Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3572
Title: | นโยบายด้านสวัสดิการสังคมของพรรคการเมืองที่สมัครรับการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2554 |
Other Titles: | Social Welfare Policy of the Running Political Parties in the Election of the Year 2011 |
Authors: | ขัตติยา กรรณสูต Kattiya Karnasuta นิกุลรักษ์ บุญชัย Nikulrak Boonchai Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | พรรคการเมือง Political parties สัญญาประชาคม Social contract การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง Political campaigns บริการสังคม -- นโยบายของรัฐ Social service -- Government policy สวัสดิการสังคม |
Issue Date: | 2012 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ จะศึกษานโยบายด้านสวัสดิการสังคมของพรรคการเมืองที่สมัครรับเลือกตั้งเสนอไว้ ใน 3 ประการ คือ 1) เปรียบเทียบนโยบายด้านสวัสดิการของพรรคการเมืองที่คาดว่าจะได้รับการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ในอันดับต้นๆ 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติตามนโยบายด้านสวัสดิการสังคมที่คัดเลือกมา คือ นโยบายด้านการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เป็นตัวแทนมิติด้านอาชีพ/รายได้ นโยบายด้านการแจกแท็บเล็ตนักเรียนเป็นตัวแทนมิติด้านการศึกษา และนโยบายด้านการป้องกันปราบปรามยาเสพติดเป็นตัวแทนมิติด้านความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโฆษณา สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และนโยบายหาเสียงจากเวทีปราศรัย รวมทั้งผลงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นศึกษา การสัมภาษณ์เชิงลึก กับ ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งหรือผู้รับผิดชอบโดยตรง รวมทั้งจากการวิเคราะห์ข่าว ในช่วงระหว่าง และภายหลังการเลือกตั้ง เมื่อจัดตั้งรัฐบาลแล้ว มาจนช่วงเวลาการดำเนินงานตามนโยบาย จนถึงกลางเดือนตุลาคม 2554 ภายใต้กรอบแนวคิด ทฤษฎีสัญญาประชาคม การปกครองแบบประชาธิปไตย สังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม การเสริมพลังอำนาจ แผนระดับชาติและนโยบายรัฐบาลปัจจุบัน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องผลการศึกษาพบว่า ระหว่างการหาเสียงจำนวนพรรคการเมืองที่คาดว่าจะได้รับการเลือกตั้ง ในอันดับสูงสุด 8 พรรค โดยใช้เกณฑ์จากโพลล์ที่มีคะแนนตั้งแต่ ร้อยละ 1 เป็นต้นไป คือ พรรคเพื่อไทย (ร้อยละ 55.55) พรรคประชาธิปัตย์ (ร้อยละ 34.05) พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (ร้อยละ 0.98) พรรคชาติไทยพัฒนา (ร้อยละ 1.60) พรรคภูมิใจไทย (ร้อยละ 3.43) พรรครักประเทศไทย (ร้อยละ 2.48) พรรครักษ์สันติ (ร้อยละ 0.88) และ พรรคพลังชล (ร้อยละ 0.54) โดยแต่ละพรรคมีนโยบายด้านสวัสดิการสังคมดังต่อไปนี้ 1. พรรคเพื่อไทยมีนโยบายด้านสวัสดิการสังคม 26 นโยบายพรรคประชาธิปัตย์ 35 นโยบาย พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 44 นโยบาย พรรคชาติไทยพัฒนา 80 นโยบาย พรรคภูมิใจไทย 11 นโยบาย พรรครักประเทศไทย 6 นโยบาย พรรครักษ์สันติ 14 นโยบาย และ พรรคพลังชล 29 นโยบาย2. หลังการเลือกตั้งและจัดตั้งคณะรัฐบาลแล้ว พบว่านโยบายที่มีความคืบหน้าและเป็นที่สนใจ ของสังคมเป็นอย่างมาก มี 3 นโยบาย คือ นโยบายด้านขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วันเป็นตัวแทนมิติด้านอาชีพ/รายได้ นโยบายด้านการแจกแท็บเล็ตเด็กนักเรียน เป็นตัวแทนมิติด้านการศึกษา และนโยบายด้านการป้องกันปราบปรามยาเสพติดเป็นตัวแทนมิติด้านความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน3. จากการวิเคราะห์ใน 4 ประเด็น คือ 1) การนำนโยบายไปคัดเลือกเป็นนโยบายรัฐบาล และ 2) ความสอดคล้องของนโยบายกับแผนระดับชาติ คือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 10,11 (พ.ศ.2550-2554 และ พ.ศ.2555-2559) แผนยุทธศาสตร์ 5 ปีสร้างสวัสดิการสังคมไทย และแผนยุทธศาสตร์ 5 ปีสวัสดิการสังคมไทย (พ.ศ.2550-2555 และ พ.ศ.2555-2559) รวมทั้งแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552-2559) พบว่าทั้ง 3 นโยบายเป็นไปตามประเด็น สำหรับประเด็นที่ 3 ความเห็นของสังคมต่อนโยบายดังกล่าวอันประกอบด้วยความเห็นของนักการเมือง ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านและความเห็นของนักวิชาการ ประชาชน รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นโยบายการป้องกันปราบปรามยาเสพติดมีผู้เห็นด้วยมากที่สุด ขณะที่นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและนโยบาย แจกแท็บเล็ตเด็กนักเรียนมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยใกล้เคียงกันรวมทั้งมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ส่วนประเด็นที่ 4 การขับเคลื่อนนโยบายโดยมีการกำหนดหน่วยงาน/บุคคลที่รับผิดชอบชัดเจนทำให้มีการดำเนินการจริงจังและรวดเร็วเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมมากที่สุด คือ นโยบายแจกป้องกันปราบปรามยาเสพติดจากการศึกษาพบว่าการดำเนินการตามนโยบายที่หาเสียงไว้ของคณะรัฐบาลนั้น เมื่อนำมาปฏิบัติจริงอาจเกิดปัญหาอุปสรรค เนื่องจากขาดการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียตั้งแต่เริ่มแรกในการกำหนดนโยบาย และขาดการศึกษารายละเอียดรอบด้านรวมทั้งขาดการวิเคราะห์จุดด้อยจุดเด่นของนโยบายจนกระทั่งตกผลึกเสียก่อน แต่เมื่อได้ประกาศไปแล้ว ภายหลังการเลือกตั้ง รัฐบาลก็ได้มีความจริงจังในการขับเคลื่อนนโยบายนั้น ๆ ให้เกิดผลสำเร็จ ถึงแม้จะมีปัญหาอุปสรรคต่างๆ ตามมาก็ตาม |
Description: | การศึกษาอิสระ (สส.ม.) -- (บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3572 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Social-Welfare-Policy-of-the-Running-Political-Parties.pdf Restricted Access | 25.24 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.