Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3042
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนหนองปรือ จังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | Factors Affecting the Health Literacy of Older Adults with Hypertension in Nong Prue Community, Samut Prakan Province |
Authors: | ฉันท์ทิพย์ พลอยสุวรรณ สุพร วงค์ประทุม ชวิศา รัตนกมลกานต์ พรรณี ปานเทวัญ ฐานิตา พึ่งฉิ่ง Chunthip Ploysuwan Suporn Wongkpratoom Chawisa Rattanakamonkarn Pannee Pantaewan Tanita Puengching Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing The Royal Thai Army Nursing College Royal Thai Air Force Nursing College |
Keywords: | ความดันเลือดสูงในวัยสูงอายุ -- ไทย -- สมุทรปราการ. Hypertension in old age -- Thailand -- Samut Prakan ความรอบรู้ทางสุขภาพ Health literacy ผู้สูงอายุ -- ไทย – สมุทรปราการ Older people -- Thailand -- Samut Prakarn ชุมชนหนองปรือ (สมุทรปราการ) Nong Prue Community (Samut Prakarn) |
Issue Date: | 2021 |
Citation: | วารสารการพยาบาลและการศึกษา 14,2 (เมษายน-มิถุนายน 2564) : 52-64. |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงและปัจจัยทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนหนองปรือจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 218 คนคัดเลือกโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคลแรงสนับสนุนทางสังคมการรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูงและความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ความตรงของเครื่องมือโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคมีค่าเท่ากับ 0.76,0.86 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง โดยใช้สถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า โรคความดันโลหิตสูงมีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง ด้านความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 44.50 (Mean=3.49,S.D.=0.60) และความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ(Mean=1.15, S.D.=0.60) โดยด้านทักษะการตัดสินใจมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (Mean=1.47,S.D.=0.90) แรงสนับสนุนทางสังคมและการรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=1.81,S.D.=0.61; Mean=2.24,S.D.=0.45 ตามลำดับ) การรับรู้ความรุนแรงของโรคและแรงสนับสนุนทางสังคม ด้านการประเมินผลสามารถร่วมกันทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงได้ ร้อยละ32.1 อย่างมีนัยสำคัญที่.001 สรุปผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับสูงขึ้นมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและยั่งยืนต่อไป The purposes of this study were to examine health literacy of older adults with hypertension, and to explore predicting factors of health literacy of older adults with hypertension in Nong Prue Community, Samut Prakan Province. Two hundred and eighteen participants were recruited by using a purposive random sampling technique. Data collection was performed by using questionnaires regarding demographic data, social support, perceived severity of hypertension, and health literacy of older adults with hypertension. The reliability of the social support, perceived severity of hypertension, and health literacy of older adults with hypertension were 0.76,0.86 and 0.96,respectively. Descriptive statistics and stepwise multiple regression were employed for data analyses. The results reveal that 44.5% of older adults with hypertension were at moderate level of health literacy. The health literacy was at low level (Mean=1.15,S.D.=0.60), social support and perceived severity were at moderate level (Mean=1.81,S.D.=0.61, Mean=2.24,S.D.=0.45, respectively). Perceived severity of older adults with hypertension and social support in the evaluation part could predict of health literacy of older adults with hypertension for 32.1% (p<.001) Inconclusion, these results could be employed as information for health literacy promoting plan in order to increase good healthy literacy and have behavior sustainable health. For older adults with hypertension. |
Description: | สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/250450/170718 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3042 |
Appears in Collections: | Nursing - Artical Journals |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Factors-Affecting-the-Health-Literacy-of-Older-Adults-with-Hypertension.pdf | 87.01 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.