Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3378
Title: การศึกษาเปรียบเทียบนิทานพื้นบ้านภาคใต้ของไทยกับนิทานพื้นบ้านชนเผ่าหลีของจีน
Other Titles: A Comparative Study of Southern Thai Folktales and Folktales of Chinese Li Tribe
Authors: วีรวัฒน์ อินทรพร
Weerawat Intaraporn
Zhao Peng
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Keywords: วรรณกรรมจีน
Chinese literature
นิทานพื้นเมือง -- จีน
Folktales -- Chinese
นิทานพื้นเมือง -- ไทย(ภาคใต้)
Folk tales -- Thai (southern region)
Issue Date: 2024
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตลักษณ์ท้องถิ่นในนิทานพื้นบ้านภาคใต้ของไทยและนิทานพื้นบ้านชนเผ่าหลีของจีน โดยคัดเลือกจากนิทานพื้นบ้านภาคใต้ของไทยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่จํานวน 146 เรื่อง และนิทานพื้นบ้านชนเผ่าหลีของจีนที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่จํานวน 119 เรื่อง รวมเป็นจํานวนทั้งสิ้น 265 เรื่องผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ท้องถิ่นนิทานพื้นบ้านภาคใต้ของไทยและชนเผ่าหลีของจีนมีความคล้ายคลึงกันทั้งหมด 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านวิถีชีวิต โดยทั้งสองชนชาติอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์คล้ายคลึงกัน อาศัยอยู่บริเวณภูเขา ประกอบอาชีพหาของป่า ล่าสัตว์การประมง เป็นต้น 2) ด้านประเพณีและความเชื่อ ทั้งสองชนชาติเชื่อเรื่องเทพยดาและสิ่งเหนือธรรมชาติ 3) ด้านการใช้สมุนไพร ชาวไทยภาคใต้และชนเผ่าหลีของจีนมีการนําสมุนไพรมาใช้ในการล่าสัตว์ 4) ด้านค่านิยม ทั้งสองชนชาติมีค่านิยมความกล้าหาญ ไม่ยอมถูกเอาเปรียบ 5) ด้านการบันทึกความเป็นมาของชุมชน มีการตั้งชื่อสถานที่ตามเหตุการณ์หรือบุคคลสําคัญ และ 6) ด้านภูมิปัญญา ทั้งสองชนชาติมีการถ่ายทอดวัฒนธรรมมาสู่การร่ายรําที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชนชาติอัตลักษณ์ท้องถิ่นในนิทานพื้นบ้านภาคใต้ของไทยและชนเผ่าหลีของจีนมีความแตกต่างกันทั้งหมด 10 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านวิถีชีวิต ชาวไทยภาคใต้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งทะเล ส่วนชนเผ่าหลีของจีนอาศัยอยู่ในกระท่อมรูปทรงเรือ มีการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ และการปลูกข้าวซานหลาน2) ด้านประเพณีและความเชื่อ ชาวไทยภาคใต้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ขณะที่ชนเผ่าหลีของจีนมีประเพณีรอยสัก การร้องเพลงและเทศกาลแห่งความรัก 3) ด้านการใช้สมุนไพร ชนเผ่าหลีของจีนใช้สมุนไพรเพื่อรักษาโรคและอาการบาดเจ็บ 4) ด้านภูมิปัญญา ชนเผ่าหลีได้มีการสร้างเครื่องดนตรีขึ้นจากวิถีชีวิตของคนในชนเผ่า 5) ด้านการละเล่น นิทานพื้นบ้านภาคใต้ของไทยกล่าวถึงการเล่นจาโต(หมากรุก) ที่มีมาแต่โบราณ 6) ด้านการติดต่อกับต่างชาติ ภาคใต้ของไทยตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายูที่มีพ่อค้าจากตะวันตกและตะวันออกเดินทางมาค้าขาย ทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าและวัฒนธรรมมากมาย 7) ด้านการเจรจา ชาวไทยภาคใต้มีทักษะการเจรจาที่ดีเลิศ เนื่องจากอาศัยอยู่ในพื้นที่พหุวัฒนธรรม จึงได้สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้คนจํานวนมาก 8) ด้านคติและคําสอน นิทานพื้นบ้านภาคใต้ของไทยกล่าวถึงคติคําสอนที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ 9) ด้านการให้เกียรติผู้หญิงเป็นผู้นํา ประธานในพิธีกรรมรอยสักของชนเผ่าหลี จะเป็นผู้หญิงอาวุโสที่ได้รับการนับถือจากคนในหมู่บ้าน 10) ด้านอํานาจของสังคมผู้หญิงในครอบครัว ชนเผ่าหลีให้ความสําคัญกับอํานาจของผู้หญิงในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นแม่ แม่เลี้ยงหรือพี่สะใภ้ซึ่งแตกต่างจากวัฒนธรรมของที่อื่น การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่านิทานพื้นบ้านเป็นข้อมูลทางคติชนที่แสดงให้เห็นอัตลักษณ์ของชุมชน ซึ่งมีทั้งความคล้ายคลึงและความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทั้งทางภูมิศาสตร์และทางวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน
This research aims to comparative analyze local identities in southern Thai folktales and folktales of the Chinese Li tribe. 265 published folktales, 146 Thai and119 Chinese, are selected to study.The research finds six common areas of both nations folktales, as the following. 1) Ways of life, the similar geography and nature where people of the two nations living cause them to dwell alongside mountains and perform careers of, suchas finding wild things; hunting; fishery; and so on. 2) Traditions and beliefs, both people of the two nations believe in fairies and gods, and the supernatural. 3) Using of herbs, both southern Thai people and the Chinese Li tribal use herbs in hunting. 4) Values, people of the two nations promote bravery and are against exploitation. 5) Origin of names of communities and places, both nations tell origin of names borrowing from important events or persons. 6) Wisdom, the two nations reflect their cultures in their unique traditional dances.For local identities, ten uncommon areas are found in the two nations folktales studied, as the following. 1) Local lives, most of southern Thai folks dwell along beaches, while the Chinese Li tribal lives in boat-shaped cabins; dresses their outstanding costume; and farms their geographical indication (GI) San-lan Rice. 2) Faith and traditions, Thai southerners are strongly faithful in Buddhism, while the Litribal people practice tattooing; singing songs; and celebrating the love festival. 3) Herbal treatment, the Li tribal possesses the wisdom of using herbs in healing wounds and curing diseases. 4) Creativity, by ways of life of the Li tribal some music instruments had been created. 5) Recreational game, southern Thai folktales relate about the ancient game of Ja-to, a type of chess. 6) Foreign affairs, the southern of Thailand located on the Malay Peninsula where traders from the East and the West have met, so varieties of goods and cultures are exchanged, and Thai folktales recorded. 7) Negotiation, Thai folktales reflect the good skill of negotiation of Thai southerners who live in the multi-cultural society and are keen in creating relationships with people. 8) Morals and teachings, most of southern Thai folktales present ancient morals and teachings. 9) Matriarchal leaders, in the tradition oftattooing of the Li tribe, the senior matriarch would preside. 10) Feminism, women,namely mother; step-mother; and elder sister-in-law, are important and receive high respect in the society of Chinese Li tribe, outstandingly different from other cultures. By this study, it clearly shows that folktales are good source of folklore reflecting clear identities of communities in any context of geography or culture.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2567.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3378
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
MR.ZHAO PENG.pdf
  Restricted Access
4.58 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.