Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3375
Title: ภาพสะท้อนสังคมคนจีนในนวนิยายของ เอมี่ ตัน ฉบับแปลภาษาไทย
Other Titles: Reflections of Chinese Society in the Translated Novels Into Thai of Amy Tan
Authors: พัชรินทร์ บูรณะกร
Patcharin Buranakorn
Lei Lan
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Keywords: วัฒนธรรมจีน
Chinese culture
การวิเคราะห์เนื้อหา
Content analysis (Communication)
ชาวจีนในต่างประเทศ
Chinese in foreign countries
ชาวจีน -- ความเป็นอยู่และประเพณี
Chinese -- Lifestyle and Traditions
Issue Date: 2024
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สังคมคนจีนในนวนิยายของ เอมี่ ตัน ฉบับแปลภาษาไทย และเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาสังคมคนจีนในนวนิยายของ เอมี่ ตัน ฉบับแปลภาษาไทย โดยศึกษาจากนวนิยายของ เอมี่ ตัน ฉบับแปลภาษาไทย จํานวน 4 เล่ม ได้แก่ มาจากสองฝั่งฟ้า เมียเจ้า สามสายใยในเงาอตีดและหนึ่งร้อยสัมผัสลับผลการวิจัยพบว่า ภาพสะท้อนสังคมคนจีนที่ปรากฏในนวนิยายของ เอมี่ ตัน ฉบับแปลภาษาไทยมีสองส่วนหนึ่ง ภาพสะท้อนสังคมจีนในสหรัฐอเมริกา (ชาวอเมริกันเชื้อสายจีน) สองภาพสะท้อนสังคมคนจีนในสาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งสองส่วนได้สะท้อนให้เห็นภาพ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ภาพสะท้อนด้านสภาพชีวิตความเป็นอยู่ในสหรัฐอเมริกา ชาวจีนจะอาศัยที่อยู่คอนโดหรือพาร์ตเม้นต์ คนจีนในสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่อาศัยจะมีสองแบบบ้านของคนรํ่ารวยและบ้านของคนยากจน 2) ภาพสะท้อนด้านความเชื่อ ชาวอเมริกาเชื้อสายจีนกับชาวจีนมีความเชื่อบางเรื่องเหมือนกัน เช่น ความเรื่องผีหรือปีศาจ ความเชื่อเรื่องโชคชะตา เป็นต้น แต่ความเชื่อที่เหมือนชาวจีนของชาวอเมริกาเชื้อสายจีนที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา เป็นความเชื่อที่ไม่ใช่เชื่ออย่างสิ้นเชิง แต่เชื่อบางเรื่องและมีคําถามต่อความเชื่อเหล่านี้ตลอด ความเชื่อของชาวจีนในสังคมจีนสาธารณรัฐประชาชนจีนปลูกฝังตั้งแต่เล็ก จึงทําให้ไม่เคยตั้งคําถามต่อความเชื่อที่โดยเชื่อกันมา 3) ภาพสะท้อนด้านขนบธรรมประเพณี ชาวจีนในสหรัฐอเมริกากับชาวจีนในสาธารณรัฐประชาชนจีนจะดําเนินกิจกรรมตามประเพณีของชาวจีน เช่น ประเพณีแต่งงาน ประเพณีวันตรุษจีน เป็นต้น ชาวจีนในสหรัฐอเมริกาจะปฏิบัติแบบผสมผสาน มีส่วนที่เป็นวัฒนธรรมอเมริกา และมีส่วนหนึ่งยังคงเป็นวัฒนธรรมของจีน ชาวจีนในสาธารณรัฐประชาชนจีน ปฏิบัติกิจกรรมของประเพณีจะเป็นแบบจีนแท้ ๆนวนิยายของ เอมี่ ตัน ฉบับแปลภาษาไทยสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาสังคมจีนในสหรัฐอเมริกาของชาวอเมริกันเชื้อสายจีน และสังคมจีนในสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้แก่ ปัญหาด้านครอบครัวในสหรัฐอเมริกา พ่อแม่เป็นชาวจีนแต่ลูกเป็นชาวอเมริกาเชื้อสายจีน ความคิดของพ่อแม่ยังเป็นแบบจีน แต่ลูกได้รับวัฒนธรรมอเมริกา หลาย ๆ เรื่องมีความคิดเห็นไม่เหมือนกัน ชาวจีนในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามค่านิยมลูกหลานต้องเชื่อฟังคําพูดของผู้ใหญ่ ลูกหลานไม่สามารถเลือกชีวิตของตนเองได้ ชาวจีนในสหรัฐอเมริกาแก้ไขโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แต่ชาวจีนในสาธารณรัฐประชาชนจีนจะยอมตาม ปัญหาด้านชีวิตความเป็นอยู่ สังคมอเมริกาเป็นสังคมที่ให้ความสําคัญกับอิสระ จึงทําให้สังคมมีความไม่ปลอดภัยแฝงอยู่ตลอด ส่วนสังคมในสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นช่วงที่มีสงคราม ประชาชนใช้ชีวิตอย่างเดือดร้อน ปัญหานี้ในสังคมอเมริกา ไม่ได้พบเห็นแนวทางแก้ไขปัญหานี้ ในสาธารณรัฐประชาชนจีน แก้ไขปัญหานี้โดยความร่วมมือของประชาชนกับรัฐบาล ปัญหาด้านวัฒนธรรม ในสหรัฐอเมริกา ชาวจีนได้รับวัฒนธรรมสองแบบ ส่วนที่เข้ากับวัฒนธรรมจีนไม่ได้จะทําให้มีความขัดแย้งเกิดขึ้น แก้ไขโดยการปฏิบัติวัฒนธรรมแบบผสมผสาน ชาวจีนในสาธารณรัฐประชาชนจีนมีแต่วัฒนธรรมจีนอย่างเดียว จึงไม่มีปัญหาด้านนี้ สังคมคนจีนในสาธารณรัฐประชาชนจีนพัฒนาช้ากว่าสังคมคนจีนในสหรัฐอเมริกา สังคมจีนในสาธารณรัฐประชาชนจีนยังมีปัญหาด้านการศึกษา ปัญหาด้านสุขภาพ และปัญหาสิ่งแวดล้อม
This research aims to analyze Chinese society, its problems and resolutions, in the novelsof Amy Tan, translated Thai version. Four novels are studied, including The Joy Luck Club (1994); The Kitchen God’s Wife (2004); The Bonesetter’s Daughter (2004); and The Hundred Secret Sense(2007). The research finds reflections of Chinese society in two contexts, the American-Chinesesociety and the native Chinese society, in the studied novels. In both contexts, three aspects areshown as the following. 1) Residence, American-Chinese people in the USA live in condominiumsor apartments, while native Chinese in China live in houses ethnic for rich or for the poor. 2)Beliefs, Chinese people in both American and Chinese contexts have similar beliefs, such as aboutspirits or ghosts; and in destiny. For the American-Chinese people, they optionally believe andselectively question these beliefs, while the Chinese people in the motherland have beensocialized about these beliefs since their early ages and conform without questions.3) Traditions,especially about the wedding and the Chinese New Year, the American-Chinese would performmixed traditions of American and Chinese, while in China the Chinese people practice theiroriginal traditions.For social problems and solutions, three aspects are observed, including 1) familyproblem, in the American context the parents are traditional Chinese while their children areAmerican-Chinese. When any problems occur, the two generations would have discussions. Inthe motherland context, Chinese children are taught to be obedient, so they have to conform totheir parents. 2) The living, in the American context where independence is promoted,
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2567.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3375
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
MS.LEI LAN.pdf
  Restricted Access
2.23 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.