Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/345
Title: ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยการให้ความรู้และข้อมูลต่อความปวดและความสามารถในการทำกิจกรรมหลังผ่าตัดของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมด
Other Titles: Effect of Empowerment by Knowledge and Information on Pain and Post-Operative Function Ability in Patients Undergoing Total Knee Replacement
Authors: กนกพร นทีธนสมบัติ
พรศิริ พันธสี
Kanokporn Nateetanasombat
Pornsiri Pantasri
สุทธาภา คูณทรัพย์ไพบูลย์
Suttapa Koonsappaiboon
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: โรคข้อเข่าเสื่อม
ข้อเข่า -- โรค
Knee -- Diseases
ความเจ็บปวดหลังศัลยกรรม
Postoperative pain
Issue Date: 2016
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยการให้ความรู้และข้อมูลต่อการลดความปวด และการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดในผู้ป่วยเปลี่ยนผิวข้อเทียมแบบทั้งหมด โดยประยุกต์แนวคิดกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจของกิ๊บสันมาใช้ในการจัดโปรแกรมฯ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การค้นพบสภาพการณ์จริง (Discovering reality) ขั้นตอนที่ 2 การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical reflection) ขั้นตอนที่ 3 การตัดสินใจและลงมือปฏิบัติ (Taking charge) และขั้นตอนที่ 4 การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ (Holding on) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม และเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมด (Total Knee Arthroplasty) จำนวนทั้งสิ้น 60 คนได้แก่ กลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน-กันยายน 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยการให้ความรู้และข้อมูลต่อการลดความปวด และการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมด ภาพพลิกเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนผ่าตัด วิดีทัศน์ เกี่ยวกับการออกกำลังกายหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมด คู่มือการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมด และแบบจำลองข้อเข่า ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินอาการปวดและติดตามเฝ้าระวังอาการปวดหลังผ่าตัด แบบบันทึกการประเมินตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมด เครื่องวัดพิสัยข้อแบบประเมิน อาการของผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม และแบบบันทึกการติดตามทางโทรศัพท์ เครื่องมือที่ใช้ได้มีการนำมาทดสอบความตรงตามเนื้อหา (Content validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผ่านการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ หลังจากนั้นนำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับผู้ป่วยผ่าตัดที่มีลักษณะคล้ายกับกลุ่มตัวอย่าง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความเที่ยงของแบบสอบถามโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค (Cronbach's Alpha Coefficient) ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ โดยใช้สถิติ Independent t-test และสถิติ Dependent t-test ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยการให้ความรู้และข้อมูลต่อการลดความปวดและการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 2) คะแนนเฉลี่ยความรู้ของผู้ป่วยที่เข้าโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยการให้ความรู้และข้อมูลต่อการลดความปวด และการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดในกลุ่มทดลอง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 3) คะแนนเฉลี่ยความรู้ของผู้ป่วยที่เข้าโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยการให้ความรู้และข้อมูลต่อการลดความปวด และการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดช่วงหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จึงสรุปได้ว่าการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ โดยการให้ความรู้และข้อมูลต่อการลดความปวด และการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดในผู้ป่วยเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมด สามารถช่วยในเรื่องของการลดความปวด และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถพิจารณาเลือกปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับตนเอง โดยมีขั้นตอนเริ่มจากการทบทวนเหตุการณ์ สถานการณ์ปัญหา การแสวงหาทางเลือกอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดความชัดเจนถึงความรู้สึกของตนเองในการดูแลภาวะสุขภาพ และเกิดความมั่นใจในการเลือกแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาทำให้ผู้ป่วยมีแนวทางในการดูแลตนเองเพื่อให้มีสมรรถภาพทางกาายดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง รู้สึกถึงความมีพลังอำนาจและมีแรงจูงใจในการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมเหล่านั้น
This research was aimes to study the effects of empowerment by providing knowledge and information program on pain release and post-operative behavior in total knee replacement. Gibson's empowerment was applied on this program, which was divided into 4 phase: 1)discovering reality 2) Critical reflection 3) Taking charge and 4) Holding on. Samples were sixty patients, who were diagnosed with osteoarthritis and admitted in the hospital between April to September 30, 2015. The samples were divided into two groups, whcih consisted of 30 samples in the experimental group and 30 samples in the control group. The research instruments were 1) empowerment program 2) Flip chart 3) VDO 4) Hand out about total knee replacement preparation 5) Model 6) Demographic data 7) Pain scale 8) Self-assessment 9) Goniometer 10) Womac scale 11) Telephone visit. Content Validity by 5 of specialist in Total Knee Replacement. Reliability of the questionnaire was tested using Cronbach's Alpha Coefficient and equal to .89. The data were analyze using mean, percentage, Independent t-test and Dependent t-test. The results revealed as following 1) Effect of empowerment by knowledge and information on pain release and post-opeative behavior in total knee replacement in experimental group higher than control group, was statistically significant at 0.05 level. 2) Compared knowledge and information on pain release and post-operative behavior in total knee replacement in experimental group higher than control group was statistically significant at 0.05 level. 3) Compared knowledge and information on pain release and post-operative behavior in total knee replacement in experimental group after experimental were higher than control group was statistically significant at 0.05 level. So effect of empowerment by providing knowledge and information program on pain release and post-operative behavior in Total Knee Replacement can help in pain Release and post-operative behavior. Patient can consider and choose the best way for post-operative behavior by start from event review, situation, seek alternative in their health care and confidence in their way. The best self-care was continued.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลผู้ใหญ่) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2559
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/345
Appears in Collections:Nursing - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SUTTAPA-KOONSAPPAIBOON.pdf
  Restricted Access
3.05 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.