Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/321
Title: | พฤติกรรมการบริโภคอาหารขณะตั้งครรภ์แรกของหญิงแรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาร์ที่มารับบริการแผนกสูติกรรมหลังคลอด โรงพยาบาลสมุทรปราการ |
Other Titles: | Food Consumption Behavior among Primigravid Myanmar Migrant Workers Receiving Postpartum Care in Samutprakan Hospital, Thailand. |
Authors: | ทวีศักดิ์ กสิผล กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม Taweesak Kasiphol Kamonthip Khungtumneum ชูขวัญ เฮงชัยโย Chukwan Hengchiya Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing |
Keywords: | การบริโภคอาหาร Food consumption แรงงานต่างด้าวสตรี -- ไทย Women foreign workers -- Thailand แรงงานต่างด้าวพม่า -- ไทย Foreign workers, Burmese -- Thailand สตรีมีครรภ์. Pregnant women |
Issue Date: | 2015 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารขณะตั้งครรภ์แรกของหญิงแรงงานต่างด้าว ผู้ให้ข้อมูลเป็นหญิงต่างด้าวแรงงานเมียนมาร์ จำนวน 15 คน ที่มารับบริการแผนกสูติกรรมหลังคลอด โรงพยาบาลสมุทรปราการ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เก็บข้อมูลโดยใช้ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม (Participant and non-participant observations) การสนทนากลุ่ม (Focus group) ร่วมกับการศึกษาข้อมูลทางเอกสาร (Document) เดือนเมษายน ถึง เดือน กันยายน พ.ศ. 2557 ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหารขณะตั้งครรภ์แรกของหญิงแรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาร์ ที่มารับบริการแผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลสมุทรปราการ ดังนี้ 1) แหล่งซื้ออาหาร ส่วนมากได้จากร้านค้าตามตลาดนัดที่อยู่ใกล้ที่พัก และโรงงานที่ทำงาน มีการเลือกรับประทานอาหารตามสภาพแวดล้อม 2) การเลือกรับประทานอาหารมี 2 ลักษณะ ดังนี้ 2.1) กินตามีตามเกิด คือ เลือกกินตามสภาพความเป็นอยู่ในขณะการตั้งครรภ์ ส่งผลให้มีพฤติกรรมการบริโภคขณะตั้งครรภ์ ส่งผลให้มีพฤติกรรมการบริโภคขณะตั้งครรภ์ตามที่เลือกปฏิบัติและต่อภาวะสุขภาพทารกในครรภ์ ซึ่งบางรายมีน้ำนักตัวมากกว่าปกติทำให้เกิดการคลอดยาก 2.2) การเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ เช่น หมู ไก่ ผักใบเขียว ปลา ซึ่งทำให้หญิงตั้งครรภ์ไม่มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ และทารกแรกเกิด มีน้ำหนักตัวในเกณฑ์ปกติ 3) การรับประทานอาหารตามความเชื่อมี 2 ลักษณะ คือ 3.1) กินดีเด็กดีสำหรับแต่ละคนนั้นต่างได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์เรื่องการกินที่ได้รับจากมารดาและเพื่อนร่วมงาน ความเป็นอยู่เดิมที่ประเทศเมียนมาร์ ทำให้เลือกกินแต่อาหารที่มีประโยชน์ต่อทารกในครรภ์ 3.2) กินของแสลงไม่ดีกับลูก อาหารแสลงสำหรับหญิงตั้งครรภ์แรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาร์ ส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์กับความเชื่อเดิมที่เคยปฏิบัติกันมาจากประเทศเมียนมาร์นำมาปฏิบัติโดยประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่และสภาพแวดล้มอที่พอจะหามารับประทานได้ตามความเชื่อเดิม The purpose of this qualitative research was to study food consumption behavior among primigravid Myanmar migrant workers with postpartum department of Samutprakan hospital, Thailand. Form them until data saturation of themes total 15 person. Data were collected by using in-depth interviews, participant and non-participant observations, focus groups and data from documents. Content analysis was used to analyze the data, April until September 2014. The findings indicated foos consumption behavior among primigravid Myanmar migrant workers with postpartum department of Samutprakan hospitcal, Thailand. Food consumption behavior has relationship with lifestyle therefore have 3 concepts such as Conception 1 Mostly sources of food are fresh food market near house and factory. They are selecting food according to environment. Conception 2 the selecting foods have 2 characters. Character 1 Eat relationships to primigravid. As a result Myanmar migrant workers have food consumption vehavior among primigravid and fetal health. Some baby cases have overweught incurdifficult birth. Character 2; the select to eat a healthy food such as Pork, chicken, fish, and vegatables. With relationship to lifestyle pregnancy therefore pregnancy primigravidarum have not complication and neonatal have normal weight. Conception 3 The selection food follow faith. It has 2 character such as Character 1 eat good food get well baby. Myanmar migrant workers get experiences of food consumption behavuor form mother, workmate and lifestyle of Myanmar. Character 2 Slang of forbidden food relationship to faith of Myanmar into adaptation with lifestyle and environment. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2558 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/321 |
Appears in Collections: | Nursing - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.pdf Restricted Access | 749.64 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Tableofcontents.pdf Restricted Access | 123.92 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter1.pdf Restricted Access | 145.41 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter2.pdf Restricted Access | 274.56 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter3.pdf Restricted Access | 159.4 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter4.pdf Restricted Access | 265.07 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter5.pdf Restricted Access | 197.5 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
References.pdf Restricted Access | 968.09 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.