Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2866
Title: การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
Other Titles: The Development of Clinical Nursing Practice Guideline for Self-Efficacy Enhancement on Exercise Behavior to Control Plasma Glucose Level in Type 2 Diabetic Patients
Authors: พรศิริ พันธสี
วิชุดา กิจธรธรรม
Pornsiri Pantasri
Wichuda Kijtorntham
ถนอมวรรณ์ ดำแก้ว
Thanomwan Damkaew
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
Type 2 diabetes
ผู้ป่วยเบาหวาน
Diabetics
การรักษาด้วยการออกกำลังกาย
Exercise therapy
กลูโคสในเลือด
Blood glucose
เบาหวานประเภท 2
Clinical Nursing Practice Guideline
แนวปฏิบัติการพยาบาลคลินิก
Issue Date: 2010
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้รูปแบบการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของศูนย์ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหาในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำคลินิกโรคเบาหวานและปัญหาพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 2) ขั้นตอนการค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยกำหนดคำสำคัญในการสืบค้นข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลและประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยใช้เกณฑ์ของเมลนิคและไฟเอาท์ (Melnyk and Fineout-Overholt) ได้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องจำนวน 16 เรื่อง ประกอบด้วยงานวิจัยที่เป็นการวิเคราะห์ทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ 1 เรื่อง งานวิจัยเชิงทดลอง 4 เรื่อง งานวิจัยกึ่งทดลอง 10 เรื่อง และงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ 1 เรื่อง แล้วนำหลักฐานเชิงประจักษ์และแนวคิดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของแบนดูรา (Bandura) มาสังเคราะห์เป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลในการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 3) ขั้นตอนการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลลงสู่การปฏิบัติซึ่งมีการประเมินความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริงโดยใช้เกณฑ์ของโพลิคและเบค (Polit and Beck) และให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน ตรวจสอบความถูกต้องเชิงเนื้อหาของแนวปฏิบัติการพยาบาล แล้วจึงนำไปให้พยาบาลและทีมสุขภาพที่ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์สาธารณสุข 16 ลุมพินี กรุงเทพมหานคร ทดลองใช้แนวปฏิบัติพยาบาลนี้กับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 5 ราย เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ และ 4) ขั้นตอนการวิเคราะห์ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลและให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงให้เป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศและสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงผลการศึกษาพบว่า ได้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การคัดเลือกผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เข้าโปรแกรมการออกกำลังกายและการสร้างเสริมความรู้เรื่องโรคเบาหวาน อาหาร และการออกกำลังกายให้ผู้ป่วย ส่วนที่ 2 การสร้างเสริมการมองเห็นคุณค่าและศักยภาพของตนเองในการออกกำลังกาย ส่วนที่ 3 การสร้างเสริมความมั่นใจในศักยภาพของตนเองต่อการออกกำลังกาย ส่วนที่ 4 การติดตามพฤติกรรมการออกกำลังายของผู้ป่วยที่บ้าน และส่วนที่ 5 การประเมินผลของโปรแกรมการออกกำลังกาย จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่าควรมีการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับหน่วยงานเพื่อให้เป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลที่ใช้ได้ในสถานการณ์จริงและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
The purpose of this independent study was to develop a clinical nursing practice guideline (CNPG) for self-efficacy enhancement on exercise behavior of type 2 diabetic patients. The CNPG was developed by The Evidence Based Practice Model which consists of 4 phases 1) Evidence triggered phase, the problem was identified from working experience and related knowledge. 2) Evidence supported phase, the related evidences were searched from a number of data bases and 16 studies were selected, including one data meta-analysis, four randomized control trial studies, ten quasi-experimental researches, and one action research. All relevant evidences were evaluated base on Melnyk and Fineout-Overholt, then these evidiences and Bandura’s theory were analyzed and synthesized in order to develop the CNPG 3) Evidence observed phase, the CNPG was evaluated the plausibility for implementation by using the evaluation of Polit and Beck and was validated by three clinical experts then tested to 2 diabetic patients for 6 weeks by the nursing team at the health public center (Lumpinee) Bangkok. Ans 4) evidence based phase, the CNPG was analyzed the outcome after applying in order to adjust the CNPG. The study found that the CNPG consisted of 5 parts: 1) assessment and selection the type 2 diabetic patients for health education program including disease, diet and exercise, 2) self efficacy enhancement on exercise behavior of type 2 diabetic patients. 3) Promotion the confident of type 2 diabetic patients in self efficacy on exercise behavior, 4) Follow up continuing patients’ exercise behavior at home, and 5) Evaluation of health education program. The result of the study suggested that CNPG should be continually developed to be suitable for clinical setting and more efficient for type 2 diabetic patients.
Description: การศึกษาอิสระ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2553
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2866
Appears in Collections:Nursing - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
The-development-of-clinical-nursing-practice-guideline-for-self-efficacy.pdf
  Restricted Access
24.23 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.