Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3309
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิชุตา อยู่ยงค์-
dc.contributor.advisorWichuta Youyong-
dc.contributor.authorนพพร ยศขำ-
dc.contributor.authorNopporn Yoskam-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.date.accessioned2024-12-01T03:40:35Z-
dc.date.available2024-12-01T03:40:35Z-
dc.date.issued2010-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3309-
dc.descriptionการศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2553en
dc.description.abstractการศึกษาอิสระฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโอกาสในการลงทุนธุรกิจร้านให้บริการอินเทอร์เน็ต ในย่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา และเพื่อเป็นข้อมูลหรือแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจในการประกอบธุรกิจร้านให้บริการอินเทอร์เน็ตต่อไป สำหรับระเบียบวิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงสำรวจจากการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านให้บริการอินเทอร์เน็ตจำนวน 3 ราย โดยแบ่งเป็น ร้านขนาดเล็กมีจำนวนเครื่องให้บริการน้อยกว่า 10 เครื่อง 1 ราย ร้านขนาดกลางมีจำนวนเครื่องให้บริการ 10-20 เครื่อง 1 ราย และร้านขนาดใหญ่มีจำนวนเครื่องให้บริการมากกว่า 20 เครื่อง อีก 1 ราย รวมถึงการแจกแบบสอบถามผู้ใช้บริการจากร้านอินเทอร์เน็ตตัวอย่าง ทั้ง 3 ร้าน จำนวน 150 ตัวอย่าง ซึ่งข้อมูลที่ได้จะนำมาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของโครงการ และรูปแบบการดำเนินงานต่างๆ ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมภายนอก ด้านการตลาด ด้านการจัดการ และด้านการเงิน ดังนี้ ด้านสภาพแวดล้อมภายนอก พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 15-20 ปี ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน นักศึกษา อยู่ในระดับมัธยมศึกษาถึงระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท เป็นส่วนใหญ่ และที่พักไม่มีคอมพิเตอร์และอินเทอร์เน็ต โดยปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้บริการร้านอินเทอร์เน็ต คือ ด้านความสะดวก รองลงมาด้านสังคม ด้านเทคโนโลยี ด้านบริการ ด้านราคา และด้านสุขลักษณะเป็นลำดับสุดท้าย ส่วนสภาพแวดล้อมด้านการแข่งขันของธุรกิจร้านให้บริการอินเทอร์เน็ตในย่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในทุกรูปแบบ เนื่องจากมีจำนวนคู่แข่งขันที่มาก จึงทำให้ประสบปัญหาในเรื่องของต้นทุนที่สูง อีกทั้งยังมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของลิขสิทธิ์ กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ทำให้การดำเนินงานไม่ราบรื่น แต่ยังมีจุดแข็งในด้านภูมิศาสตร์เพราะในย่านนี้เป็นย่านแหล่งชุมชน แหล่งการศึกษา การเดินทางคมนาคมสะดวก กลุ่มเป้าหมาย มีปริมาณที่มาก และหมุนเวียนอยู่ตลอด ด้านการตลาดพบว่า กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่พักอาศัยอยู่ในย่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา โดยมีการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด ดังนี้ ด้านสินค้าและบริการ ส่วนใหญ่เน้นที่โปรแกรมให้ความบันเทิงเป็นหลัก โดยเฉพาะเกมส์ออนไลน์ต่างๆ ประสิทธิภาพเครื่องและอินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ด้านราคา ส่วนใหญ่เป็นราคาตลาดตามคู่แข่งขัน ด้านสถานที่ช่องทางการจัดจำหน่าย จะเน้นตั้งในแหล่งชุมชนใกล้ที่พักอาศัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ด้านส่งเสริมการตลาด จะเน้นที่ช่วงแรก และช่วงรักษาฐานลูกค้า ด้านบุคลากร พนักงานดูแลร้านจะเน้นเป็นนักศึกษาที่พักอาศัยในพื้นที่ใกล้เคียง มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์พอประมาณ ชอบเล่นเกมส์ มีมนุษยสัมพันธ์ดี และด้านเจ้าของกิจการ ควรจะรู้เรื่องโครงสร้างทั้งหมดของร้าน รู้จักสภาพภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อมบริเวณนั้นเป็นอย่างดี ด้านการจัดการพบว่า รูปแบบการดำเนินการส่วนใหญ่จะเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้เครื่องแม่ข่ายเป็นตัวกลางในการควบคุมเป็นหลัก และมีการดำเนินงานด้วยระบบคูปอง ทำให้สะดวก รวดเร็วและเที่ยงตรง ด้านการเงินพบว่า โครงการธุรกิจร้านให้บริการอินเทอร์เน็ต ในย่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา มีความเป็นไปได้ทั้ง 3 ขนาด โดยกำหนดระยะเวลาโครงการ 5 ปี อัตราคิดลด 10% ซึ่งร้านขนาดเล็ก ใช้เงินลงทุน 295,552 บาท มีระยะเวลาคืนทุน 2 ปี 6 เดือน อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน 1,096 เท่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ 141,501 บาท และมีอัตราผลตอบแทนภายในโครงการ 27.44% ร้านขนาดกลาง ใช้เงินลงทุน 569,326 บาท มีระยะเวลาคืนทุน 2 ปี 9 เดือน อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน 1.087 เท่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ 204,028 บาท และมีอัตราผลตอบแทนภายในโครงการ 23.38% และร้านขนาดใหญ่ใช้เงินลงทุน 780,252 บาท มีระยะเวลาคืนทุน 2 ปี 10 เดือนอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน 1.081 เท่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ 258,354 บาท และมีอัตราผลตอบแทนภายในโครงการ 22.62% เนื่องจากโครงการทั้ง 3 ขนาดผ่านเกณฑ์การยอมรับทั้งหมด ดังนั้้นโครงการธุรกิจร้านให้บริการอินเทอร์เน็ต ในย่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา จึงมีความเป็นเป็นไปได้ทั้ง 3 ขนาด แต่หากทำการวิเคราะห์ความไวของโครงการ ด้วยตัวแปรรายได้และค่าใช้จ่าย เพียงแค่การเปลี่ยนแปลงของรายได้ลดลงและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 5% มีผลทำให้โครงการทั้ง 3 ขนาด ไม่สามารถยอมรับได้ ซึ่งแสดงว่าโครงการทั้ง 3 ขนาด มีความไวต่อตัวแปรรายได้และค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าพื้นที่ย่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา ยังมีโอกาสในการลงทุนธุรกิจร้านให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ แต่ผู้ที่สนใจจะลงทุนในโครงการลักษณะนี้ จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยตัวแปรด้านอื่นๆ หลายๆ ด้าน เข้ามาประกอบการพิจารณา วิเคราะห์ และตัดสินใจen
dc.language.isothen
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.subjectไซเบอร์คาเฟen
dc.subjectCybercafesen
dc.subjectการศึกษาความเป็นไปได้en
dc.subjectFeasibility studiesen
dc.subjectการบริหารโครงการen
dc.subjectProject managementen
dc.subjectการลงทุนen
dc.subjectInvestmentsen
dc.subjectการวิเคราะห์การลงทุนen
dc.subjectInvestment analysisen
dc.titleโอกาสในการลงทุนธุรกิจร้านให้บริการอินเทอร์เน็ตในย่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนาen
dc.title.alternativeInvesment Opportunities of Internet Cafe' Business in the Ramkhamhaeng University Bangna Branch Districten
dc.typeIndependent Studiesen
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการจัดการอุตสาหกรรมen
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Investment-Opportunities-of-Internet-Cafe.pdf
  Restricted Access
15.08 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.