Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3305
Title: | การปรับตัวของเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Children Adjustment : A Study of Children in Child Development Center in Klongsamva District Bangkok Metropolitan |
Authors: | ณัฏฐ์ษา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา Nuttsa Sanitvong Na Ayuttaya นงนุช บุญมา Nongnuch Bunma Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | กรุงเทพมหานคร. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตคลองสามวา Bangkok Metropolitan. Child Development Center in Klongsamva District. เด็กวัยก่อนเข้าเรียน Preschool children ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก Day care centers การปรับตัวทางสังคมในเด็ก Social adjustment in children พัฒนาการของเด็ก Child development เด็ก -- การดูแลในสถานดูแล Children -- Institutional care การดูแลเด็ก Child care |
Issue Date: | 2004 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาการปรับตัวของเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการปรับตัวของเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเจริญพัฒนา เขตคลองสามวา ศึกษาถึงการอบรมเลี้ยงดูที่มีผลต่อการปรับตัวของเด็กเล็ก เพื่อเป็นแนวทางในการอบรมเลี้ยงดูเด็กเล็กให้สามารถปรับตัวเมื่อเข้าสู่สังคมได้ดี ทำการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ใน 2 ลักษณะ คือ การสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ปกครอง การพูดคุยกับเด็ก การสังเกตพฤติกรรมของเด็กและสภาพแวดล้อมของเด็กทั่วไปในครอบครัวและในศูนย์เด็กเล็ก โดยศึกษาเป็นรายกรณี จำนวน 6 ราย จำแนกเป็นรายกรณีเด็กที่ปรับตัวได้เร็ว จำนวน 3 ราย และปรับตัวได้ช้าจำนวน 3 ราย ในการศึกษาวิจัย มีข้อมูลที่ทำการศึกษาวิจัย คือ ลักษณะพฤติกรรมการปรับตัว ข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัว ข้อมูลการอบรมเลี้ยงดู และองค์ประกอบของการเลี้ยงดู ลักษณะพฤติกรรมการปรับตัวของกลุ่มเด็กเล็กที่ปรับตัวได้เร็ว กลุ่มตัวอย่างเมื่อเข้ามาอยู่ในศูนย์เด็กเล็ก สามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อนและครูพี่เลี้ยงได้เลย ในวันแรกอาจจะมีเศร้าหมองเล็กน้อย แต่ในวันต่อๆ มา ก็สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว เมื่ออยู่ในศูนย์เด็กเล็ก มีลักษณะร่าเริงแจ่มใสเข้ากับเพื่อนและครูพี่เลี้ยงได้ดี ร่วมทำกิจกรรมต่างๆ และเล่นกับเพื่อนอย่างสนุกสนานและมีความสุข มองโลกในแง่ดี มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่ครูพี่เลี้ยงสอน และเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างมีความสุข มีความมั่นใจในตัวเอง กล้าแสดงออก กล้าพูด กล้าทำ และกล้าแสดงความคิดเห็น ช่วยเหลือตัวเองได้ดี ฯลฯ ลักษณะการปรับตัวของกลุ่มเด็กเล็กที่ปรับตัวได้ช้า กลุ่มตัวอย่างเมื่อเข้ามาอยู่ในศูนย์เด็กเล็ก ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับเพื่อน ครูพี่เลี้ยงและสิ่งแวดล้อมได้ กลุ่มตัวอย่างจะมีอาการเศร้าหมอง ไม่ร่าเริงแจ่มใส ร้องไห้ตลอดเวลา หรือร้องไห้เป็นพักๆ อยากจะกลับบ้าน หรือเรียกหาผู้ปกครองตลอดเวลา กลุ่มตัวอย่างจะไม่เข้ารวมกลุ่มที่จะเรียนรู้และเล่นกับเพื่อนๆ และครูพี่เลี้ยงแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่สนใจที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว ไม่มีความกระตือรือร้นและไม่สนใจที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่ครูพี่เลี้ยงสอน ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง ฯลฯ ข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัวของกลุ่มเด็กเล็กที่ปรับตัวได้เร็ว มีสภาพครอบครัวที่รักใคร่กลมเกลียวกัน บิดาและมารดาอยู่ด้วยกัน ลักษณะการประกอบอาชีพหลากหลาย ฐานะทางครอบครัวมีทั้งฐานะดี ปานกลางและยากจน ส่วนครอบครัวของกลุ่มเด็กเล็กที่ปรับตัวได้ช้า มีสภาพครอบครัวทั้งที่บิดาและมารดาอยู่ด้วยกัน มีความรักใคร่กลมเกลียวกัน และทะเลาะเบาะแว้งกัน และสภาพครอบครัวที่บิดาและมารดาแยกกันอยู่ มีลักษณะการประกอบอาชีพที่หลากหลาย ฐานะทางครอบครัวปานกลางและยากจน ปัจจัยในการอบรมเลี้ยงดูของกลุ่มเด็กเล็กที่ปรับตัวได้เร็ว พบว่า มารดาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรเอง บิดาและมารดาให้ความรักความอบอุ่น ให้ความดูแลเอาใจใส่ ใกล้ชิดกับบุตร และทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับบุตร บิดามารดาใช้เหตุผลในการเลี้ยงดูมากกว่าอารมณ์ มีการอธิบายเหตุผลให้แก่บุตร ฯลฯ ส่วนในการอบรมเลี้ยงดูของกลุ่มเด็กเล็กที่ปรับตัวได้ช้า พบว่า บิดามารดาไม่ได้เลี้ยงดูบุตรเอง ไม่ให้ความรักความอบอุ่นแก่บุตร ไม่ได้ดูแลเอาใจใส่ ไม่แสดงให้เห็นว่าต้องการบุตร ไม่ใกล้ชิดบุตร ใช้อารมณ์ในการเลี้ยงดูบุตร และมีการลงโทษทางกาย โดยไม่อธิบายเหตุผลให้แก่บุตร ในขณะที่มีการส่งเสริมหรือขัดขวางการกระทำของบุตร ใช้วินัยไม่เหมาะสมกับเหตุผลและสถานการณ์ ฯลฯ ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งนี้ บิดามารดาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรที่จะตระหนักถึงความสำคัญของวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กเล็ก โดยบิดามารดาและผู้เลี้ยงดูควรอบรมเลี้ยงดูเด็กเล็กโดยไม่เข้มงวดมากเกินไป ให้อิสระในการคิดและตัดสินใจ และการกระทำของลูกพอควร ภายใต้ขอบเขตที่บิดามารดากำหนด โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่เด็ก บางครั้งบิดามารดาก็อาจให้ลูกได้ลองผิดลองถูก และถ้าลูกทำถูกต้องเหมาะสม บิดามารดาควรจะชมเชยและให้กำลังใจ แต่หากลูกทำผิด บิดามารดาควรจะให้กำลังใจและชี้แนะสิ่งที่ถูกต้องให้ โดยที่บิดามารดาจะไม่ซ้ำเติมลูก หากแต่จะให้กำลังใจและคำชี้แนะแก่ลูก ซึ่งบางครั้งอาจจะมีการลงโทษลูก แต่เป็นการลงโทษที่มีเหตุผลและไม่ใช้อารมณ์ ซึ่งการอบรมเลี้ยงดูเด็กวิธีนี้ เป็นการเลี้ยงดูที่ไม่มากไปและไม่น้อยเกินไป มีความรัก ความเอาใจใส่ให้อิสระแก่ลูกพอควร มีการอบรมสั่งสอนให้รู้จักดีชั่ว และเข้าใจกฎเกณฑ์ระเบียบต่างๆ ของสังคม การเลี้้ยงดูแบบนี้จะส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีเหตุผล เคาพรตนเอง เคารพผู้อื่น มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีบุคลิกภาพที่ดี สามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ภาครัฐควรตระหนักและให้ความสำคัญกับวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะถ้าเด็กมีพัฒนาการที่ดีในปัจจุบัน พวกเขาก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพจิตและบุคลิกภาพที่ดีในอนาคต ซึ่งจะเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพของสังคมต่อไป โดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีโครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่ถูกต้องให้กับบิดาและมารดา โดยชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดจากวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่ไม่ถูกต้อง ศูนย์เด็กเล็กควรมีการคัดเลือกเจ้าหน้าที่ ที่มีบุคลิกภาพและลักษณะที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานและดำเนินการอบรมทักษะการเลี้ยงดูเด็กที่ถูกต้อง และทักษะในการช่วยให้บิดามารดาเลี้ยงดูลูกอย่างเหมาะสม |
Description: | ภาคนิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2547. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3305 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Children-Adjustment-A-Study-of-Children-in-Child-Development-Center.pdf Restricted Access | 12.93 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.