Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2820
Title: ผลของการออกกําลังกายแบบแอโรบิคต่อปฏิกิริยาตอบสนองและความจําในผู้สูงอายุ
Other Titles: Effect of Aerobic Exercise on Reaction Time and Memory in the Elderly
Authors: อัญชลี ชุ่มบัวทอง
รังสิมา ใช้เทียมวงศ์
ภาสินี สงวนสิทธิ์
อมรรัตน์ โตทองหล่อ
Anchalee Choombuathong
Rungsima Chaitiamwong
Pasinee Sanguansit
Amornrat Tothonglor
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Keywords: การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ
Exercise for older people
ความจำในวัยสูงอายุ
Memory in old age
ผู้สูงอายุ
Older people
แอโรบิก (กายบริหาร)
Aerobic exercises
Issue Date: 2015
Citation: วารสารวิชาการสาธารณสุข 24, 2 (มีนาคม-เมษายน 2558) : 283-295.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกําลังกายแบบแอโรบิคต่อเวลาปฏิกิริยาตอบสนองและความจําระยะสั้นในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-74 ปี จํานวน 40 คน กลุ่มทดลองมีการออกกําลังกายแบบแอโรบิคโดยการปั่นจักรยาน ความถี่ในการออกกําลังกาย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ระยะเวลาในการออกกําลังกายแต่ละครั้ง 30 นาที ออกกําลังกายอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือนกลุ่มควบคุมไม่มีการออกกําลังกายใดๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ เครื่องบันทึกเวลาปฏิกิริยา (reaction time)และแบบทดสอบ Mini mental state examination (MMSE) เพื่อใช้ประเมินความสามารถในการจําที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเวลาปฏิกิริยาและคะแนนความจําระยะสั้นระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ออกกําลังกายด้วยสถิติทดสอบแบบ Independent t-testผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้สูงอายุที่มีการออกกําลังกายแบบแอโรบิคเปรียบเทียบระหว่างมือขวา มือซ้าย และเท้าซ้ายที่ตอบสนองต่อเสียงแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.001และเมื่อเปรียบเทียบเท้าขวาระหว่างทั้งสองกลุ่มที่ตอบสนองต่อเสียงแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 อีกทั้งการเปรียบเทียบระหว่างมือขวาและมือซ้ายระหว่างทั้งสองกลุ่มที่ตอบสนองต่อแสงแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับp<0.001 ในขณะที่ผลการศึกษาที่ทดสอบผลของการออกกําลังกายแบบแอโรบิคต่อค่าคะแนนความจํา การเปรียบเทียบค่าคะแนนความจําระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองพบว่าคะแนนการคํานวณ ภาษา และค่าคะแนนความจํารวม กลุ่มทดลองจะสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.001
The objective of this study was to examine the effect of aerobic exercise on reaction time (RT) and short term memory (SM) enhancement in the elderly. The sample consisted of 40 healthy elderly people, 60 to 74 years of age. The data were analyzed using descriptive statistics and independent T-test to compare any difference between the RT and SM scores of the control and experimental groups. In audio stimuli tests, right hand, left hand and left foot reaction times in the experimental group were significantly different (p<0.001), while a right foot response test produced a difference (p0<0.05). In visual stimuli tests, right hand and left hand response time differences were significant (p<0.001). A similar difference was also recorded in an SM enhancement study between the two groups.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/444/394
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2820
Appears in Collections:Science and Technology - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Effect-of-Aerobic-Exercise-on-Reaction-Time.pdf87.32 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.