Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3113
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรสิริ ปุณเกษม-
dc.contributor.advisorPornsiri Poonakasem-
dc.contributor.authorทวีเกียรติ เตชหัวสิงห์.-
dc.contributor.authorThaweekiat Techahuasingh-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.date.accessioned2024-10-23T12:06:18Z-
dc.date.available2024-10-23T12:06:18Z-
dc.date.issued2001-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3113-
dc.descriptionภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2544en
dc.description.abstractภาคนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาปัญหาทางการตลาดของสหกรณ์ธรรมชาติพัฒนา จำกัด ที่จะมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน รวมทั้งการสำรวจพฤติกรรมซื้อผลิตภัณฑ์ธรรมชาติของผู้บริโภคจากร้านสหกรณ์ธรรมชาติ ทั้ง 8 สาขา อันได้แก่ สาขาถนนรามคำแหง ถนนประชาชื่น ถนนพหลโยธิน ปากซอยลาดพร้าว 111 ถนนพระราม 4 ถนนติวานนท์ ซอยสุขุมวิท เพชรเกษม 57 ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์เจาะลึกปัญหาการตลาดของสหกรณ์ธรรมชาติพัฒนา จำกัด โดยทำการสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคจากแบบสอบถามและใช้ตัวอย่างประชากร 200 คน และทำการสัมภาษณ์ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับสหกรณ์ธรรมชาติพัฒนา จำกัด ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งต่างๆผลการศึกษาพบว่าสาเหตุที่ทำให้ยอดขายลดลงเนื่องจาก1. การมีสินค้าไม่หลากหลายต่อความต้องการเลือกซื้อของผู้บริโภคและสถานที่ตั้งห่างไกลจากแหล่งชุมชน2. นโยบายการขยายสาขาแบบค่อยเป็นค่อยไปทำให้มีข้อจำกัดเรื่องช่องทางการจำหน่าย3. การให้ข่าวสารการประชาสัมพันธ์มีน้อยส่งผลให้จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง4. การตรวจสอบสินค้าก่อนจัดซื้อมีต้นทุนในการตรวจสอบสูง ทำให้ราคาสินค้าสูงกว่าคู่แข่ง5. พนักงานใช้เวลาส่วนใหญ่ในการตรวจสต๊อกสินค้า ขาดพนักงานแนะนำบริการลูกค้าจากการพิจารณาทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรพร้อมทั้งคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาที่จะส่งผลให้สหกรณ์ธรรมชาติสามารถเพิ่มศักยภาพในการแก้ไขปัญหาได้ตามแนวทางดังนี้แนวทางแรก คือ แนวทางแก้ไขปัญหาในระยะสั้นช่วงระยะเวลา 1 ปี โดยการจัดส่งเสริมการขายทุกวันอาทิตย์ซึ่่งจากผลการสำรวจมีผู้มาซื้อของมากที่สุด กำหนดทีมรับผิดชอบในด้านบริหารสินค้าในร้านสหกรณ์และทีมบริหารลูกค้า เพิ่มสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น จัดอบรมให้ความรู้กับลูกค้าเป้าหมาย และทำโครงการสมาชิกแนะนำสมาชิก (Member get member)แนวทางที่สอง คือ แนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะกลางช่วงระยะเวลา 1 ถึง 5 ปี โดยจัดให้มีการส่งเสริมให้ชุมชนเกษตรกรผลิตผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติมากขึ้น เสนอขายหุ้นให้กับโรงพยาบาลรัฐและเอกชนและบุคลากรภายในองค์กร เปิดเคาน์เตอร์หรือสาขาในโรงพยาบาล ผลักดันผักปลอดสารพิษและสมุนไพรเข้าไปอยู่ในรายการอาหารและยาของโรงพยาบาล ใช้ระบบบาร์โค้ด (Barcode) ในการควบคุมบริหารสินค้า และให้สิทธิประโยชน์เพิ่มคุณค่าแก่สมาชิก แนวทางที่สาม คือ แนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะยาวตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป คือ จัดทำระบบแฟรนไชล์en
dc.language.isothen
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.subjectสหกรณ์ธรรมชาติพัฒนา จำกัด -- การตลาดen
dc.subjectThammachat Phadthana Cooperative Ltd -- Marketingen
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภคen
dc.subjectConsumer behavioren
dc.subjectผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติen
dc.subjectNatural productsen
dc.subjectการส่งเสริมการขายen
dc.subjectSales promotionen
dc.titleการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดของสหกรณ์ธรรมชาติพัฒนา จำกัดen
dc.title.alternativeIncreasing the Market Potentials of Thammachat Phadthana Cooperative Ltd.en
dc.typeIndependent Studiesen
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจen
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Increasing-the-Market-Potentials-of-Thammachat-Phadthana.pdf
  Restricted Access
6.84 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.