Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2776
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างระดับดัชนีมวลกายต่อภาวะการรู้คิดและระดับความสามารถทางการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ
Other Titles: Association Between the Level of Body Mass Index and Cognitive Function and Functional Mobility in the Elderly
Authors: ชญานี แก้วทอง
มัญชุลีพร วิริยะวัฒนากูล
Chayanee Kaewthong
Monchuleeporn Viriyawattanakul
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy
Keywords: ดัชนีมวลกาย
Body mass index
ผู้สูงอายุ
Older people
การรับรู้ตนเองในวัยสูงอายุ
Self-perception in old age
การเคลื่อนไหวของมนุษย์
Human mechanics
Issue Date: 2022
Citation: วารสาร มฉก. วิชาการ 26,1 (มกราคม-มิถุนายน 2565) : 87-97.
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนีมวลกายต่อภาวะการรู้คิด และระหว่างภาวะการรู้คิดต่อความสามารถในการเคลื่อนไหว รวมถึงความแตกต่รางของภาวะการรู้คิดระหว่างดัชนีมวลกายแต่ละระดับศึกษาในผู้สูงอายุ จำนวน 183 คน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ตามค่าดัชนีมวลกาย บันทึกข้อมูลเพื้นฐาน วัดดัชนีมวลกาย ประเมินภาวะการรู้คิดด้วยแบบประเมิน Montreal Cognitive Assessment (MoCA) และประเมินความสามารถทางการเคลื่อนไหวด้วยการประเมิน Timed Up and Go (TUG) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Spearman Correlation และเปรียบเทียบความแตกต่างของภาวะการรู้คิดระหว่างดัชนีมวลกายทั้ง 5 กลุ่มด้วยสถิติ One-way analysis of variance (ANOVA) ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุทั้ง 5 กลุ่มมีการรู้คิดบกพร่อง (ร้อยละ 93.44) มีดัชนีมวลกายผิดปกติ (ร้อยละ 78.14) และมีความสามารถทางการเคลื่อนไหวผิดปกติ (ร้อยละ 57.73) การวิเคราะห์ทางสถิติพบความสัมพันธ์เชิงลบในระดับต่ำ (r=-0.364) ระหว่างภาวะการรู้คิดและความสามารถทางการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนีมวลกายและภาวะการรู้คิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และภาวะการรู้คิดของผู้สูงอายุทั้ง 5 กลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ (p=0.393) การศึกษาในครั้งนี้บ่งชี้ให้เห็นว่าดัชนีมวลกายไม่มีผลต่อการรู้ใด แต่ผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องมีการเคลื่อนไหวที่ช้าลง ดังนั้น จึงควรตระหนักถึงการดูแลและฟื้นฟูที่เหมาะสมต่อไป
The aim of this study was to investigate the correlation between body mass index (BMI) and cognitive function, cognitive function and functional mobility and to make comparisons between cognitive function and BMI of the elderly. There were 183 participants in this study. Participants were divided into 5 groups by BMI. The cognitive function was collected by Montreal cognitive assessment (MoCA) test and functional mobility was collected by Timed up and go (TUG) test. The correlation was analyzed using a Spearman correlation. The comparison of congestive function between 5 groups was analyzed by using one-way Analysis of Variance (ANOVA). The results showed that all of 5 groups had cognitive impairment (93.44%). Most of the elderly have an abnormal BMI (78.14%) and abnormal functional mobility (57.37%). The statistical analysis found the correlation between cognitive and functional mobility (r=0.364). However, there was no correlation between body mass index and cognitive function, and no significant difference if cognitive function between the 5 groups (p=0.393). The results of this study indicated that body mass index is not related to cognitive function, but the elderly with cognitive impairment had slower movements. Therefore, they should be aware of proper care and a rehabilitation program.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/HCUJOURNAL/article/view/254237/173792
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2776
Appears in Collections:Physical Therapy - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Association-Between-the-Level-of-Body-Mass-Index-and-Cognitive-Function.pdf93.34 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.