Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2968
Title: การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย
Other Titles: The Study of Thailand’s Systematic Chinese Teaching Management of Higher Education
泰国高等学府的汉语教学管理体制现状
Authors: นริศ วศินานนท์
何福祥
Naris Wasinanon
Huachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies
Keywords: ภาษาจีน – การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) – ไทย
汉语 -- 学习和教学 (大学) -- 泰国
Chinese language -- Study and teaching (Higher) --Thailand
ภาษาจีน – หลักสูตร
汉语$x课程
Chinese language -- Curricula
ภาษาจีน -- ตำราสำหรับชนต่างชาติ
汉语 -- 外国人教科书
Chinese language -- Textbooks for foreign speakers
ครูภาษาจีน – ไทย
中文老师 -- 泰国
Chinese teachers -- Thailand
Issue Date: 2016
Citation: วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 9,2 (2559) : 263-287
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบันและแนวโน้มการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในอนาคต แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่ ด้านนโยบายและการส่งเสริมการเรียนการสอน หลักสูตร ตำราหนังสือแบบเรียนและสื่อการสอน ผู้สอน ผู้เรียน และด้านความร่วมมือกับหน่วยงาน ผลการศึกษาพบว่า (1) นโยบายและการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอุดมศึกษา มีสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการคอยกำกับดูแลและสนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน แม้ว่าได้กำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมหลายแผนก็ตาม แต่ในทางปฏิบัตินั้นยังไม่ได้ดำเนินการเป็นที่ประจักษ์และครอบคลุมแผนที่วางไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดทิศทางของการเรียนการสอนภาษาจีนในอนาคตและยังไม่มีหน่วยงานเฉพาะที่มาช่วยดูแลส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนโดยตรง (2) ด้านหลักสูตร ปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดหลักสูตรการสอนภาษาจีนมีจำนวนเพิ่มขึ้นน้อยมากและใกล้ถึงจุดอิ่มตัว หลักสูตรที่เปิดสอนเดิมได้พัฒนาหลักสูตรเป็นวิชาเอก โทและเลือกเสรี ส่วนชื่อของหลักสูตรแม้ว่าใช้ชื่อว่าหลักสูตรภาษาจีนเป็นส่วนใหญ่ แต่มีแนวโน้มเป็นหลักสูตรด้านสายวิชาชีพมากขึ้น (3) ด้านตำราหรือหนังสือแบบเรียนส่วนใหญ่ยังใช้หนังสือของประเทศจีน แม้ว่าสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งได้เรียบเรียงเขียนขึ้นแต่ยังขาดความเชื่อมโยงต่อเนื่องเป็นระบบทั้งหลักสูตร (4) ด้านผู้สอน ผู้สอนแม้ว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นทั้งด้านคุณวุฒิและตำแหน่งวิชาการ แต่เมื่อเทียบสัดส่วนของจำนวนที่เพิ่มขึ้นของอาจารย์วุฒิการศึกษาปริญญาเอกและปริญญาโทยังไม่ได้สัดส่วน และตำแหน่งวิชาการศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์มีจำนวนน้อยมาก (5) ด้านผู้เรียน ผู้เรียนส่วนใหญ่มีพื้นฐานภาษาจีนจากระดับมัธยมศึกษามาแล้ว 3 ปี แต่การจัดการเรียนการสอนส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นการเรียนต่อยอด ผู้เรียนส่วนใหญ่ต้องเริ่มเรียนใหม่และไม่ได้เชื่อมโยงองค์ความรู้ต่อจากระดับมัธยมศึกษา ทำให้เกิดความสูญเปล่าทางการศึกษา (6) ด้านความร่วมมือ สถาบันอุดมศึกษามีการร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศจีนเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นความร่วมมือในด้านหลักสูตรและการให้ทุนการศึกษา ระดับรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการมีความร่วมมือกับรัฐบาลของจีนแต่ยังไม่ได้แสดงศักยภาพที่เอื้อประโยชน์ต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนภาษาจีนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ได้สรุปประเด็นปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนในมิติหลากหลายด้าน ล้วนเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยให้ก้าวไกลต่อไป
This research is a qualitative research which aims to study the teaching of Chinese higher education of current trends and the development of teaching Chinese in the future into six areas: policy and promote learning. course textbooks and teaching materials, textbooks, instructors, students, and collaboration with other agencies. The results showed that: (1) Although the Commission on Higher Education of The Ministry of Education oversees and promotes the teaching of Chinese. and there are many strategic plans and speacified agencies help promote teaching Chinese directly. In practice the direction of teaching Chinese in future is not clear. (2) the present course while offered to higher education institutions Teaching Chinese has increased very little and approached the saturation point. The courses were originally developed as major, minor and selective courses that are more diverse and more likely professional (3) most of textbooks are from China. There are many universities write their own textbooks but they are not systematically (4) although the number of instructors who have academic qualifications and academic ranks is increasing, the proportion of Professors and Associate Professors is very small. (5) the majority of the students who learned basic Chinese from high school three years ago, have to take basic Chinese while they need to learn more new knowledge. The knowledge they gained did not correlated while their previous background knowledge, It’s waste of the education system. (6) Higher education institutions are collaborating with institutions in China increasingly, The cooperation in cludes curriculum development, granting scholarship and so on. The Ministry of Education also cooperates with China government but there is no sign to support the institutions which offer Chinese course. Moreover ,the issues relating to teaching and learning Chinese could be the evidence to improve teaching and learning Chinese in higher education in Thailand in the future.
本文是研究泰国高等教育汉语教学管理的现状,其目的为了研究泰国高等教育汉语教学体制发展的问题,以及中学汉语教学和大学的汉语教学的连贯性,并提出泰国高等教育汉语教学体制发展道路的建议。以问卷调查了全国80所设有汉语教学课程的大学及采访汉语教师或与汉语教学相关负责人10位,再分析汉语教学管理问题的几个方面,如:汉语教学政策及促进措施,课程,教材与教具,教师,大学与负责单位的汉语教学合作,以及高中与大学的汉语教学的连贯性等方面。本文研究的结果得出下列问题:1)政策方面:泰国的高等学府的汉语教学管理体制虽然有高教委管制支助之下,,政府有明确的战略,但在实践上还未能概括及明确的贯彻。尤其是泰国高等教育的汉语教学将来的去向,至今泰国教育部还没有设有直接专门管制大学管制汉语教学的单位。2)课程方面:大学的汉语课程大都是以汉语专业为多,但将来较多会走向专业性的汉语课程,包括原有的汉语教学,将会扩大提供其他学院的学生学习。从今根据政府规定本科的汉语课程将走向综合实习的课程。目前开设的汉语课程,证明了大学的课程增多较少,其中原来的副修课程改为主修课程,这一点正表示高等学府的教育汉语教学将要包蕴。3)教材方面:虽然现在很多大学还使用中国的教材,但是有些大学本身已经编制适合本地的教材及教具。教具大都用PPT进行教学为主,同时也用其他 教具配合。4)教师方面:大学教师的数量比以往增多,学历也提高,但是大部分的汉语教师经验还少。大学的泰籍汉语教师的职称目前正教授一个还没有,副教授不到十个,助理教授多一些。但是按照教师数量与职称相比,有职称的教师较少。5)学生方面:几年来由于泰国政府推广汉语教学政策,目前学者大量增多,大部分的学者都有过汉语基础,(大部分都在高中汉语的选项学过三年)。在大学学习汉语的学者又从零开始,但也有一些大学开始根据水平授课的采取。在教学方面:高等学府的汉语教学大都还未有与高中的汉语教学连贯或适当地管理,大学还没有真正的连接高中汉语水平的课程。大部分的学者必须重新开始学汉语,致使教学的消耗。6)汉语教学合作方面:国内的高等教育学府与国外的高等学府的合作扩大,包括在泰国与中国合作下的单位机构的合作,但是政府机关还未彻底扮演促进高等学府与学府的合作的角色。根据调查若干问题得出对汉语教学的有利的建议及解决问题的方法:1)教育部应该成立一个专门管制高等学府汉语教学的单位。贯彻每一年的计划政策,实行并评估以及改善。2)塑造学者的学风,有目的地学习、认真勤劳学习汉语。3)大学应有汉语教学的管理体制来将有过汉语的基础提高,或者更有效地提高学者的汉语能力4)为了大学毕业者能达一致的汉语水平,教育部应规定使用同样的汉语教材或教课书。5)大学必有一定的策划,促进汉语教师发表学术文章及科研项目。让老师迅速地申请职称,并将硕士学位的老师再读博士。6)高等学府的汉语教学应该考虑学者的水平,根据不同 水平分班并适当地施教及管理,把高中与大学的汉语连上,使学者能更上一层楼。经过本文的研究项目,能看到泰国的高等学府的汉语教学现状及管理制体的问题,了解到汉语教学的现状及问题。并得到了宝贵的意见和建议,领导及与汉语教学相关负责人必须借鉴所提出的微观和宏观问题,解决所存在的问题并完善泰国的高等学府汉语教学工作,让泰国高等汉语教学走向美好的未来。
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CSJ/article/view/98162/76449
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2968
Appears in Collections:College Of Chinese Studies - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
The-Study-of-Thailand’s-Systematic-Chinese-Teaching-Management.pdf139.22 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.