Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2961
Title: การป้องกันโควิด-19 ในมุมมองด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
Other Titles: COVID-19: Prevention under Environmental Health Perspective
Authors: นุชนาถ แช่มช้อย
อาภาภรณ์ บุลสถาพร
ไชยยศ บุญญากิจ
Nutchanat Chamchoi
Apaporn Bulsathaporn
Chaiyod Bunyagid
Khon Kaen University. Faculty of Science
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health
Thai Environmental Health Association
Keywords: โคโรนาไวรัส
Coronaviruses
โควิด-19 (โรค)
COVID-19 (Disease)
การระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020-
COVID-19 Pandemic, 2020-
อนามัยสิ่งแวดล้อม
Environmental health
ทางเดินหายใจติดเชื้อ
Respiratory infections
Issue Date: 2021
Citation: วารสารวิชาการสาธารณสุข 30, ฉบับเพิ่มเติม 2 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2564) : S376-S388.
Abstract: เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) เป็นเชื้อที่ทำอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ และสามารถแพร่จากคนสู่คนได้ โดยการป้องกันการติดและแพร่ระบาดของเชื้อตามหลักการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย (1) การสุขาภิบาลและความปลอดภัยของอาหาร โดยเฉพาะหลักสุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหาร ความสะอาดของอาหารและสถานที่ปรุง-จำหน่ายอาหาร (2) การสุขาภิบาลตลาด มุ่งเน้นที่การจัดการภายในตลาด (3) การจัดการขยะ และ (4) การสุขาภิบาล-อาคารและสถานประกอบการ โดยเฉพาะการระบายอากาศ ซึ่งหลักการดังกล่าวนี้ สามารถนำไปประยุกต์ ใช้ให้เหมาะสมตามประเภทของสถานที่สาธารณะ ที่มีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อ เช่น ระบบขนส่งสาธารณะ ร้านอาหาร ตลาด และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น โดยจากการวิเคราะห์แนวทางการดำเนินงานตามมาตรการป้ องกันการแพร่ระบาดของเชื้อในประเทศไทย พบว่า ยังคงประสบปัญหาในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ดังนั้น โมเดลการป้องกันด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม จึงเป็นส่วนที่จะช่วยสอดรับกับมาตรการทางการสาธารณสุขได้อย่างสมบูรณ์ ประกอบด้วย การสร้างความตระหนักด้านสุขวิทยาส่วนบุคคลให้กับประชาชนและผู้ประกอบการ การจัดการขยะที่เป็นผลจากการใช้สารเคมีทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อโรคและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่ใช้แล้ว การปรับปรุงการระบายอากาศในอาคารประเภทต่างๆ รวมทั้งการกำกับดูแลของหน่วยงานภาครัฐในด้านการสุขาภิบาลตลาด การสุขาภิบาลและความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งหากองค์ประกอบเหล่านี้ได้รับการปรับปรุงและพัฒนา จะเป็นประโยชน์สำหรับประเทศไทยในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจของประชาชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
A newly discovered coronavirus (COVID-19) is harmful to the human respiratory system and can spread from human to human. Prevention of infection and spreading of the infection are based on environmental health principles consisting of (1) food safety and sanitation especially personal hygiene of the food handlers, cleanliness of the food and the cooking-selling place; (2) market sanitation focusing on internal management; (3) solid waste management; and (4) sanitation of building and facilities especially air ventilation. This principle can be applied appropriately according to the type of public places that is at risk of spreading of the infection such as public transport systems, restaurants, markets, and department stores, etc. By analyzing of the guidelines for the implementation measures to prevent the spread of disease in Thailand, it is found that we still experiencing problems in the operation relating to environmental health factors. This article proposes a model of environmental health protection which can be an important part to enhance the compliance to the public health measures. This model consists of awareness raising of personal hygiene for people and entrepreneurs, solid waste management resulting from the use of cleaning or disinfecting chemicals and personal protective equipment used, and improvement of ventilation in various types of buildings. It is also covered the supervision of government agencies on market sanitation, food safety and sanitation. If these elements have been effectively developed and improved, it will definitely help Thailand in the prevention and control of respiratory infections.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/10664/9375
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2961
ISSN: 3027-7396 (Print)
3027-740X (Online)
Appears in Collections:Public and Environmental Health - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
COVID-19-Prevention-under-Environmental-Health-Perspective.pdf87.58 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.