Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3323
Title: | ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการชะลอความเสื่อมถอยทางสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | Factors Predicting Health-Promoting Behaviors in Delaying Health Deterioration among the Community-Dwelling Older People in Samut Prakan Province |
Authors: | วิญญ์ทัญญู บุญทัน ธมกร อ่วมอ้อ ดิเรก ภู่แจ้ง กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม ปริศนา อัครธนพล Winthanyou Bunthan Tamakorn Aumaoe Direk Bhuchaeng Kamontip Khungtumneam Prisana Akaratanapol Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Nong Prure Subdistrict Health Promoting Hospital Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing |
Keywords: | การส่งเสริมสุขภาพ Health promotion ผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัย Older people -- Health and hygiene หนองปรือ (บางพลี) Nong Prue (Bang Phli) ความเสื่อมถอยทางสุขภาพ Health deterioration ผู้สูงอายุ -- ไทย -- สมุทรปราการ (บางพลี) Older people -- Thailand -- Samutprakarn (Bang Phli) |
Issue Date: | 2024 |
Citation: | วารสารสภาการพยาบาล 39, 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2567) : 552-563. |
Abstract: | บทนำ ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงตามกระบวนการสูงอายุปกติที่ก่อให้เกิดความเสื่อมถอยทางสุขภาพ ความเสื่อมถอยทางสุขภาพนี้แม้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่สามารถป้องกันและชะลอความเสื่อมถอยก่อนเวลาอันควรโดยการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ การศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการชะลอความเสื่อมถอยทางสุขภาพจึงมีความสำคัญในการวางแผนดูแลผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม การออกแบบวิจัย การศึกษาครั้งนี้เป็นแบบวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงทำนายวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพที่ชะลอความเสื่อมถอยของสุขภาพในผู้สูงอายุ วิธีการดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60-74 ปี จำนวน 148 คน ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ ก าหนดขนาดตัวอย่างตามหลักการของการวิเคราะห์อำนาจการทดสอบ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการชะลอความเสื่อมถอยทางสุขภาพ และพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการชะลอความเสื่อมถอยทางสุขภาพของผู้สูงอายุ ตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคเท่ากับ .86 และ .84 ตามล าดับ เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยการตอบแบบสอบถามด้วยตนเองและการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 63.51 มีอายุเฉลี่ย 66.63 ปี อายุต่ำสุด-สูงสุด = 60-74 ปี ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 75.00) และมีผู้ดูแล (ร้อยละ 73.65) ปัจจัยที่ร่วมท านายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในการชะลอความเสื่อมถอยทางสุขภาพ ได้แก่ การรับรู้ความสามารถตนเอง (β = .392, p < .01) และอิทธิพลของสถานการณ์ (β = .332, p < .01) สามารถทำนายความแปรปรวนของพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในการชะลอความเสื่อมถอยทางสุขภาพได้ร้อยละ 39.00โดยปัจจัยการรับรู้ความสามารถตนเองสามารถอธิบายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างได้สูงสุด ข้อเสนอแนะ พยาบาลและทีมสุขภาพควรส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองและอิทธิพลของสถานการณ์เพื่อนำไปสู่พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในการชะลอความเสื่อมถอยทางสุขภาพของผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น Introduction Older people experience normal changes in the aging process that lead to health deterioration. Although this health deterioration is unavoidable, it can be prevented and delayed through health-promoting behaviors. Examining factors predicting health-promoting behaviors in delaying health deterioration is therefore important to plan for the proper care of older adults. Objective : To investigate factors predicting health-promoting behaviors that delay the health deterioration in older people. Design : This study employed correlational predictive design. Methodology : The participants comprised 148 older people aged 60 to 74 years residing in Samut Prakan province. Systematic random sampling was used. The sample size was determined according to power analysis. The research instruments included questionnaires on factors affecting health-promoting behaviors, and health-promoting behavior in delaying health deterioration. The reliability was tested, obtaining Cronbach alpha coefficients of .86 and .84, respectively. The data were collected from October-December 2023 using self-administration and structured interviews. Data were then analyzed using descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis. Results The majority of participants were female (63.51%), with an average age of 66.63 years(SD = 4.74, Min-Max = 60-74). Most of them had a health problem (75.00%) and a caregiver (73.65%). Factors predicting health-promoting behaviors in delaying health deterioration included perceived self-efficacy (β = .392, p < .01) and situation influences (β = .332, p < .01) that could together predict a 39.00% variance of health-promoting behaviors in delaying health deterioration. Perceived self-efficacy could explain the participants’ highest variance of health promotion behaviors. Recommendation Nurses and the healthcare team should promote perceived self-efficacy and situational influences, increasing health-promoting behaviors and delaying health deterioration among older adults. |
Description: | สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/270015/185007 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3323 |
Appears in Collections: | Nursing - Artical Journals |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Factors-Predicting-Health-Promoting-Behaviors-in-Delaying-Health-Deterioration.pdf | 87.11 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.