Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/331
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัชนี นามจันทรา-
dc.contributor.advisorปิ่นหทัย ศุภเมธาพร-
dc.contributor.advisorRachanee Namjuntra-
dc.contributor.advisorPinhatai Supametaporn-
dc.contributor.authorจุฑารัตน์ ภาตะนันท์-
dc.contributor.authorChutharat Patanan-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.date.accessioned2022-05-28T16:22:56Z-
dc.date.available2022-05-28T16:22:56Z-
dc.date.issued2011-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/331-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2554th
dc.description.abstractความดันโลหิตสูงเป็นภาวะเจ็บป่วยที่เรื้อรังและไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยมีความสำคัญอย่างมากต่อการควบคุมภาวะของโรค แต่พบว่าผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวนมากยังไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ซึ่งสะท้อนถึงการขาดประสิทธิภาพของการพยาบาลในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองและควบคุมภาวะของโรคผู้ป่วยความดันโลหิตสูง การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลที่บ้านโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการบรรลุเป้าหมายของคิง ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควมคุมระดับความดันโลหิต กลุ่มตัวอย่างเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงจากผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต ที่มารับการรักษาที่คลินิกความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต ที่มารับการรักษาที่คลินิกความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง กลุ่มควบคุม 28 ราย ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มทดลอง 30 ราย ได้รับโปรแกรมการพยาบาลที่บ้านร่วมกับการพยาบาลแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย 1) โปรแกรมการพยาบาลที่บ้าน 2) คู่มือ "การดูแลตนเองเมื่อเป็นความดันโลหิตสูง" และ 3) เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ และ 2) แบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง 1 และ 9 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ บรรยาย และการทดสอบ ที (Independent t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated Measures ANOVA) การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ (Pairwise Comparisons) การทดสอบฟริดแมน (Friedman test) และการทดสอลแบบวิทนีย์ยู (Mann-Witney U test) ผลการศึกษา พบว่า 1. กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังการทดลอง 1 และ 9 สัปดาห์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 แต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม 2. กลุ่มทดลองมีระดับความดันซีสโตลิคหลังการทดลอง 1 และ 9 สัปดาห์ ต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .05 ตามลำดับ 3. กลุ่มทดลองมีระดับความดันซีสโตลิคหลังการทดลอง 1 สัปดาห์ ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนหลังการทดลอง 9 สัปดาห์ไม่แตกต่างกัน 4. กลุ่มทดลองมีระดับความดันไดแอสโตลิคหลังการทดลอง 1 และ 9 สัปดาห์ ต่ำกว่าการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และต่ำ กว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .05 ตามลำดับ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการพยาบาลที่บ้าน โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการบรรลุเป้าหมายของคิง ช่วยให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตมีพฤติกรรมการดูแลตนเอง และควบคุมภาวะโรคได้ดีขึ้น โปรแกรมนี้สามารถนำไปส่งเสริมการควบคุมระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมภาวะโรคต่อไปth
dc.description.abstractHypertension is a chronic and an incurable disease. Patient's self-care behaviors are essential for controlling the illness. However, it was found that a number of hypertensive patients still cannot control bloos pressure. This reflects ineffectiveness of nursing intervention for promoting self-care behaviors and the illness control in hypertensive patients. This quasi-experimental study was aimed to examine effects of a home-based care program applying King's theory of goal attainment on self-care behaviors and blood pressure in uncontrolled hypertensive patients. Samples were recruited by purposive sampling from uncontrolled hypertensive patients who attended hypertension clinic of a community hospital. Twenty eight patients in control group received usual care. Thirty patients in experimental group received the home-based care plus the usual care. Experimental instruments were composed of 1) home-based program 2) patient's manual entitled "self-care for hypertension" and 3) Sphygmomanometer. Data collection instruments were 1) demographic and health related data form and 2) self-care behaviors scale for hypertensive patients. Measurements were recorded before the intervention, and one and nine weekd after the intervention. Data were analyzed by using descriptive statistics, independent t-test, repeated measures ANOVA, pairwise comparisons, Friedman test and Mann-Whitney U-test, Findings revealed that: 1. Mean score of self-care behavior in experimental group at one week and nine weeks after the intervention at level of p<.001, but were not different from the control group. 2. Systolic blood pressure of the experimental group at one week and nine weeks after he intervention were significantly lower than that before the intervention at level of p<.001 and .05 respectively. 3. Systolic blood pressure of the experimental group at one week after the intervention were significantly lower than that of the control group at level of p<.05, but they were not different at nine weeks after the intervention. 4. Diastolic blood pressure of the experimental group at one week after the intervention were significantly lower than that of the control group at level of p<.05, but they were not different at nine weeks after the intervention. 4. Diastoolic blood pressure of the experimental group at one week and nine weeks after the intervention were significantly lower than that before the intervention at level of p<.05, and significantly lower than that of the control group at level of p<.001 and .05 respectively. This study indicated that the home-based care program applying King's theory of goal attainment can help patients with controlled hypertension to improve their self-care behaviors and control their illness. The program could be further used to control blood pressure in uncontrolled hypertensive patients.th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectความดันเลือดสูงth
dc.subjectHypertensionth
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเองth
dc.subjectSelf-care, Healthth
dc.titleผลของโปรแกรมการพยาบาลที่บ้านต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตth
dc.title.alternativeEffects of a Home-Based Care Program on Self-Care Behaviors and Blood Pressure in Uncontrolled Hypertensive Patientsth
dc.typeThesisth
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนth
Appears in Collections:Nursing - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf529.39 kBAdobe PDFView/Open
TableofContents.pdf109.56 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf227.37 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf385.52 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf205.83 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf298.12 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf190.86 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf525.53 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.