Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/295
Title: ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลรูปธรรม-ปรนัยตามทฤษฎีการควบคุมตนเองต่อความวิตกกังวลและระยะเวลาในการส่องกล้องตรวจสำไส้ใหญ่
Other Titles: Effects of Concrete-Objective Information Program Based Onself-Fegulation Theory on Anxiety and Duration of Colonoscopy
Authors: กนกพร นทีธนสมบัติ
พรศิริ พันธสี
Kanokporn Nateetanasombat
Pornsiri Pantasri
รัชฎาภรณ์ สีตาล
Ratchadaporn Seetan
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: การส่องตรวจลำไส้ใหญ่
Colonoscopy
ความวิตกกังวล
Anxiety
การควบคุมตนเอง
Self-control
Issue Date: 2016
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ตามทฤษฎีการควบคุมตนเองต่อความวิตกกังวลและระยะเวลาในการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ 90 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับการให้ข้อมูลแบบปกติ 45 คน และกลุ่มทดลองซึ่งได้รับข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยตามทฤษฎีการควบคุมตนเอง 45 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย คือ โปรแกรมการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยตามทฤษฎีการควบคุมตนเอง แบบสอบถามข้อมูล ส่วนบุคคล แบบสอบถามความวิตกกังวล และแบบบันทึกข้อมูลในการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เครื่องมือวิจัย ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และทดสอบความเชื่อมั่นได้ค่าแอลฟาครอนบราค 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) การทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) การทดสอบวิลคอกซัน (Wilcoxon signed-ranks test) การทดสอบแมนท์วิทนีย์ (Mann whitney U test) และการทดสอบค่าที (Dependent t-test and Independent t-test) ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยตามทฤษฎีการควบคุม ตนเอง มีคะแนนความวิตกกังวลหลังการทดลองน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และมีความวิตกกังวลน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ส่วนความดันซิสโตลิคและ ความดันไดแอสโตลิค พบว่า กลุ่มทดลองหลังให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยฯ มีความดันซิสโตลิคและความดัน ไดแอสโตลิคต่ำกว่าก่อนให้ข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001 และ .01 ตามลำดับ) รวมทั้งกลุ่มทดลอง มีความดันซิสโตลิคต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) สำหรับอัตราการเต้นของชีพจร พบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีอัตราชีพจรน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และกลุ่มทดลองมีอัตราชีพจรน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) นอกจากนั้นกลุ่มทดลอง มีระยะเวลาในการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)
This quasi-experimental research was aimed to study the effects of concrete-objective information program based on self-regulation theory on anxiety and duration of colonoscopy. The sample was ninety patients receiving colonosocopy. The sample was divided into two groups. First group was the control group, which were forty-five samples receiving regular nursing care. Second group was the experimental group, which were forty-five samples receiving concrete-objective information bases on self-regulation theory. The research instruments were the concrete-objective information program based on self-regulation theory, the demographic questionnaire, the anxiety questionnaire, and the colonoscopy record. These research instruments had been validated by the experts and reliability was tested by Cronbach's alpha coefficients at 0.83. Descriptive statistics, Chi-square test, Wilcoxon signed-ranks test, Mann Whitney U test, Dependent t-test and Independent t-test were used as data analysis. The result of this study found that patients receiving concrete-objective information based on self-regulation theory had significantly lower score of anxiety than before the experiment at p<.001 and significantly lower score of anxiety than the control group at p<.001. Whereas systolic blood pressure and distolic blood pressure had been found that the experimental group had significantly lower of systolic blood pressure and diastolic blood pressure after receiving concrete-objective information based on self-regulation theory at p<.001, p<01 prospectively. The experimental group had significantly lower of systolic blood pressure than the control group at p<.001. For pulse rate, it was found that the experimental group had significantly lower pulse rate after receiving concrete-objective information based on self-regulation theory than before the experiment at p<.001. Also, the experimental group had significantly lower pulse rate than the control group at p<.001. Moreover, the experimental group had significantly spent less time of the colonoscopy than the control group at p<.001.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลผู้ใหญ่) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2559
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/295
Appears in Collections:Nursing - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rachadapornt.pdf
  Restricted Access
1.77 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.