Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3575
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพวงชมพู โจนส์-
dc.contributor.advisorPuangchompoo Jones-
dc.contributor.authorนิชาภา จุลประยูร-
dc.contributor.authorNichapa Joolpratoon-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.date.accessioned2025-01-26T07:22:35Z-
dc.date.available2025-01-26T07:22:35Z-
dc.date.issued2010-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3575-
dc.descriptionการศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2553en
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง การพัฒนาแผนงานทางการตลาดเพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันสำหรับ ผลิตภัณฑ์นมสตรีมีครรภ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อนมสำหรับสตรีมีครรภ์ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อนมสำหรับสตรีมีครรภ์ เพื่อพัฒนาแผนงานทางการตลาดนมสำหรับสตรีมีครรภ์ให้เหมาะสมต่อกลุ่มสตรีมีครรภ์ และเพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการเลือกซื้อนมสำหรับสตรีมีครรภ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Study) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลสตรีมีครรภ์ที่เข้าร่วมการสัมมนาเชิงวิชาการ ณ โรงพยาบาลศิริราช จำนวน 391 ชุด ซึ่งการวิเคราะห์ใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเนื่องจากการแจกแจงข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างมีการสุ่มตัวอย่างมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบ ไม่ปกติ ดังนั้นจึงใช้ค่าสถิติแบบไม่ใช้พารามิเตอร์ (Non Parametric Statistic) โดยกำหนดค่านัยสำคัญของการคำนวณเป็น 0.05 โดยการทดสอบสมมติฐานนั้น ใช้สถิติ คลัสคัลวัลลิส (Kruskal Wallis Tests) ในการวิเคราะห์สมมติฐานข้อที่ 1 และใช้สถิติ ไควสแควร์ (Chi-square Tests) ในการวิเคราะห์สมมติฐานข้อที่ 2 ทั้งนี้สรุปผลการศึกษาได้ดังต่อไปนี้ข้อมูลลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ในด้านอายุเฉลี่ยของสตรีมีครรภ์พบว่า สตรีมีครรภ์ส่วนใหญ่มีอายุในช่วง 26 - 30 คิดเป็นร้อยละ 41.1 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และระดับอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ตามลำดับ โดยคิดเป็นร้อยละ 31.7 ในด้านอาชีพของสตรีมีครรภ์ พบว่า เกือบร้อยละ 50 ส่วนใหญ่ของสตรีมีครรภ์ ประกอบอาชีพ พนักงาน/เจ้าหน้าที่บริษัท รายได้ต่อเดือนต่อครอบครัวของสตรีมีครรภ์ พบว่า สตรีมีครรภ์ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 43.5 ด้านอายุครรภ์ของสตรีมีครรภ์พบว่า สตรีมีครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 1-3 เดือน (ไตรมาสที่ 1) และอายุครรภ์ 7-9 เดือน (ไตรมาสที่ 3) มีจำนวนใกล้เคียง คิดเป็นร้อยละ 35.6 ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเลือกซื้อนมสำหรับสตรีมีครรภ์ พบว่า ภาพรวมของปัจจัยที่มี ความสำคัญต่อการเลือกซื้อนมสำหรับสตรีมีครรภ์ มีอิทธิพลในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.05) โดยด้านผลิตภัณฑ์ มีอิทธิพลมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.41) รองลงมา คือด้านช่องทางการจัดจำหน่าย = (ค่าเฉลี่ย = 4.29) ด้านราคา (ค่าเฉลี่ย = 4.10) ด้านการส่งเสริมการตลาด (ค่าเฉลี่ย = 3.41) ตามลำดับผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า สตรีมีครรภ์ที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และอายุครรภ์ แตกต่างกันให้ความสำคัญกับปัจจัยจูงใจในการเลือกซื้อนมสำหรับสตรีมีครรภ์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนในด้านความสำพันธ์ระหว่างปัจจัย ส่วนบุคคลกับการเลือกดื่มนมสำหรับมารดาในระหว่างตั้งครรภ์ พบว่า ลักษณะปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ และรายได้ แตกต่างกันไม่มีผลต่อการเลือกดื่มนมสำหรับมารดาในระหว่างตั้งครรภ์ ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลในด้านการศึกษา ด้านอาชีพ และด้านอายุครรภ์ที่ต่างกันนั้น มีผลต่อการเลือกดื่มนมสำหรับมารดาในระหว่างตั้งครรภ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ผลิตภัณฑ์สำหรับสตรีมีครรภ์ควรมีการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์บนบรรจุภัณฑ์อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเรื่องคุณค่าทางโภชนาการ (สารอาหาร) ฉลากแสดงส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ และเครื่องหมายรับรองคุณภาพจากองค์การอาหารและยา เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภคen
dc.language.isothen
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.subjectผลิตภัณฑ์นม -- การตลาดen
dc.subjectDairy products -- Marketingen
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภคen
dc.subjectConsumer behavioren
dc.subjectสตรีมีครรภ์en
dc.subjectPregnant womenen
dc.subjectการตั้งครรภ์ -- แง่โภชนาการen
dc.subjectPregnancy -- Nutritional aspectsen
dc.titleการพัฒนาแผนงานทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์นมสำหรับสตรีมีครรภ์en
dc.title.alternativeDevelopment Marketing Strategies for Maternal Milk Product for Pregnancy Womenen
dc.typeIndependent Studiesen
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจen
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Developing-Marketing-Strategies-for-Maternal-Milk-Product-for-Pregnancy-Women.pdf
  Restricted Access
18.28 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.