Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2879
Title: การพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
Other Titles: Social Welfare Development for the Elderly Informal Workers in order to Reducing Social Disparity
Authors: ภุชงค์ เสนานุช
ธนาชัย สุนทรอนันตชัย
Puchong Senanuch
Tanachai Suntonanantachai
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Law
Keywords: แรงงานนอกระบบ
Informal sector (Economics) – Employees
ผู้สูงอายุ – การจ้างงาน
Older people – Employment
สวัสดิการสังคม
บริการสังคม Social service
Social service
ความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ความเสมอภาค
Equality
Issue Date: 2018
Citation: วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 26,1 (มกราคม-มิถุนายน 2561) : 146-164.
Abstract: บทความนี้เป็นการศึกษาสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในการใช้ระบบสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุเป็นแรงงานนอกระบบ ตลอดจนศึกษานโยบาย กฎหมาย ระเบียบปฏิบัติและมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุเป็นแรงงานนอกระบบ อันนำไปสู่การสร้างแบบจำลองระบบสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบที่นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าความเหลื่อมล้ำที่พบจะเป็นมิติทางด้านเศรษฐกิจ และมิติทางด้านสวัสดิการ มากกว่ามิติศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้น เป้าหมายของการจัดระบบสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ผู้วิจัยเสนอว่าควรมุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุมีรายได้ มีเงินออม เข้าถึงบริการด้านสุขภาพ และได้รับการยอมรับจากคนในสังคม และให้หุ้นส่วนทางสังคมในท้องถิ่น 4 องค์กรหลัก เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการ ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนหรือองค์กรพัฒนาเอกชน ชุมชน และครอบครัว โดยต้องจัดให้มีระบบการดำเนินงาน 6 ระบบ กล่าวคือ ระบบการส่งเสริมอาชีพ ระบบการสร้างหลักประกันทางรายได้ และระบบสุขภาพ ระบบแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ระบบการสื่อสารและสร้างการมีส่วนร่วม และระบบงานวิจัยท้องถิ่น เพื่อให้การดำเนินการบรรลุตามเป้าหมาย
The research aimed to investigate the situation of inequality, policies, laws, regulations and measures in using social welfare system for the elderly informal workers. This leads to create a new model of social welfare system for the elderly informal workers and reducing social disparity. Quantitative and qualitative methods were combined in the research. The study found that social disparity of social welfare system in economics dimension higher than social welfare dimension and dimension of human dignity, respectively. The goal of social welfare provision should focus on the elderly income, savings, access to health services, and recognized by the people in society. Four main local organizations should take part in welfare arrangements, namely local government organizations, private sector or NGO, community and the family. Six systems should be establish in order to in to achieve the goal including, occupational promotion system, Creating secure income system, health system, learning and local wisdom system, communication system and engagement as well as local research systems.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swjournal/article/view/168438/121224
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2879
ISSN: 3027-8880 (Print)
3027-8899 (Online)
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Social-Welfare-Development-for-the-Elderly-Informal-Workers .pdf104.21 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.