Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3197
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุธีรา พึ่งสวัสดิ์ | - |
dc.contributor.author | วรนุช มีภูมิรู้ | - |
dc.contributor.author | ณัฐพร นันทจิระพงศ์ | - |
dc.contributor.author | ยุวธิดา ชิวปรีชา | - |
dc.contributor.author | นฤดี บูรณะจรรยากุล | - |
dc.contributor.author | เปรมรัตน์ พูลสวัสดิ์ | - |
dc.contributor.author | ศิลา เต็มศิริฤกษ์กุล | - |
dc.contributor.author | จริยา ประณิธาน | - |
dc.contributor.author | Suteera Puengsawad | - |
dc.contributor.author | Woranuch Meepoomroo | - |
dc.contributor.author | Nathaporn Nanthajirapong | - |
dc.contributor.author | Yuwathida Chiwpreechar | - |
dc.contributor.author | Naruedee Buranajanyakul | - |
dc.contributor.author | Premrat Poolsawad | - |
dc.contributor.author | Sila Temsiririrkkul | - |
dc.contributor.author | Jariya Pranitan | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology | en |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology | en |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology | en |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology | en |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology | en |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology | en |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology | en |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology | en |
dc.date.accessioned | 2024-11-02T10:35:35Z | - |
dc.date.available | 2024-11-02T10:35:35Z | - |
dc.date.issued | 2024 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3197 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพและหาแนวทางการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยรูปแบบการประเมินหลักสูตรที่นำมาใช้ในการประเมินความเหมาะสมและคุณภาพของหลักสูตร คือ แบบจำลอง CIPP ของ ศาสตราจารย์ ดร. แดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม ที่รวบรวมและสรุปผลการประเมินข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ผ่านการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งประกอบด้วย อาจารย์ จำนวน 9 คน นักศึกษา จำนวน 60 คน บัณฑิต จำนวน 6 คน ผู้บังคับบัญชา/ผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 9 คน และผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ศิษย์เก่า จำนวน 64 คน รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 151 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประเมินหลักสูตรประกอบด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพไปยังกลุ่มเป้าหมาย ข้อมูลสะท้อนกลับการผลการนิเทศงานสหกิจศึกษา รวมถึงการระดมสมองระหว่างคณะผู้วิจัยกับผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งครอบคลุมการประเมินองค์ประกอบทั้ง 8 ด้านดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1. ด้านบริบทของหลักสูตร (Context evaluation : C) ประกอบด้วยการประเมิน 2 ด้าน ได้แก่ 1) การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกหลักสูตร ได้แก่ แนวโน้มเทคโนโลยีอนาคต สถิติประชากร ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มเป้าหมาย กรอบการประกันคุณภาพระดับหลักสูตรตามแนวทางของเกณฑ์ AUN-QA และความต้องการของหน่วยงาน/สังคม และ 2) การประเมินสภาพแวดล้อมภายในหลักสูตร ได้แก่ โครงสร้างหลักสูตร ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา (Course Learning Outcomes : CLOs) ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (Program Learning Outcomes: PLOs) และเกณฑ์การวัดและประเมินผล ซึ่งผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.06 2. ด้านปัจจัยนำเข้าของหลักสูตร (Input evaluation : I) ประกอบด้วยการประเมิน 3 ส่วน ได้แก่ 1) คุณสมบัตินักศึกษา 2) คุณสมบัติ / คุณวุฒิ / ประสบการณ์ผู้สอน และ 3) ปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ ด้านสื่อการสอน ตำรา และแหล่งเรียนรู้ และ ด้านวัสดุ อุปกรณ์การศึกษา และห้องปฏิบัติการ ซึ่งผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.49 3. ด้านกระบวนการหลักสูตร (Process evaluation: P) มีการประเมิน 3 ด้าน ได้แก่ 1) การจัดการเรียนการสอน 2) การวัดและประเมินผลการเรียนและ 3) การกำกับติดตาม ซึ่งผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.33 4. ด้านผลผลิตของหลักสูตร (Products evaluation: P) ประกอบด้วยการประเมิน 4 ส่วน ได้แก่ 1) การประเมินคุณลักษณะบัณฑิตตามวัตถุประสงค์และมาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้านของหลักสูตร ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ทักษะความสามารถในการปฏิบัติงาน 3) ผลการเรียน และ 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.30 5. ด้านผลกระทบ (Impact evaluation: I) ประกอบด้วยการประเมิน 3 ส่วน คือ 1) การนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ 2) การยอมรับจากผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน และ 3) คุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวม 4.57 6. ด้านประสิทธิผล (Effectiveness evaluation: E) มีการประเมิน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ความมั่นใจในความรู้ที่ได้ศึกษามาว่าเพียงพอต่อการปฏิบัติงานและ 2) การศึกษา ค้นคว้า ความรู้ทางด้านวิชาชีพเพิ่มเติม ซึ่งผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.33 7. ด้านความยั่งยืน (Sustainability evaluation: S) เป็นการประเมิน 2 ส่วน คือ 1) ความเหมาะสมของการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนางาน และ 2) การประยุกต์องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปสู่งานอื่น ซึ่งผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.42 8. ด้านการถ่ายโยงความรู้ (Transportability: T) มีการประเมิน 2 ด้าน คือ 1) การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ๆ 2) การปรับความรู้ให้เหมาะสมกับองค์กรภายนอก และ 3) ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้สู่ผู้อื่น ซึ่งผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.61 จากผลการวิจัยข้างต้น คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรรปรับปรุง พ.ศ. 2563) ในภาพรวมของหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ซึ่งผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรต่อไป | - |
dc.description.abstract | The objective of this research is to evaluate the quality and find ways to improve the development of Computer Science Curriculum (Revised edition 2020) Science and Technology Faculty, Huachiew Chalermprakiet University. Daniel L. Stufflebeam’s CIPP model is applied to assess the appropriateness and quality of the curriculum that collects and summarized the evaluation results of qualitative data and quantitatively based on a sample of specifically selected stakeholders. It consists of 9 professors, 60 students, 6 graduates, 9 supervisors/graduate users, and 3 curriculum experts, 64 cs alumni, for a total of 151 people. The tools used in the curriculum evaluation research consists of Questionnaires that passed the quality check to the target group, feedback on the results of cooperative education supervision, and brainstorming between the research team and curriculum experts. This research covers the evaluation of all 8 elements as detailed below. First, Context evaluation (C) consists of two aspects: 1) Evaluation of the environment outside the curriculum including: Future technology trends, Demographic statistics. Basic information of target groups, Curriculum level quality assurance frameworks according to the AUN-QA criteria, and the needs of agencies/society. 2) Evaluation of the environment within the curriculum including: Course structure, Course Learning Outcomes (CLOs), Program Learning Outcomes (PLOs), and measurement and evaluation criteria. The overall evaluation results were at a high level with an average score of 4.06. Second, Input evaluation (I) consists of 3 parts: 1) student qualifications, 2) qualifications / qualifications / experience of the instructors, and 3) support factors of learning and teaching process including teaching media, textbooks, knowledge sources, educational materials, equipment and laboratory. The overall evaluation results were at the highest level with an average score of 4.49. Third, Process evaluation (P) has 3 aspects of evaluation: 1) teaching and learning management, 2) measurement and evaluation of academic results, and 3) supervision and monitoring. The overall evaluation results were at a high level with an average score of 4.33. Fourth, Product evaluation (P) consists of 4 parts of evaluation: 1) Evaluation of graduate characteristics according to the objectives and learning outcomes on five domains, namely (1) morality and ethics, (2) knowledge, (3) cognitive skills, and (4) human relations skills and responsibility, and (5) numerical analysis, communication, and information technology skills, 2) Working skills, 3) Academic results, and 4) Academic achievement. The overall evaluation results were at a high level with an average score of 4.30. Fifth, Impact evaluation (I) consists of evaluation of 3 parts: 1) application of knowledge to work in the workplace, 2) acceptance from supervisors and colleague, and 3) quality of work assigned. The overall evaluation results were at the highest level with an average score of 4.57. Sixth, Effectiveness evaluation (E) has 2 aspects of evaluation: 1) the appropriateness of the confidence in the knowledge gained and 2) the study of additional professional knowledge. The overall evaluation results were at a high level with an average score of 4.33. Seventh, Sustainability evaluation (S) is an evaluation of 2 parts: 1) the appropriateness of using knowledge for work development and 2) the application of knowledge gained from education to other work. The overall evaluation results were at a high level with an average score of 4.42. Eighth, Transportability (T) has 2 aspects of assessment: 1) participating in the exchange of new knowledge, 2) adapting knowledge to suit external organizations, and 3) the ability to transfer knowledge to others. The overall evaluation results were at the highest level with an average score of 4.61. In summary, the overall assessment of Computer Science curriculum (Revision, 2020) is suitable because the overall satisfaction of 8 elements of CIPP model were in between high and highest level. Finally, the research results can be used as a guideline to improve and develop the curriculum further. | - |
dc.description.sponsorship | การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติปีการศึกษา 2566 | en |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | en |
dc.subject | วิทยาการคอมพิวเตอร์ -- หลักสูตร. | en |
dc.subject | Computer science -- Curricula. | en |
dc.subject | วิทยาการคอมพิวเตอร์ -- การศึกษาและการสอน | en |
dc.subject | Computer science -- Study and teaching. | en |
dc.subject | การประเมินหลักสูตร | en |
dc.subject | Curriculum evaluation | en |
dc.title | การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563 คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | en |
dc.title.alternative | The Evaluation of Computer Science Curriculum: Bachelor’s Degree Programme, Revised Edition 2020, Science and Technology Faculty, Huachiew Chalermprakiet University | en |
dc.type | Technical Report | en |
Appears in Collections: | Science and Technology - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
The-Evaluation-of-Computer-Science-Curriculum-Bachelor’s-Degree-2020.pdf | 3.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.