Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/356
Title: กระบวนการสร้างหุ้นส่วนสุขภาพเพื่อการดูแลผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมชุมชนพิทักษ์ธรรม ตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: The Process of Health Partnership for the Elderly Osteoarthritis in Phitaktham Community Tumbon Samrongtai, Phrapadeng District, Samutprakarn Province
Authors: กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม
Kamonthip Khungtumneum
วิภาวี ชูแก้ว
Wipawee Chukaew
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: ข้อเสื่อม -- ผู้ป่วย
ผู้สูงอายุ
ชุมชนพิทักษ์ธรรม (สมุทรปราการ)
Osteoarthritis -- Patients
Older people
Issue Date: 2016
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพการดูแลผู้สูงอายุข้อเข้าเสื่อมในชุมชน กระบวนการและผลของกระบวนการ สร้างหุ้นส่วนสุขภาพเพื่อการดูแลผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม กลุ่มตัวอย่างหลัก คือ ผู้สูงอายุที่เริ่มมีอาการของข้อเข่าเสื่อมจนถึงระดับปานกลาง ชุมชนพิทักษ์ธรรม ตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 35 คน กลุ่มตัวอย่างรอง ได้แก่ ผู้ดูแล พยาบาลวิชาชีพ เจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทย ผู้นำชุมชน อสม. และบุคลากรในกองสาธารณสุขเทศบาลปู่เจ้าสมิงพราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แนวคำถาม สนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม มีความแม่นตรงเนื้อหาเท่ากับ 0.90 และมีค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สภาพการณ์ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านผู้สูงอายุ คือ อายุ อาการปวดเข่าและประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตประจำวัน ด้านผู้ดูแล คือ ความเพียงพอของรายได้ และการรับรู้ความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อมที่เกิดกับผู้สูงอายุ บทบาทของผู้เกี่ยวข้องที่อาจส่งผลต่อข้อเข่าเสื่อมมี 3 ประเด็น คือ 1) บุคลากรสุขภาพส่วนใหญ่รักษาตามอาการและให้คำแนะนำแบบทั่วๆ ไป และสนับสนุนงบประมาณยังไม่ครอบคลุม 2) บุคลากรชุมชนทราบปัญหาไม่ตรงกันกับบุคลากรสุขภาพและไม่ครบถ้วน ไม่เคยมีโครงการหรือกิจกรรมดูแลข้อเข่าเสื่อมและ อสม. ไม่มั่นใจในการให้คำแนะนำและจัดกิจกรรมในชุมชน 3) ผู้ดูแลเน้นจัดยาให้รับประทานอาหาร พาไปพบแพทย์เท่าที่มีเวลา และกระตุ้นผู้สูงอายุให้ดูแลตนเองไม่มาก กระบวนการสร้างหุ้นส่วนสุขภาพประกอบด้วย 4 ระยะ คือ 1) สร้างความเป็นหุ้นส่วนสุขภาพด้วยการประสานผู้เกี่ยวข้องกำหนดแผนงานและกิจกรรม 2) สร้างระบบรองรับการทำงานภายใต้บทบาทหลักและบทบาทรอง 3) ประเมินคุณภาพการทำงานและกิจกรรมเป็นระยะจนได้ข้อตกลงร่วมกัน 4) พัฒนาความต่อเนื่องของหุ้นส่วนด้วยการร่วมประเมินการทำงาน กิจกรรมที่เกิดขึ้น คือ ออกกำลังกายบริหารข้อเข่า ทำสมุนไพรพอกเข่า ให้ความรู้การดูแลข้อเข่าเสื่อมและติดตามเยี่ยมบ้านด้วยคู่มือดูแลข้อเข่าเสื่อม ภายหลังสร้างหุ้นส่วน พบว่า ผู้สูงอายุ มีการรับรู้เรื่องโรค และความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) พฤติกรรมดูแลข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) น้ำหนักตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อาการปวดเข่า ข้อติดขัด และความยากลำบากในการทำกิจวัตรประจำวันลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ด้านผู้ดูแล มีการรับรู้ความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) พฤติกรรมการช่วยดูแลผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การศึกษาครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะว่า ควรติดตามผลการใช้คู่มือดูแลข้อเข่าเสื่อมและประเมินความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อมอย่างต่อเนื่อง ติดตามการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นระยะ และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการสร้างหุ้นส่วนสุขภาพในชุมชน
The action research of this study was to study condition is associated with behvaioral care for elderly osteoarthritis in the community, the process and the result of health partnership for the elderly osteoarthritis. The main sample consisted of the elderly 35 people with medium level Osteoarthritis onset live in Phitaktham community Samrong Tai sub-district Phra pradaeng district, Samut Prakarn province. The second sample was of 43 people in, there included Admin, Nurses, Thai Traditional Medical officer, Commuity leaders, Village Health Volunteers and Health Personnel at Phoochao saming prai Municipality. The research instruments were interview, the questions vis focus groups and observations. The observation is a content-based accuracy equal to 0.90. The overall reliability was 0.93. The statistical procedures for data analysis were percentage, mean, standard deviation, Paired t-test and content-based. The results of the research showed the condition is associated with behavioral care for elderly osteoarthritis statistically significantly. As the elderly were age, knee pain, and efficiency in daily life. As the admin is the sufficient income and the recognize the severity of Osteoarthritis affecting the elderly. The role of stakeholders that may affect osteoarthritis has 3 issues were 1) Most health personnel should treat symptoms and give advice in general, but does not support by menetary means. 2) Health personnel know about the problem of the elderly osteoarthritis isn't synonymous with health personnel and incomplete. The community has never been a project or activity to take care of osteoarthritis and the village health volunteers do not confident in giving advice, and activities in the community. 3) Admin focused on medication, diet, doctors visits and encourage the elderly to take care of themselved, not enough. The process of health partnership of 4 terms includes: 1) to form a health partnership cooperation with stakeholders, who can discuss and focus on plans and activities 2) Create a work support system under the main role and a second role. 3) Evaluate the quality and help of activities and to be discussed. 4) To develop a continuity plan to record activity. The activities that may help to ease muscle pain ; Knee and joint exercises, Herbal wraps, Greater knowledge of what Osteoarthritis and home, explaining and helping with exerciese and handbooks to help patients. The following had occured; The patients had learnt to recognize their ailments and the statistics had increased ststistically significant (p<0.05). The behavior of knee osteoarthritis increased statistically significant (p<0.05). The body wright decreased statistically significant (p<0.05). The joint pain, joint jamming and associated difficulties had decreased statistically significant (p<0.05). The perceived serverity of osteoarthritis increase are statistically significant (p<0.05). The beahvioral admin who look after patients increased statistically significant (p<0.05). In conclusion, the study suggests that continued evaluation, use of handbooks and higher levels of information and education regarding Osteoarthritis can improve the health and wellbeing of patients. Follow up on the compliance with the roles of stakholders in health partnership for a period. And study of factors that affect the process of creating a community health partnership to improve the work participation and work of the partnership.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2559
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/356
Appears in Collections:Nursing - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WIPAWEE-CHUKAEW.pdf4.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.