Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2767
Title: | การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์และการศึกษาอิสระที่เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมในประเทศไทย |
Other Titles: | The Synthesis of Breast Cancer Management from Thesis and Independent Studies in Thailand |
Authors: | อรพินท์ สีขาว Orapin Sikaow วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย Vanida Durongrittichai ณัฏฐณิชา ศรีจัตุรัส Nattanicha Srijaturas Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing |
Keywords: | เต้านม -- มะเร็ง Breast -- Cance การวิเคราะห์เนื้อหา Content analysis (Communication) มะเร็ง -- เต้านม -- ผู้ป่วย Breast -- Cancer -- Patients. |
Issue Date: | 2012 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิเคราะห์และสังเคราะห์วิทยานิพนธ์และการศึกษาอิสระ ที่ศึกษาเกี่ยวกับมะเร็งเต้านในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 จนถึงปี พ.ศ. 2553 จำนวน 61 ชื่อเรื่อง ฐานข้อมูลที่ใช้สืบค้นข้อมูล คือ โครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา โดยใช้คำว่ามะเร็งเต้านมเป็นสำคัญผลการวิเคราะห์สามารถแบ่งความรู้ที่ได้ออกเป็น 3 หมวด คือ การศึกษาการคัดกรองและป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านม การรักษาภายหลังการเป็นมะเร็งเต้านม และการฟื้นฟูสุขภาพกับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ผลการสังเคราะห์ความรู้ที่ได้จำแนกได้ 8 ประเด็น คือ 1) การประเมินกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ในการประเมินจะต้องครอบคลุมลักษณะส่วนบุคคลภาวะสุขภาพของสตรี การปฏิบัติตัวของสตรี การรับรู้สุขภาพ การรับรู้โอกาสเสี่ยง และการรับรู้อันตรายของมะเร็งเต้านม ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว การสนับสนุนทางสังคม การใช้บริการสุขภาพโดยในการประเมินลักษณะส่วนบุคคลนั้น 2) การให้คำแนะนำเพื่อการส่งเสริมการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองของสตรี และให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพของตนเองต่อปัญหาการเกิดมะเร็งเต้านม ควรครอบคลุมถึงการให้ความรู้และวิธีการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง การใช้แรงสนับสนุนจากบุคคลใกล้ชิด การสร้างแรงจูงใจและความมั่นใจในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง 3) การให้คำแนะนำสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านม มีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการให้ความรู้ในการดูแลรักษามะเร็งเต้านม การดูแลตนเองหลังผ่าตัด และระหว่างการให้ยาเคมีบำบัด 4) การให้คำแนะนำเพื่อการฟื้นฟูมีประเด็นที่ควรเน้นย้ำ ได้แก่ พฤติกรรมการดูแลตนเอง การจัดการกับอาการเหนื่อยล้า นอนไม่หลับ อาการข้างเคียงอื่นๆ และส่งเสริมให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี ลดอาการซึมเศร้า 5) การให้โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการคัดกรองป้องกั้นการเกิดมะเร็งเต้านม 6) การประเมินผลลัพธ์ของการให้คำแนะนำหรือการใช้โปรแกรมการคัดกรอง ป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านม 7) การเยี่ยมบ้าน หรือการดูแลต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการคัดกรอง ป้องกันมะเร็งเต้านม 8) การเยี่ยมบ้าน หรือการดูแลต่อเนื่องเพื่อติดตามผลการรักษาหรือเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพข้อเสนอแนะ นำผลที่ได้จากการสังเคราะห์มาพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลที่ครอบคลุม ตั้งแต่การประเมิน การวินิจฉัยกลุ่มเสี่ยง การให้คำแนะนำและการติดตามประเมินผล เพื่อให้สามารถป้องกัน การเกิดมะเร็งเต้านมในสตรีได้อย่างเป็นระบบ ควรค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีที่ได้จากการให้สุขศึกษาหรือโปรแกรมความรู้ต่างๆ เพื่อนำมาออกแบบวิธีปฏิบัติที่ส่งเสริมให้สตรีป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมได้ด้วยตนเอง ควรต่อยอดการศึกษาครั้งนี้ ด้วยการทบทวนอย่างเป็นระบบหรือวิเคราะห์และนำผลที่ได้จากการสังเคราะห์มาดำเนินการจัดการความรู้เพื่อค้นหาความรู้ฝังแน่นในตนที่สามารถนำไปใช้จริงได้ในทางปฏิบัติ The purpose of this study is to analyze and synthesize a research by means of systemic literature review of the breast-cancer-related theses and independent studies (IS). The sixty one articles from theses and independent studies, which were conducted in Thailand between year 2002 and 2011, were accessed by using the significant key word “breast cancer”. The substantial database used for searching article of this research is Thai Library Integrated System, Office of the Higher Education Commission.The results of this integrated research could be categorized into three parts: Breast cancer screening and prevention, breast cancer treatment, and rehabilitation. From the analysis, the synthesized knowledge could be classified into eight subgroups: 1) risk group assessment – the assessment should include personal health status, health behavior, health awareness, perceived risk and seriousness of breast cancer, familial history related to breast cancer, social support, and perceiving health services. 2) Health education for enhancing breast cancer self-screening motivation and confident building for breast self-examination. 3) Health education for breast cancer patient counseling which emphasized on treatment process and self-care advice for the stage of post-surgical as well as during chemotherapy. 4) Rehabilitation counseling should emphasized on self-care behavior, management of side effect of chemotherapy (e.g. tiredness, insomnia). And promotion of quality of life by means of mitigating emotional depression. 5) Creating education campaigns of the breast cancer screening. 6) Evaluation the results of breast cancer counseling or screening and protection program. 7) Home visit or continuous care for encouraging breast self screening and. 8) Home visit for following treatment outcome and rehabilitation.The recommendations were the synthesized knowledge should be designed to be clinical nursing practice, which includes the process of diagnosis, health education, and evaluation. In order to promote an effective protection of the breast cancer in women, development of a good practice for hygienic or breast cancer self-examination education is strongly suggested. Further systemic review or meta-analysis for the synthesized research results is highly recommended. The further review could bring about the knowledge management of the breast cancer, by which would transform the personal integrated knowledge in to a practical program of the breast cancer management. |
Description: | การศึกษาอิสระ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2767 |
Appears in Collections: | Nursing - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
The-Synthesis-of-Breast-Cancer-Management.pdf Restricted Access | 16.92 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.