Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3379
Title: | ภาพสะท้อนคนชายขอบในนวนิยายไทย พ.ศ. 2540-2565 |
Other Titles: | Reflections of The Marginalized in Thai Novels, from 1997 to 2022 |
Authors: | พัชรินทร์ บูรณะกร Patcharin Buranakorn Xu Zhilan Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts |
Keywords: | นวนิยายไทย Thai fiction คนชายขอบ Marginality, Social การวิเคราะห์เนื้อหา Content analysis (Communication) คนชายขอบ -- ไทย Marginalized people -- Thai |
Issue Date: | 2024 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง ภาพสะท้อนคนชายขอบในนวนิยายไทย พ.ศ. 2540-2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนคนชายขอบในนวนิยายไทย พ.ศ. 2540-2565 เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาของคนชายขอบในนวนิยายไทย พ.ศ. 2540-2565 และเพื่อศึกษากลวิธีการนำเสนอภาพสะท้อน ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาของคนชายขอบในนวนิยายไทย พ.ศ. 2540-2565 โดยศึกษาวิเคราะห์นวนิยายที่เกี่ยวกับคนชายขอบในร้านหนังสือออนไลน์ซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ จำนวน 11 เรื่อง ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพตามกรอบแนวคิดภาพสะท้อนปัญหาสังคม กลวิธีการนำเสนอและแนวคิดเกี่ยวกับคนชายขอบ วิเคราะห์ตัวบทวรรณกรรมโดยพิจารณาจากความหมายของคำประพันธ์ และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า นวนิยายไทยนำเสนอภาพสะท้อนด้านสถานภาพ ชีวิตความเป็นอยู่คุณธรรม และสิทธิมนุษยชนของคนชายขอบ สื่อให้เห็นภาพคนชายขอบในบริบทสังคมผ่านสถานภาพของนักโทษ ชาวนา ผู้ป่วยจิตเวช โสเภณี และเด็กบ้านแตก ภาพคนชายขอบในบริบทภูมิศาสตร์และชาติพันธุ์ผ่านสถานภาพของผู้ไร้สัญชาติ ชาวผู้ไท ชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ชาวเวียดนามอพยพ และชาวปาเกอะญอ และภาพคนชายขอบในบริบทเศรษฐกิจผ่านสถานภาพของชาวอีสานพลัดถิ่น และลูกเรือประมง ด้านชีวิตความเป็นอยู่ พบว่า คนชายขอบพักอาศัยอยู่ในบ้านที่มีสภาพทรุดโทรม ไม่ถูกสุขลักษณะ มีพื้นที่จำกัด มีปัญหาเรื่องอาหารการกินไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการศึกษา คนชายขอบพยายามใช้ชีวิต มีความคิดเชิงบวก ด้านคุณธรรมจริยธรรม พบว่า คนชายขอบขยันหมั่นเพียร จิตใจเข้มแข็ง รับผิดชอบต่อหน้าที่การงานของตนเองมีจิตใจเสียสละ ไม่เอาเปรียบผู้อื่น มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ด้านสิทธิมนุษยชน พบว่า คนชายขอบถูกละเมิดสิทธิทางเศรษฐกิจ สิทธิแรงงาน สิทธิทางเพศ สิทธิในชีวิตและร่างกาย สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีในศาลอย่างยุติธรรม สิทธิที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันสิทธิมนุษยชนในเรื่องเชื้อชาติ สิทธิทางการศึกษา สิทธิการเดินทาง มีการเรียกร้องสิทธิทางเศรษฐกิจสิทธิเรื่องอาหาร สิทธิที่จะได้รับสัญชาติไทย ได้รับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในเรื่องอาหารและสุขภาพ สิทธิในที่อยู่อาศัย สิทธิที่จะได้รับการรักษาทางแพทย์ สิทธิและเสรีภาพของคนชายขอบให้มีความเสมอภาคกัน และสิทธิทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังพบภาพสะท้อนเฉพาะกลุ่มคนชายขอบในบริบทสังคมในด้านความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว และกระบวนการกลายเป็นคนชายขอบพบภาพสะท้อนเฉพาะกลุ่มคนชายขอบในบริบทภูมิศาสตร์และชาติพันธุ์ในด้านวัฒนธรรมและคุณธรรม พบภาพสะท้อนเฉพาะกลุ่มคนชายขอบในบริบทเศรษฐกิจในด้านลักษณะงานอาชีพและแนวคิดในการทำงานปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาของคนชายขอบในนวนิยายไทย พ.ศ. 2540-2565 พบว่านวนิยายไทยสะท้อนปัญหาทั่วไปของคนชายขอบกลุ่มต่าง ๆ จำนวน 9 ด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านที่อยู่อาศัย ปัญหาเรื่องอาหารการกิน ปัญหาการศึกษา ปัญหาถูกกีดกัน ปัญหาการข่มขู่ ปัญหาความรุนแรงทางร่างกาย ปัญหาความรุนแรงทางจิตใจ ปัญหาความไม่เป็นธรรม และปัญหาความยากจน นอกจากนี้ ยังพบปัญหาเฉพาะกลุ่มคนชายขอบในบริบทสังคมใน 2 ด้าน คือ ปัญหาครอบครัว และปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาเฉพาะกลุ่มคนชายขอบในบริบทภูมิศาสตร์และชาติพันธุ์พบ 3 ด้าน คือ ปัญหาไร้สัญชาติ ปัญหาความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ ปัญหาการพนัน และปัญหาเฉพาะกลุ่มคนชายขอบในบริบทเศรษฐกิจ พบมี 4 ด้าน คือ ปัญหาในการเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขปัญหาความปลอดภัยในการทำงาน ปัญหาค่าแรง และปัญหาการเดินทาง ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหาของคนชายขอบ พบว่า นวนิยายไทยนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องอาหารการกิน แนวทางแก้ไขปัญหาการศึกษา แนวทางแก้ไขปัญหาถูกกีดกัน แนวทางแก้ไขปัญหาความรุนแรงทางร่างกายและจิตใจ แนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ แนวทางแก้ไขปัญหาการเลี้ยงดูเด็กบ้านแตก แนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต แนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ และแนวทางแก้ไขปัญหาการพนันของคนชายขอบกลวิธีการนำเสนอภาพสะท้อน ปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาของคนชายขอบในนวนิยายไทย พ.ศ. 2540-2565 พบว่ามีวิธีการนำเสนอใน 5 องค์ประกอบทางวรรณกรรม ได้แก่โครงเรื่อง แก่นเรื่อง ตัวละคร บทสนทนา ฉากและสถานที่ ผู้เขียนสร้างโครงเรื่องโดยกำหนดให้ตัวละครสำคัญ มีสถานภาพเป็นคนชายขอบ มีการดำเนินเรื่องให้ตัวละครชายขอบประสบปัญหาต่าง ๆ ผู้เขียนนำเสนอแก่นเรื่องที่มีจุดประสงค์เพื่อสลายอคติทางชาติพันธุ์ ชักชวนให้ตระหนักในความเสมอภาคของความเป็นมนุษย์ และเพื่อนำเสนอแนวทางแก้ไขความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ของคนชายขอบ นำเสนอสถานภาพ อารมณ์ความรู้สึก ความคิด และการกระทำของตัวละครที่เป็นชายขอบกับตัวละครที่ไม่ได้เป็นคนชายขอบ ถ่ายทอดให้เห็นลักษณะของคนชายขอบว่า ใช้ชีวิตยากลำบาก อยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางทั้งในทางสังคม เศรษฐกิจ ชาติพันธุ์ และภูมิศาสตร์และนำเสนอภาพคนชายขอบผ่านบทสนทนาของตัวละครชายขอบกับตัวละครที่ไม่ได้เป็นคนชายขอบบทสนทนาระหว่างตัวละครที่ไม่ได้เป็นคนชายขอบ และบทสนทนาระหว่างตัวละครชายขอบ นำเสนอฉากที่เป็นสถานที่ และฉากที่เป็นวิถีชีวิตและสภาพสังคม แสดงให้เห็นว่า คนชายขอบอาศัยอยู่ในพื้นที่กันดาร ห่างไกลความเจริญ พักอาศัยอยู่ในบ้านที่ทรุดโทรม การดำรงชีวิตยากลำบาก ประสบปัญหาต่าง ๆ This research aims to analyze reflections of problems and solutions of the marginalized in eleven Thai novels, online-published by SE-ED Book Center during 1997– 2022. Presenting techniques of the problems and solutions are also the focus. Research methodologies include the qualitative study according to studies of concepts of reflection; social problems; presentation techniques; perceptions of the marginalized; and textual analysis focusing on the semantic. Research findings are reported as a descriptive analysis.The research finds 4 major reflections of the marginalized as the following. 1) Status, in social context, namely convicts; farmers; psychotic patients; prostitutes; broken-home children; in geographical and ethnical contexts, namely stateless people; Phu Thai people; Buddhist and Islamic people in three Southern border provinces of Thailand; Vietnamese immigrants; Pakakayo tribal; and in economical context, namely Thai Eastern diaspora; and fishing crews. 2) Living, showing poor, unhealthy and limited space of dwelling places; food insufficiency; lacking of education; struggling life; and positive thoughts. 3) Moral, presenting positive characteristics of the marginalized including hard-working; strong-minded; responsible for duties; sacrificing; unselfish; and generous. 4) Human rights, various rights of the marginalized are infringed, regardingeconomy; labor; sex; life and body; getting justice inquest; legal equality; nationality; education; and transportation. Calls for rights of the marginalized are also found, relating to economy; food; getting Thai nationality; human rights protection on food,health, residences, getting public health services, equality rights and freedom, and economical rights. Additional three aspects of reflections of the marginalized are also found, including in social context about relations between family members, and processes of becoming the marginalized; in geographical and ethnical contexts about culture and moral; and in economical context about careers and ideas of working.For problems and solutions of the marginalized in the novels studied, four aspects of problems are stated as the following. 1) General problem, nine areas are found including residences; food; education; discrimination; intimidation; physical and mental violence; injustice; and poverty. 2) Social problem, relating to family and mental health. 3) Geographical and ethnical problem, namely statelessness; ethnicalconflicts; and gambling. 4) Economical problem, relating to no rights of getting public health services; low wage with no security; and transportation. Regarding the solutions, nine proposals are observed, including food; education; discrimination; physical and mental violence; economy; raising of broken-home children; mental health; ethnical conflicts; and gambling.For presenting techniques of reflections of problem and resolution in the studied novels, five literary elements are used as the medium, including plot; theme; character; dialogue; and setting. 1) Plot, based on troublesome lives of the marginalized. 2) Theme, including breaking up ethnical biases; creating awareness of human equality; and proposing solutions for ethnical conflicts. 3) Character, presenting protagonists as the marginalized, revealing their feelings; ideas; and conducts comparatively to ordinary characters; and reflecting lives of the marginalized as the sufferers, living remotely in economical and geographical insufficiency. 4) Dialogue, presenting conversations of the marginalized with ordinary persons; of the ordinary people; and between the marginalized. 5) Setting, including places; livings; and the social context, presenting shabby residences in remote areas; suffering and difficultlivings. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2567. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3379 |
Appears in Collections: | Liberal Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
XU ZHILAN.pdf Restricted Access | 3.75 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.