จำนวน 128 คน อำเภอบางบ่อ จำนวน 23 คน รวมทั้งหมด 384 คน ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุระหว่าง 21-30 ปี จำนวน 203 คน คิดเป็นร้อยละ 52.9 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 146 คน คิดเป็นร้อยละ 38 มีรายได้ต่อเดือน 5,001-10,00 คน จำนวน 185 คน คิดเป็นร้อยละ 48.2 มีประสบการณ์ทำงานในภาคอุตสาหกรรมมา 1-5 ปี จำนวน 188 คน คิดเป็นร้อยละ 49 มีภูมิลำเนามาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 120 คน คิดเป็นร้อยละ 31.3 ส่วนใหญ่เคยใช้สิทธิประกันสังคม เรื่องของกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายอ้นมิใช่เนื่องจากการทำงาน และส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับข้อมูลหรือคำแนะนำเกี่ยวกับสิทธิประกันสังคม และเอกสารที่ต้องเตรียมในการใช้สิทธิจากเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม แต่ได้รับข้อมูลข่าวสาร หรือคำแนะนำเกี่ยวกับสิทธิประกันสังคมจากหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารผลการศึกษาการรับรู้สิทธิประกันสังคม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งมีระดับความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิประกันสังคมอยู่ในระดับต่ำ จำนวน 197 คน คิดเป็นร้อยละ 51.3 รองลงมา อยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 183 คิดเป็นร้อยละ 47.7 และระดับมากมีเพียง 4 คน คิดเป็นร้อยละ 1 ผลการศึกษาการเข้าถึงและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงสิทธิประกันสังคม พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับการเข้าถึงสิทธิบริการด้านสิทธิประกันสังคมในระดับต่ำ จำนวน 365 คน คิดเป็นร้อยละ 95.1 และมีผู้ไม่เคยเข้ารับบริการ จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 4.9 และพบว่า การศึกษา รายได้ และการรับรู้ข่าวสารด้านประกันสังคม มีความสัมพันธ์ต่อการเข้าถึงสิทธิประกันสังคมของกลุ่มตัวอย่างจากผลการศึกษาดังกล่าวผู้วิจัยมีข้อเสนอว่า สำนักงานประกันสังคม ควรมีนโยบายเชิงรุก โดยดำเนินการให้ความรู้เรื่องสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตน และสถานประกอบการ ควรติตตามสถานประกอบการที่ยังไม่ดำเนินการขึ้นทะเบียนแก่ผู้ประกันตนอย่างถูกต้องตาม พรบ. ประกันสังคม และเปิดโอกาสให้มีตัวแทนจากกลุ่มผู้ประกันตนเข้าเสนอความคิดเห็น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดนโยบายหรือสิทธิประโยชน์ให้มากขึ้นการจัดบุคลากรออกให้ความรู้เรื่องสิทธิประโยชน์ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้สิทธิการรักษาแก่ผู้ประกันตนตามสถานประกอบการต่างๆ ในทุกพื้นที่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวจ้องในการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานประกันสังคม สถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ สถานประกอบการ เพื่อรับทราบปัญหาในแต่ละด้าน และหาแนวทางแก้ไข และสิ่งสำคัญสำนักงานประกันสังคม ควรประชาสัมพันธ์ข่าวสารตามสื่อต่างๆ ให้แก่ผู้ประกันตนมากขึ้น เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือการติดตามข่าวสาร สิทธิประโยชน์ เอกสารแบบฟอร์มต่างๆ ของผู้ประกันตน ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม โดยการปรับข้อมูลใหม่ให้ทันกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
Description: การศึกษาอิสระ (สส.ม.) (บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2759
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Perception-and-Access-to-Social-Insurance-Rights.pdf
  Restricted Access
10.52 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.