Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3010
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม ชุมชนวัดสลุด อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Factors Related to Home Self-Care Behavior in the Elderly with Osteoarthritis in Wat Salud Community, Bang Phil District, Samut Prakarn Province
Authors: จุฬาวรรณ จิตดอน
ศศิธร ชาวไร่
จิราพัชร ตั้งพิทักษ์กุล
อาภาภัทร เครือเม่น
อรปรียา ฐิติพันธ์รังสฤต
สุวนันท์ กันแม้น
จันทรัสม์ จันทร์เรือง
สุขฎา วิชาพาณิชย์
มาริษา จำเริญลาภ
Jurawan Jitdon
Sasitorn Chaorai
Jeeraphat Tangpitakkun
Apaphat Kruamen
Onpreeya Thiphanrangsarit
Suwanan Gunman
Jantarat Janrueng
Suchada Wichapanit
Marisa Jamreanlap
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing. Student of Bachelor of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing. Student of Bachelor of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing. Student of Bachelor of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing. Student of Bachelor of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing. Student of Bachelor of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing. Student of Bachelor of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing. Student of Bachelor of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing. Student of Bachelor of Nursing
Keywords: ข้อเข่าเสื่อม
Osteoarthritis, Knee
ผู้สูงอายุ -- ไทย -- สมุทรปราการ
Older people -- Thailand -- Samutprakarn
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
Self-care, Health
วัดสลุด (สมุทรปราการ)
Wat Salud (Samut Prakar)
ผู้สูงอายุ -- การดูแลที่บ้าน
Older people -- Home care
Issue Date: 2020
Citation: วารสาร มฉก. วิชาการ 24, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) : 119-128.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม พฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม ชุมชนวัดสลุด อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional design) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคข้อเข่าเสื่อม มีประวัติการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดสลุด อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 40 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามข้อมูลด้านภาวะสุขภาพ แบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม (Oxford knee score) และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญทางการพยาบาล 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (content validity index) รายฉบับเท่ากับ 1.00 และทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.76, 0.76, 0.87, 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของไคว์สแควร์ (chi-square test) ผลวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 30.00 มีระดับความรุนแรงโรคข้อเข่าเสื่อมอยู่ระดับปานกลาง รองลงมาร้อยละ 25.00 มีอาการปวดเข่าอยู่ในระดับรุนแรง และเริ่มมีอาการข้อเข่าเสื่อม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 77.50 มีพฤติกรรมการดูตนเองที่บ้านอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่าปัจจัยค่าดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
This descriptive cross-sectional design aimed to study the severity of osteoarthritis, home self-care behavior of osteoarthritis and factors related to home self-care behaviors in 40 elderly with osteoarthritis, Wat Salud Community, Bang Phil District, Samut Prakarn Province. Research tools included: Personal information questionnaire, health status questionnaire, evaluation of the severity of osteoarthritis (Oxford knee score) and self-care behavior questionnaire for the elderly with osteoarthritis. The research instruments were content validated by 3 nursing experts. The content validity index was 1. The Cronbach’s alpha coefficient was 0.76, 0.76, 0.87, 0.80, respectively. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and chi-square statistics. The results showed that 30% of the subjects had a moderate level of osteoarthritis followed by 25% of them with severe pain and having initial osteoarthritis symptoms. It was found that 77.5% of the subjects had home self-care behaviors that were at a moderate level. The body mass index was significantly correlated with the self-care behaviors of the elderly with osteoarthritis
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/HCUJOURNAL/article/view/162875/165529
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3010
ISSN: 0859-9343 (Print)
2651-1398 (Online)
Appears in Collections:Nursing - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Factors-Related-to-Home-Self-Care-Behavior-in-the-Elderly-with-Osteoarthritis.pdf100.6 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.