Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3381
Title: การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม : กรณีศึกษางานวิเทศสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติกับสถาบันอุดมศึกษาในสาธารณรัฐประชาชนจีน
Other Titles: Cross - Cultural Communication : A Case Study of Republic Relations Between Huachiew Chalermprakiet University and Universities in People's Republic of china
Authors: พัชรินทร์ บูรณะกร
Patcharin Buranakorn
Jiang Nannan
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Keywords: วัฒนธรรมจีน
Chinese culture
การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
Intercultural communication.
ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม
Issue Date: 2024
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมและกลวิธีการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม และเพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของงานวิเทศสัมพันธ์ในสถานการณ์ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติกับสถาบันอุดมศึกษาในสาธารณรัฐประชาชนจีน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ คัดเลือกกลุ่มให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านวิเทศสัมพันธ์จำนวนทั้งหมด 24 คน จากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 5 คน และจากสถาบันอุดมศึกษาในสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 11 แห่ง จำนวน 19 คนโดยใช้เครื่องมือวิจัยด้วยการตั้งคำถามแนวทางการสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์ผลการวิจัยพบว่า ด้านองค์ประกอบของการสื่อสารมี 4 ประเด็น 1) ในฐานะผู้ส่งสารสามารถสื่อสารภาษาเดียวกันกับอีกฝ่ายเป็นภาษาจีนหรือไทย เข้าใจเรื่องเขตเวลา ระบบการศึกษาที่ต่างกัน 2) เนื้อหาของสาร มีสารที่เป็นข้อเท็จจริง คือข้อมูลที่ถูกต้องตามจริง และสารที่เป็นข้อคิดเห็น 3) สื่อ มีช่องทาง E-mail เน้นรับส่งไฟล์เอกสาร ช่องทาง application การสื่อสาร อย่าง Wechatเน้นสื่อสารแบบทันทีทันใด ช่องทางโทรศัพท์ทางไกล ช่องทางการส่งเอกสารทางไปรษณีย์ และพบหน้ากันจริง 4) ในฐานะผู้รับสาร มีการเรียนรู้ภาษาต่างวัฒนธรรม และกระตือรือร้นกับข้อมูลที่ได้รับ ด้านการใช้วัจนภาษามี 3 ประเด็น คือ 1) การใช้คำศัพท์เฉพาะงานวิเทศสัมพันธ์ เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในวงการการศึกษาและเกี่ยวข้องกับงานต่างประเทศ 2) การใช้คำเรียกชื่อหรือการใช้สรรพนาม ควรให้ความสำคัญเรื่องตำแหน่งงาน ตำแหน่งทางวิชาการหรือวุฒิการศึกษา และ 3) ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเป็นภาษาจีนกับภาษาไทยเป็นหลัก และมีเอกสารบางส่วนเป็นภาษาอังกฤษ ด้านการใช้อวัจนภาษามี 6 ประเด็น 1) มารยาทการทักทาย มีการแนะนำตัวตามลำดับ แลกนามบัตร ไหว้ จับมือ และพยักหน้าเบา ๆ 2) การแต่งกายควรสุภาพเป็นทางการ 3) การใช้สีหน้าที่เหมาะกับสถานการณ์ 4) การจัดที่นั่งในที่ประชุมฝ่ายไทยนิยมให้ประธานนั่งหัวโต๊ะ ฝ่ายจีนนิยมให้ประธานนั่งกลางโต๊ะและหันหน้าชนกัน 5) การใช้สัญลักษณ์ ให้ความสำคัญกับการใช้ชื่อและโลโก้ประจำสถาบัน และ 6) ของที่ระลึกมักเลือกของที่แสดงถึงความเป็นสถาบัน เมือง หรือประเทศชาติด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม พบว่า คู่สื่อสารข้ามวัฒนธรรมมีวัฒนธรรมที่เหมือนกันเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม ได้แก่ มีพื้นที่ของการสื่อสารในระยะใกล้ชิด วางตัวเป็นกันเองไม่เน้นพิธีการ และระยะส่วนตัว ให้ความสำคัญเรื่องสานสัมพันธ์กับผู้ที่รู้จัก เว้นระยะห่างพอเหมาะเป็นการแสดงความเคารพ มีวัฒนธรรมทั้งแบบเน้นงานและเน้นสัมพันธภาพ สามารถสื่อสารเพียงเรื่องงาน ในขณะเดียวกันก็มีเจตนาในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีเพื่อสะดวกในการสื่อสารครั้งต่อไป มีวัฒนธรรมแบบระยะห่างของอำนาจสูง ผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่าจะมีอำนาจในการตัดสิน และระยะห่างของอำนาจต่ำ เปิดโอกาสให้ผู้น้อยแสดงความคิดเห็น มีวัฒนธรรมแบบเป็นทางการ เคารพและให้เกียรติผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่า และแบบไม่เป็นทางการ เรียบง่ายไม่ถือตัวกัน มีวัฒนธรรมแบบการคำนึงถึงสังคมส่วนรวม ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าของส่วนตัว มีวัฒนธรรมแบบหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนต่ำ เข้าใจและให้อภัยกับการเปลี่ยนแปลงโดยไม่แสดงออกทางอารมณ์ ไม่ยึดติดกับกฎระเบียบมากเกิน มีวัฒนธรรมมองเวลาแบบเชิงเดี่ยว มุ่งทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้สำเร็จจึงทำเรื่องอื่น และมองเวลาแบบเชิงซ้อนดำเนินการหลายเรื่องพร้อมกันในเวลาเดียวกัน มีวัฒนธรรมการกำหนดแผนระยะยาวและระยะสั้นไปพร้อมกัน ในขณะเดียวกัน มีวัฒนธรรมแบบความเคร่งครัดเรื่องเวลากับแบบยืดหยุ่นเรื่องเวลาด้านปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ควรให้ความสำคัญพบว่า ในฐานะผู้ส่งสารหรือผู้รับสารมีปัญหาด้านการใช้ภาษา การเข้าใจเนื้อหาข้อมูลที่จะถ่ายทอดไม่เพียงพอ ควรเรียนรู้ทั้งภาษาและเนื้องานเพิ่มเพื่อมีความชัดเจนในการสื่อสาร มีปัญหาด้านช่องทางการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม ควรมีไหวพริบในการเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ มีปัญหาด้านการใช้วัจนภาษา คือปัญหาการเข้าใจคำศัพท์เฉพาะของงานวิเทศสัมพันธ์และการใช้สรรพนามที่ไม่ตรงกัน และมีปัญหาด้านการใช้อวัจนภาษาคือ ปัญหาค่านิยมด้านการแต่งกายและการจัดที่นั่งในที่ประชุมที่ต่างกัน ควรศึกษาวัฒนธรรม เข้าใจค่านิยมของอีกฝ่ายเพิ่ม เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันและปฏิบัติตามธรรมเนียมของอีกฝ่าย มีปัญหาแนวคิดเรื่องเวลา คือมีการมองข้ามระบบเวลาที่ต่างกันระหว่างการสื่อสาร และปัญหาความคิดต่างที่มีต่อวัฒนธรรมแบบเน้นงานกับสัมพันธภาพ ทำให้ประสิทธิภาพในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมลดลงคู่สื่อสารข้ามวัฒนธรรมจึงควรศึกษาวัฒนธรรมของอีกฝ่าย ทำความเข้าใจกับความแตกต่าง และปรับตัวเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมประสบความสำเร็จ
This qualitative research aims to analyze elements of and language usage techniques for cross-cultural communication, focusing on successful factors of and problems and solutions in cross-cultural communication for international affairs between Huachiew Chalermprakiet University (HCU) in Thailand and higher educational institutes in People's Republic of China (PRC). Twenty-four informants working on international affairs are purposively selected, including five officers from HCU and nineteen officers from eleven higher educational institutes in PRC academic cooperating with HCU. Research devices include interview questionnaires and observations. Research findings, regarding elements of cross-cultural communication, four factorsare observed as the following. 1) Message sender, requiring efficiency of Chinese and Thai languages; understanding of time zone; and comprehension of different educational systems. 2) Messages, comprising of both facts and opinions. 3) Mediums, composing of many channels including e-mail; communication applications, like WeChat; oversea telephoning; post sending; and face to face meeting. 4) Message receiver, requiring knowledge of foreign language; and curiosity of message received. Regarding language usage, four areas are noted, including 1) technical terms, relating to international affairs and education. 2) Using of titles, requiring notices on using of pronoun; officialtitles; and academic or educational titles. 3) Languages, principally Chinese and Thai areused, and English document is additional. 4) Using of non-verbal language, including 4.1 greeting manners namely introduction of persons, exchanging name cards, mannersof paying respect, shaking hands, and nodding; 4.2 formal dressing; 4.3 proper countenance; 4.4 seating of the chair, at the table head in Thai culture and at the middle in Chinese culture; 4.5 using of symbols, attention in names and logos of instituteis required; and 4.6 gifts, representing institutes; cities; or nations are preferred. For successful factors in cross-cultural communication, nine cultures are noted as the following. 1) Common culture, including close communication; informal contacts; personal communication; creating connections; giving personal space as showing respect. 2) Formal and friendly communication, focusing on work, yet good relationship is developed for continuing communication. 3) Top-down culture, the high rank officers make decisions, while the low rank could propose opinions. 4) Culture of seniority, senior officers arerespected, yet both formal and informal practices are applied. 5) Culture of social-oriented, public interest is prioritized. 6) Compromising culture, promoting understanding; forgiving; adaptation; unemotional expression; and flexible performances. 7) Culture of time perception,both single timeline working and complex timeline working are found. 8) Culture of long and short terms of working plans is processed. 9) Culture of punctuality and flexibility is used. Regarding problems in and solutions of cross-cultural communication, six problems are observed and solutions suggested along with as the following. 1) Language usage, basically senders and receivers lack of sufficient comprehension of language communicated. It is suggested that knowledge of languages in use and work processess hould be added. 2) Channels of communication, medium and practical talent should match with situations. 3) Using of verbal language, knowledge of related terms and differentiated pronouns should be particularly learned. 4) Using of non-verbal language, including code of dressing and positioning in the meeting should be comprehended and practice accordingly to related parties. 5) Different time zone should be noted forefficient cooperation. 6) Different working concepts, focusing on work and relationship,might affect efficiency of cross-cultural communication. Parties in communication should comprehend the difference and adapt for successful cross-cultural communication.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2567.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3381
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
MS.JIANG NANNAN.pdf
  Restricted Access
3.39 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.