Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2845
Title: | การศึกษาความพร้อมของบุคลากรโรงแรมระดับ 3-4 ดาวในพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิตามมาตรฐานสมรรถนะร่วมวิชาชีพสำหรับการท่องเที่ยวอาเซียน |
Other Titles: | A study in a readiness of 3-4 star hotel personnel in the surrounded area of Suvarnabhumi International Airport by ASEAN Common Competency Standards for Tourism Professional |
Authors: | สริตา ศรีสุวรรณ บงกช เดชมิตร Sarita Srisuwan Bongkot Detmit Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts |
Keywords: | ประชาคมอาเซียน ASEAN Community พนักงานโรงแรม Hotels – Employees การเตรียมพร้อม Preparedness อุตสาหกรรมท่องเที่ยว – เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Tourism -- Southeast Asia อุตสาหกรรมโรงแรม -- เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Hotel industry -- Southeast Asia อุตสาหกรรมบริการ -- เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Service industries -- Southeast Asia |
Issue Date: | 2020 |
Citation: | ศิลปศาสตร์ปริทัศน์ 15,1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) : 42-58. |
Abstract: | วิจัยเรื่องการศึกษาความพร้อมของบุคลากรโรงแรมระดับ 3-4 ดาวในพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิตามมาตรฐานสมรรถนะร่วมวิชาชีพสำหรับการท่องเที่ยวอาเซียนมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามาตรฐานสมรรถนะร่วมวิชาชีพสำหรับการท่องเที่ยวอาเซียนของโรงแรมระดับ 3-4 ดาวในพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ 2) ศึกษาความพร้อมของบุคลากรโรงแรมระดับ 3-4 ดาวในพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ตามมาตรฐานสมรรถนะร่วมวิชาชีพสำหรับการท่องเที่ยวอาเซียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของสมรรถนะร่วมวิชาชีพสำหรับการท่องเที่ยวอาเซียนในแต่ละด้านระหว่างพนักงานต้อนรับ กับพนักงานดูแลห้องพักของโรงแรมระดับ 3-4 ดาวในพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ 4) ศึกษาน้ำหนักความสำคัญความพร้อมของบุคลากรโรงแรมระดับ 3-4 ดาวในพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิในแต่ละด้านที่มีผลต่อสมรรถนะร่วมวิชาชีพสำหรับการท่องเที่ยวอาเซียนของพนักงานต้อนรับและพนักงานดูแลห้องพัก 5) ศึกษาเปรียบเทียบมาตรฐานสมรรถนะร่วมวิชาชีพสำหรับการท่องเที่ยวอาเซียนของโรงแรมระดับ 3-4 ดาวในพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิที่วิเคราะห์จากพนักงานต้อนรับ และพนักงานดูแลห้องพักการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) แหล่งข้อมูลที่ได้เป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นพนักงานต้อนรับและพนักงานดูแลห้องพักของโรงแรมระดับ 3-4 ดาวในพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ มีจำนวนทั้งสิ้น 300คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบ่งคำถามออกเป็น 2 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามสำหรับพนักงานดูแลห้องพัก และแบบสอบถามสำหรับพนักงานต้อนรับ สรุปผลการวิจัยตามสมมติฐาน โดยผู้วิจัยได้กำหนดไว้ 2 สมมติฐาน คือสมมติฐานที่ 1 ความพร้อมของบุคลากรโรงแรม 3-4 ดาว ในพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับสมรรถนะร่วมวิชาชีพสำหรับการท่องเที่ยวอาเซียนของพนักงานต้อนรับและพนักงานดูแลห้องพัก มีความสัมพันธ์เชิงบวก ผลการวิจัยพบว่าความพร้อมของพนักงานต้อนรับทั้ง 3 ด้านกับสมรรถนะร่วมวิชาชีพสำหรับการท่องเที่ยวอาเซียนมีความสัมพันธ์เชิงบวกจึงยอมรับ สมมติฐานที่ 1 และสมมติฐานที่ 2 น้ำหนักความสำคัญความพร้อมของบุคลากรโรงแรม 3-4 ดาว ในพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิในแต่ละด้าน ที่มีผลต่อสมรรถนะร่วมวิชาชีพสำหรับการท่องเที่ยวอาเซียนมีความสัมพันธ์เชิงบวก ผลการวิจัยพบว่า ความพร้อมของพนักงานต้อนรับโรงแรมต่างๆ ในพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิมีผลต่อสมรรถนะร่วมวิชาชีพสำหรับการท่องเที่ยวอาเซียนเพียง 1ด้าน ได้แก่ ทักษะ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงบวก จึงยอมรับสมมติฐานที่ 2
สำหรับความรู้และเจตคติไม่มีความสัมพันธ์ต่อสมรรถนะร่วมวิชาชีพสำหรับการท่องเที่ยวอาเซียน This research is the study of a personnel readiness of 3 and 4 -star hotels in the area of Suvarnabhumi International Airport using ASEAN Common Competency Standards for Tourism Professional. The objectives of the study include: 1) to study ASEAN Common Competency Standards for Tourism Professional of the3-4-star hotels in the area of Suvarnabhumi International Airport2) to study the readiness of 3-4 star hotels in the area of Suvarnabhumi International Airport in accordance with ASEAN Common Competency Standards for Tourism Professional 3) to study the relationship on many aspects between receptionists and room service personnel of 3-4-star hotels in the area of Suvarnabhumi International Airport using ASEAN Common Competency Standards for Tourism Professional 4) to study the level of importance of the readiness of 3-4 star hotels in the surrounded area of Suvarnabhumi International Airport in each aspect in accordance with ASEAN Common Competency Standards for Tourism Professional and 5) to do a comparative study of ASEAN Common Competency Standards for Tourism Professional of 3-4-star hotels in the surrounded area of Suvarnabhumi International Airport. The analyzed data is obtained from receptionists and room service personnel. This research is a quantitative research. The source of information is primarily obtained from questionnaires. The sample group in this research is the receptionists and room service personnel of the 3-4-star hotels in the surrounded area of Suvarnabhumi International Airport. There were a total number of 300 samples. Questionnaires were used as the data collection tools. The questionnaires are divided into 2 sets, one for receptionists and the other for room service personnel. The conclusion is based on 2 hypotheses. The first hypothesis is the readiness of 3-4 star hotels in the surrounded area of Suvarnabhumi International Airport has a positive relationship with the ASEAN Common Competency Standards for Tourism Professional for receptionists and room service personnel. The result shows that; the readiness of 3-4 star hotels in the surrounded area of Suvarnabhumi International Airport in accordance with ASEAN Common Competency Standards for Tourism Professional for receptionist and room service personnel has a positive relationship in all 3 aspects. Therefore, the first hypothesis is acceptable. The second hypothesis; the level of importance of the readiness of 3-4 star hotels in the surrounded area of Suvarnabhumi International Airport in each aspect has a positive relationship with ASEAN Common Competency Standards for Tourism Professional. The result shows that; the readiness of 3-4 star hotel personnel has a positive relationship with ASEAN Common Competency Standards for Tourism Professional in 1aspect which is the skill. There is no relation with knowledge and attitude. Therefore, the second hypothesis is acceptable. |
Description: | สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/article/view/236309/165878 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2845 |
ISSN: | 1905-2863 (Print) 2730-2296 (Online) |
Appears in Collections: | Liberal Arts - Artical Journals |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
A-study-in-a-readiness-of-3-4-star-hotel-personnel.pdf | 90.66 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.