Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2761
Title: | การเตรียมความพร้อมของผู้ต้องขังสูงอายุก่อนพ้นโทษ :กรณีศึกษาเรือนจำกลางพระนครศรีอยุธยา |
Other Titles: | Preparation for Aging Prisoners before Release : A Study of Aging Prisoners in Ayudhya Prison |
Authors: | ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya ณัฐวิชย์ ยันตะนะ Natvit Yantana Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | นักโทษสูงอายุ Older prisoners การเตรียมพร้อม Preparedness การปรับพฤติกรรม Behavior modification เรือนจำกลางพระนครศรีอยุธยา |
Issue Date: | 2002 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษา เรื่อง “การเตรียมความพร้อมผู้ต้องขังสูงอายุก่อนพ้นโทษ : ศึกษาเฉพาะกรณีเรือนจำกลาง พระนครศรีอยุธยา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของผู้ต้องขังสูงอายุ ศึกษาความคิดเห็นของผู้ต้องขังสูงอายุ เจ้าหน้าที่ ครอบครัว เพื่อนบ้าน เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนกลับเข้าสู่สังคมภายนอก และศึกษาการเตรียมความพร้อมของเรือนจำการศึกษาครั้งนี้ใช้การศึกษาจากข้อมูลเอกสาร ผลงานวิจัย และวรรณกรรมต่างๆ และการวิจัยภาคสนาม โดยใช้การเก็บข้อมูลกลุ่มประชากรที่ทำการศึกษา คือ ผู้ต้องขังสูงอายุชายในเรือนจำกลางพระนครศรีอยุธยา โดยเป็นผู้มีภูมิลำเนาก่อนต้องโทษในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี สมุทรปราการ นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร จำนวน 10 ราย ใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษาเป็นรายบุคคล ใช้วิธีการสัมภาษณ์ การสังเกตและการเยี่ยมบ้าน ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยนำเสนอในรูปแบบการพรรณนาเป็นรายบุคคล และสรุปข้อมูลในรูปแบบตารางผลการศึกษาสรุปได้ว่า ผู้ต้องขังสูงอายุมีอายุระหว่าง 60-68 ปี ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง คดีที่ทำผิดส่วนใหญ่ คือ คดีพระราชบัญญัติยาเสพติด (ยาบ้า) ได้รับการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ป.ว.ส.) ส่วนใหญ่มีการสมรสมากกว่าหนึ่งครั้ง ฐานะเศรษฐกิจของครอบครัวยากจนถึงปานกลาง ส่วนใหญ่ขณะต้องโทษอยู่ในเรือนนจำได้รับการเยี่ยมเยียน 1-2 เดือนต่อครั้ง ส่วนการติดต่อญาติด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ค่อยมีการติดต่อกัน สำหรับการเตรียมความพร้อมของทางเรือนจำ มีการได้รับการเตรียมความพร้อมทางด้านการศึกษาธรรมะ การเรียนรู้ศีลธรรม มีจำนวน 1 ราย และส่วนใหญ่จะเป้นการได้รับการเตรียมทางด้านร่างกาย เช่น การออกกำลังกาย เป็นต้น ส่วนการเตรียมความพร้อมทางด้านการสังคมสงเคราะห์ การฝึกอาชีพและวิธีการทางจิตวิทยาไม่มีการได้รับการเตรียมความพร้อมจากทางเรือนจำส่วนทางด้านการยอมรับของครอบครัวและเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้องนั้น จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าส่วนใหญ่มีการยอมรับการกลับมาอยู่ที่ครอบครัวหรือชุมชน เป็นที่น่าพอใจ มีเพียง 2 ครอบครัวที่ญาติผู้ต้องขังสูงอายุจะกลับไปอยู่ด้วยเป็นเพียงญาติพี่น้องเท่านั้น ไม่ใช่ครอบครัวที่ตนเองเคยอยู่ เนื่องจากครอบครัวที่ตนเองเคยอยู่ ลูกๆ ของผู้ต้องขังติดคุก และส่วนภรรยาได้เสียชีวิตหนึ่งราย ส่วนอีกหนึ่งรายภรรยาได้มีครอบครัวใหม่ผู้ศึกษาได้เสนอให้มีการเตรียมความพร้อมกับผู้ต้องขังสูงอายุของเรือนจำ เพื่อให้เรือนจำเล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้ต้องขังสูงอายุให้ได้การเตรียมความพร้อมที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลถึงการกลับไปใช้ชีวิตในสังคมปกติ โดยที่ไม่หันกลับมาก่ออาชญากรรมหรือสร้างความเดือนร้อนให้กับสังคม รวมทั้งการร่วมมือกับครอบครัว ชุมชน และองค์กรต่างๆ ที่จะมาช่วยเหลือในเรื่องของผู้ต้องขังสูงอายุในการปรับตัวกลับออกไปใช้ชีวิตในสังคมปกติโดยไม่ก่อปัญหาตามมาทีหลัง |
Description: | สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2545 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2761 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Preparation-for-Aging-Prisoners.pdf Restricted Access | 16.2 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.