Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3002
Title: | แนวทางการส่งเสริมชุมชนปลอดขยะบ้านหัวช้าง ตำบลยางน้อย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม |
Other Titles: | The Process of Zero Waste Promotion in Ban Huachang Community, Yangnoi Sub-district, Kosumpisai District, Mahasarakham Province |
Authors: | ศิริวรรณ พันธุ์ยางน้อย จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร Siriwan Phanyangnoi Jaturong Boonyarattanasoontorn Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare. Student of Master of Social Work and Social Welfare Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | ขยะและการกำจัดขยะ – ไทย – มหาสารคาม Refuse and refuse disposal – Thailand -- Mahasarakham บ้านหัวช้าง (มหาสารคาม) Ban Huachang Community (Mahasarakham) |
Issue Date: | 2019 |
Citation: | วารสารสังคมภิวัฒน์ 10, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2562) : 76-85. |
Abstract: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแหล่งที่มาและประเภทขยะที่เกิดขึ้นในชุมชน เพื่อศึกษาเจตคติที่มีต่อการกำจัดขยะของคนในชุมชน เพื่อศึกษาพฤติกรรมการกำจัดขยะของคนในชุมชน และเพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานและแนวทางส่งเสริมชุมชนให้ปลอดขยะ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 105 ครัวเรือน และใช้แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารท้องถิ่นและผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลยางน้อย ผลการวิจัย พบว่า ประเภทขยะที่พบมากที่สุด คือ เศษอาหาร เศษพืชผัก ที่เกิดจากการอุปโภคบริโภคของคนในครัวเรือน และแหล่งที่มาของขยะ คือ มาจากครัวเรือนและการซื้อของจากตลาด เช่น ถุงพลาสติก กล่องโฟมใส่อาหาร เจตคติในการกำจัดขยะมูลฝอย อยู่ในระดับดี และหัวหน้าครัวเรือนที่มีเพศแตกต่างกัน มีเจตคติในการกำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่แตกต่างกันและด้านพฤติกรรมในการกำจัดขยะ อยู่ในระดับมากที่สุด คือ เคยร่วมรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกให้คนในหมู่บ้านช่วยกันคัดแยกขยะก่อนทิ้ง และหัวหน้าครัวเรือนที่มีเพศแตกต่างกัน มีพฤติกรรมในการกำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่แตกต่างกันกระบวนการส่งเสริมให้ชุมชนปลอดขยะอย่างยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลยางน้อยมีการวางระบบในการกำจัดขยะ 3 ขั้นตอน โดยเริ่มจาก ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ภายใต้หลัก 3Rs ได้แก่ Reduce (คิดก่อนใช้) Reuse (การใช้ซ้ า) Recycle (นำกลับมาใช้ใหม่) และให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะในพื้นที่ตลอดจนให้มีการบังคับใช้กฎหมายมีการออกข้อบัญญัติตำบลด้านการจัดการขยะมูลฝอยจากแหล่งกำเนิด มีการตรวจสอบและดำเนินการทางกฎหมายแก่ผู้ลักลอบทิ้งขยะข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ในระดับนโยบาย ควรส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดทำร่างข้อบัญญัติตำบลเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดในชุมชนให้มากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนองค์ความรู้ วิทยากร ศูนย์ข้อมูลและวิธีการบริหารจัดการขยะที่ถูกต้องเพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้การคัดแยกขยะ รับรู้ถึงผลกระทบที่เกิดจากปัญหาขยะทั้งในปัจจุบันและอนาคตสื่อมวลชนทั้งภาครัฐและเอกชน ช่วยผลักดันและขยายผลโดยสื่อมวลชนทำหน้าที่กระจายข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับสาธารณชน และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่ ข้อเสนอแนะระดับปฏิบัติการ องค์การบริหารส่วนตำบลยางน้อยควรสนับสนุนให้ภาคประชาชนทุกกลุ่มวัยเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริหารจัดการขยะในพื้นที่ เช่น เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ฯลฯ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการขยะครบวงจรในพื้นที่ และส่งผลต่อการขับเคลื่อนงานการพัฒนาท้องถิ่นในอนาคตต่อไป และมีการวางแผนในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนคัดแยกขยะที่ต้นทางอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ประชาชนเกิดความตื่นตัว และมีการขยายผลโครงการ เช่น จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนหรือหน่วยงานต่าง ๆ โรงเรียน วัด ตลอดจนการสร้างเครือข่ายให้กับชุมชนอื่นๆ ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการวิจัยถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำจัดขยะมูลฝอยที่ส่งผลให้เกิดความยั่งยืนของชุมชน ได้ทั้ง 3 มิติ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ตลอดจนได้มีตัวแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอยที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนในชุมชนและสามารถนำตัวแบบไปใช้ในการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป The research aims to study the types and sources of waste. Attitude and behavior in garbage disposal of people in the community study the process of operation and guidelines for promoting community –free garbage A collection of 105 household questionnaires and interviews with the administrators and directors of the public Health and Environment Division Yangnoi Subdistrict Administration Organization. The results showed that the most common type of waste was food waste, vegetable debris and garbage Sources. Is from household and from markets such as plastic buckets, foam boxes, food containers And the attitude of solid waste disposal is at a good level And different sexes have different attitude And the behavior of the garbage disposal is at the best level of practice, which is to join the campaign to raise awareness among the villagers to help separate waste before leaving And different gender There is no difference in garbage Disposal behavior. The process of promoting the community to be free of waste has 3 steps, namely, the middle, the destination and the destination under the 3Rs Reduce Reuse Recycle and allow all sectors to participate in waste management. The area district ordinances and legal checks for garbage dumpers. Policy suggestions Encourage people to participate in drafting ordinances and supporting knowledge. Waste management methods along with distributing information to the public as for the operational recommendations should encourage the public sector in all age groups to participate in the activities for the management of waste. |
Description: | สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : https://so04.tci-thaijo.org/index.php/thaijss/article/view/192464/163744 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3002 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Artical Journals |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
The-Process-of-Zero-Waste-Promotion-in-Ban-Huachang-Community.pdf | 102.72 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.