Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3281
Title: ผลของการสูบบุหรี่ต่อความจําและค่าเวลาปฏิกิริยาการตอบสนองต่อแสงและเสียงในอาสาสมัครปกติ
Other Titles: Effects of Smoking on Memory and Audiovisual Reaction Time in Normal Volunteers
Authors: อมรรัตนา บุญสวน
ปัญชลี เกตุน้อย
โสรญา ถาวรวัฒน์
เมตตา โพธิ์กลิ่น
Amonrattana Boonsuan
Panchalee Ketnoi
Soraya Thavonwat
Maitta Phoglin
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology. Student of Bachalor of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology. Student of Bachalor of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology. Student of Bachalor of Science and Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
Keywords: การสูบบุหรี่
Smoking
ความจำ
Memory
ระบบประสาท
Nervous system
เวลาปฏิกิริยาการตอบสนองต่อแสงและเสียง
Visual reaction time
Auditory reaction time
Issue Date: 2017
Abstract: การสูบบุหรี่ส่งผลต่อค่าเวลาปฏิกิริยาตอบสนองต่อแสงและเสียง ซึ่งเป็นการตรวจวัดความเร็วของการประมวลผลของระบบประสาทส่วนกลางและตอบสนองไปยังระบบประสาทส่วนปลายทําให้เกิดการเคลื่อนไหว นอกจากนี้การสูบบุหรี่อาจส่งผลต่อความจําของบุคคล ในการศึกษาครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสูบบุหรี่ต่อความจําและค่าเวลาปฏิกิริยาการตอบสนองต่อแสงและเสียงในอาสาสมัครปกติจํานวน 60 คน อายุระหว่าง 35-60 ปี แบ่งเป็นกลุ่มสูบบุหรี่ 30 คนและกลุ่มไม่สูบบุหรี่ 30 คน พบว่ากลุ่มสูบบุหรี่มีค่าจากแบบทดสอบความจําดีกว่ากลุ่มไม่สูบบุหรี่ และค่าเวลาตอบสนองต่อแสงและเสียงไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ทั้งการทดสอบอย่างง่ายและกรณีที่มีการเพิ่มเงื่อนไข อย่างไรก็ตามการทําแบบทดสอบความจําพบว่า กลุ่มไม่สูบบุหรี่และกลุ่มสูบบุหรี่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p=0.0042) สรุปได้ว่าบุหรี่ส่งผลต่อความจํา โดย นิโคตินมีผลต่อ cognitive function ทําให้การประมวลผลของบุคคลดีขึ้น ซึ่งไปกระตุ้น nicotinic acetylcholine receptor (nAChRs)
Smoking can affect a person’s audiovisual reaction time – central information processing speed - and coordinated peripheral movement response. In addition, smoking can also affect a person’s memory. This study investigated the effects of smoking on memory and audiovisual reaction time in 35-60 year old volunteers. Volunteers were evenly divided into two groups; smokers (n=30) and non-smokers (n=30). It was found that there was no difference between the smoking and non-smoking groups in response to sound and light stimuli in both simple and complex conditions. However, in the memory test, the smoking group’s scores in the memory test were higher than the non-smokers. (p=0.0042) Thus, it is concluded that nicotine improves cognitive function by stimulating nicotinic acetylcholine receptors (nAChRs).
Description: การประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบันครั้งที่ 5 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0 (ASTC2017: The 5th Academic Science and Technology Conference 2017) วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร : หน้า 858-863.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3281
Appears in Collections:Science and Technology - Proceeding Document

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Effects-of-Smoking-on-Memory-and-Audiovisual-Reaction-Time-in-Normal-Volunteers.pdf106.29 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.