Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2822
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ เพศ ค่าดัชนีมวลกายและค่าเวลาปฏิกิริยาการตอบสนองต่อแสงและเสียงของอาสาสมัครคนไทยปกติ
Other Titles: On the Relationship among Age, Sex, Body Mass Index and Audiovisual Reaction Time in Normal Thai Subjects
Authors: เมตตา โพธิ์กลิ่น
จันเพ็ญ บางสำรวจ
อัญชลี ชุ่มบัวทอง
ภาสินี สงวนสิทธิ์
อมรรัตน์ โตทองหล่อ
Maitta Phoglin
Janpen Bangsumruaj
Anchalee Choombuathong
Pasinee Sanguansit
Amornrat Tothonglor
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Keywords: ระบบประสาทส่วนกลาง
Central nervous system
การเคลื่อนไหวของมนุษย์
Human mechanics
ดัชนีมวลกาย
Body mass index
เวลาปฏิกิริยา
Reaction time
Issue Date: 2019
Citation: วารสารวิชาการสาธารณสุข 28,1 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562) : 56-67.
Abstract: เวลาปฏิกิริยาเป็นการตรวจวัดความเร็วในการประมวลผลของระบบประสาทส่วนกลางของบุคคลและการตอบสนองที่ส่วนปลายเพื่อทำให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือการปฏิบัติงานต่างๆ ทั้งนี้มีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อค่าเวลาปฏิกิริยา เช่น อายุ เพศ และค่าดัชนีมวลกาย งานวิจัยนี้จึงศึกษาปัจจัยดังกล่าวว่ามีความสัมพันธ์อย่างไรกับค่าเวลาปฏิกิริยา ในกลุ่มตัวอย่างคนไทยปกติจำนวน 116 คน โดยทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างเวลาปฏิกิริยากับอายุและค่าดัชนีมวลกายโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างเวลาปฏิกิริยากับเพศโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล พบว่า อายุมีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับสูงกับเวลาปฏิกิริยาในการตอบสนองต่อเสียงและแสงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.0001) ทั้งการทดสอบด้วยเงื่อนไขอย่างง่าย ของมือซ้าย มือขวา เท้าซ้าย และเท้าชวา และกรณีเพิ่มเงื่อนไขของมือซ้ายและมือขวา ส่วนดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับต่ำกับเวลาปฏิกิริยาในการตอบสนองต่อเสียงและแสงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่นกัน (เสียง มือขวา p<0.05, มือซ้าย p<0.01 เท้าขวา p <0.01 เท้าซ้าย p<0.01 และแสง มือขวา p<0.05, มือซ้าย p<0.0001 เท้าขวา p<0.001 เท้าซ้าย p<0.0001) รวมทั้งในกรณีเพิ่มเงื่อนไขด้วย มือขวา (p<0.0001) มือซ้าย (p<0.001) สรุปได้ว่าคนที่มีอายุและค่าดัชนีมวลกายมากขึ้นจะมีค่าเวลาปฏิกิริยาในการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นของมือและเท้าทั้งสองข้างสูงตามไปด้วยหรือการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นจะช้าลงนั่นเอง โดยไม่พบเพศมีความสัมพันธ์กับเวลาปฏิกิริยาในการตอบสนองต่อเสียงและแสง
A person’s central information processing speed and coordinated peripheral movement response, commonly known as ‘reaction time’, are known to vary with age, sex and body mass index (BMI). This study investigated the relationship between these factors on 116 healthy Thai subjects using Pearson’s correlation with age, BMI and the point biserial correlation with sex. It was found that there was a high-level positive association between reaction time and age in response to sound and light stimuli in both simple and complex conditions (p<0.05). In response to audio stimuli, BMI demonstrated a low-level positive association with reaction time (right hand p<0.05, left hand p<0.01, right foot p<0.01 and left foot p<0.01) and also with visual stimuli (right hand p<0.05, left hand p<0.0001, right foot p<0.001, left foot p<0.0001) including complex conditions (right hand p<0.0001, left hand p<0.001). Thus, it is concluded that aging and higher BMI were associated with an increased reaction time, or a longer time to respond to stimuli in both hands and feet, but there was no association with sex.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/5909/5743
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2822
Appears in Collections:Science and Technology - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
On-the-Relationship-among-Age-Sex-Body-Mass-Index .pdf124.34 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.