Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2969
Title: รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย สังเคราะห์ภาพรวม
Authors: วิภาวรรณ สุนทรจามร
หทัย แซ่เจี่ย
ภูวกร ฉัตรบำรุงสุข
กำพล ปิยะศิริกุล
นริศ วศินานนท์
กนกพร ศรีญาณลักษณ์
Wipawan Sundarajamara
Hatai Jia
Puwakorn Chatbumrungsuk
Kampol Piyasirikul
Naris Wasinanon
Kanokporn Sriyanalug
何福祥
University of the Thai Chamber of Commerce. School of Humanities
Srinakharinwirot University. Faculty of Humanities
Srinakharinwirot University. Faculty of Humanities
Thammasat University. Pridi Banomyong International College
Huachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies
Burapha University. Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: ภาษาจีน – การศึกษาและการสอน – ไทย
汉语 -- 学习和教学 -- 泰国
Chinese language -- Study and teaching -- Thailand
ภาษาจีน – หลักสูตร
汉语 -- 课程
Chinese language -- Curricula
ภาษาจีน -- ตำราสำหรับชนต่างชาติ
汉语 -- 外国人教科书
Chinese language -- Textbooks for foreign speakers
ครูภาษาจีน – ไทย
中文老师 -- 泰国
Chinese teachers -- Thailand
Issue Date: 2016
Publisher: สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา
Abstract: บทสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับภาพรวมของการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษา และการศึกษานอกระบบฉบับนี้ จัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปภาพรวมของสภาพปัญหาปัจจุบันเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยในทุกระดับการศึกษา และเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนากระบวนการของการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในทุกระดับชั้น ให้มีความเหมาะสมกับบริบทการศึกษาของประเทศไทย ปัจจุบันจำนวนสถานศึกษาของประเทศไทยในระดับต่างๆ ที่ดำเนินหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาจีน ดังนี้ ระดับประถมศึกษาจำนวน 769 แห่ง มัธยมศึกษาจำนวน 707 แห่งอาชีวศึกษาจำนวน 173 แห่ง อุดมศึกษาจำนวน 82 แห่ง และการศึกษานอกระบบจำนวน 152 แห่ง โดยสรุปและสังเคราะห์ ภาพรวมของสภาพปัญหาปัจจุบันของการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยในทุกระดับการศึกษาจากงานวิจัยจำนวน 5 เล่ม ได้เน้นการศึกษาจากปัจจัยหลักสำคัญ 6 ประการ คือปัจจัยด้านการบริหารและการจัดการ หลักสูตร สื่อการสอน ผู้สอน ผู้เรียน และความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น จากการสังเคราะห์งานวิจัยการเรียนการสอนภาษาจีนในทุกระดับการศึกษา ผู้วิจัยในแต่ละระดับการศึกษาได้นำเสนอภาพรวมของปัญหาและข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาระบบการเรียนการสอนภาษาจีนของประเทศไทยในด้านต่างๆ ทั้ง 6 ด้าน ไว้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น เสนอให้กระทรวงศึกษาธิการของไทยจัดตั้งหน่วยงานกลางที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนภาษาจีนในทุกระดับชั้น จัดทำแผนและยุทธศาสตร์ แผนแม่แบบการเรียนการสอนภาษาจีนของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังได้เสนอให้มีการจัดทำหลักสูตรภาษาจีนแกนกลาง ที่จะสามารถนำไปใช้ร่วมกันทั้งประเทศได้ เพื่อแก้ปัญหาหลักสูตรการเรียนการสอนที่ไม่มีความต่อเนื่องและขาดความเชื่อมโยงของแต่ละระดับ เสนอให้ภาครัฐจัดหางบประมาณสนับสนุนการสร้างห้องปฏิบัติการทางภาษาในสถานศึกษาที่เปิดการสอนภาษาจีน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกทักษะทั้งการฟังและการพูดได้อย่างเต็มที่ เห็นควรให้มีการเร่งรัดผลิตบุคลากรการสอนภาษาจีนชาวไทยที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องควรเน้นให้ครูผู้สอนมีบทบาทในการสร้างเสริมให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาจีน โดยการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรต่างๆ ที่มีความหลากหลายและน่าสนใจ นอกจากนี้ ยังเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งหน่วยงานที่จะเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับแหล่งทุนการศึกษาทางด้านภาษาจีน และโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการในแวดวงการเรียนการสอนภาษาจีนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
Description: สามารถเข้าถึงรายงานฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : http://www.thaiedresearch.org/home/paperview/33/?
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2969
ISBN: 9786162701016
Appears in Collections:College Of Chinese Studies - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Study-of-Chinense-Language-Teaching.pdf88.68 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.