Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/305
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนภาพร แก้วนิมิตชัย-
dc.contributor.advisorกนกพร นทีธนสมบัติ-
dc.contributor.advisorNapaporn Kaewnimitchai-
dc.contributor.advisorKanokporn Nateetanasombat-
dc.contributor.authorเรวดี ศรีสุข-
dc.contributor.authorRewadee Srisuk-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.date.accessioned2022-05-15T16:13:03Z-
dc.date.available2022-05-15T16:13:03Z-
dc.date.issued2015-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/305-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลผู้ใหญ่) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2558th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว โดยใช้รูปแบบ D-METHOD ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและภาวะสุขภาพ เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จากผู้สูงอายุทั้งเพศชายและเพศหญิงที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลว และเข้ารับการรักษาแผนกหอผู้ป่วยในอายุรกรรมชายและหญิง โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง ในภาคกลาง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม 25 ราย ได้รับการวางแผนจำหน่ายแบบผู้ป่วยทั่วไปตามปกติ และกลุ่มทดลอง 25 ราย ได้รับโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว และคู่มือ "การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว" เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลสุขภาพ และความต้องการการวางแผนจำหน่าย แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเอง และแบบประเมินภาวะสุขภาพสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มมเหลว ผลการศึกษา พบว่า 1. ก่อนให้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายกับกลุ่มทดลองและให้การวางแผนจำหน่ายแบบปกติกับกลุ่มควบคุมมีคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเอง และคะแนนภาวะสุขภาพ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังให้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายสูงกว่าก่อนการให้โปรแกรมการวางแผนจำหน่าย และมีคะแนนภาวะสุขภาพหลังให้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายดีกว่าาก่อนการให้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังให้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายสูงกว่ากลุ่มควบคุม และมีคะแนนภาวะสุขภาพหลังให้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวโดยใช้รูปแบบ D-METHOD ช่วยให้ผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวมีพฤติกรรมการดูแลตนเองและมีภาวะสุขภาพดีขึ้น ดังนั้น โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวในการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาลth
dc.description.abstractThis research aimed to study the effects of the discharge planning program for elderly patients with heart failure on self-care behaviors and health status by using D-METHOD technique. Purposive sampling was employed to obtain a sample. Fifty samples, who were diagnosed with heart failure and admitted at female and male medical ward in General hospital of the Central region of Thailand, was recruited. There were two groups of this study. The twenty five control group received general discharge planning from the medical ward. The other twenty five experimetal group received discharge planning program for elderly patients with heart failure. The discharge planning program for elderly patients with heart failure and handbook entitled on "self-care for elderly patients with heart failure" were used as the research tools in this study. Data collection tools were demographic, health, and discharge planning needs questionnaire, self-care behaviors assessment for elderly patients with heart failure, health status assessment for elderly patients with heart failure. The study results indicate that : 1. Not different self-care behaviors and health status before experimental between control group and experimental group were statistically significant at .05. 2. The self-care behaviors and health status in post experimental was better than pre-experimental in statistically significant at .05. 3. The self-care behaviors and health status of the experimental group after the intervention were statistically significant better than those of the control group at .05. This study demonstrated that discharge planning program for elderly patients with heart failyre by using D-METHOD technique can help elderly patients with heaty failure received self-care better and improve health status as well. Therefore, this program could be further applied on a guideline in practice nursing care.th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectโรงพยาบาล -- การรับและการจำหน่ายผู้ป่วยth
dc.subjectHospitals -- Admission and dischargeth
dc.subjectหัวใจวายth
dc.subjectHeart failureth
dc.subjectผู้สูงอายุth
dc.subjectOlder peopleth
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเองth
dc.subjectSelf-care, Healthth
dc.titleผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและภาวะสุขภาพth
dc.title.alternativeThe Effects of the Discharge Planning Program for Elderly Patients with Heart Failure Focusing on Self-Care Behaviors and Health Statusth
dc.typeThesisth
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการพยาบาลผู้ใหญ่th
Appears in Collections:Nursing - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf914.78 kBAdobe PDFView/Open
Tableofcontents.pdf569.58 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf416.02 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf700.45 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf530.67 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf449.07 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf402.58 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.