Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/361
Title: | พฤติกรรมทางเพศสัมพันธ์ การรับรู้ตามแบบความเชื่อด้านสุขภาพและลักษณะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อซิฟิลิสของชายที่มารับบริการที่คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในเขตเมือง |
Other Titles: | Sexual Behaviors, Perception in Health Belief Model and Personal Characteristics Associated with Syphilis Infection among Male Clients Attending Sexually Transmitted Infection Clinic in Urban Area |
Authors: | นพนัฐ จำปาเทศ จริยาวัตร คมพยัคฆ์ Nopphanath Chumpathat Jariyawat Kompayak ลวิตรา พิธาวุฒิกร Lawitra Phithawutthikorn Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing |
Keywords: | ซิฟิลิส Syphilis โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ Sexually transmitted diseases พฤติกรรมทางเพศ Sexual behavior |
Issue Date: | 2018 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อซิฟิลิสในเพศชายเป็นการวิจัยเชิงสังเกต (Observational study) แบบ Case control study กลุ่มตัวอย่าง คือ เพศชายที่มารับการตรวจการติดเชื้อซิฟิลิส ณ คลินิกบางรักกลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อซิฟิลิสจำนวน 112 ราย และไม่ติดเชื้อซิฟิลิส จำนวน 148 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกลักษณะส่วนบุคคล พฤติกรรทางเพศ และแบบสอบถามการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพมีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.83-1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.75-0.79 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Odds Ratio และ 95% Confident Interval (95%CI) ผลการศึกษา พบว่า ผู้ติดเชื้อซิฟิลิสส่วนใหญ่มีอายุ 20-30 ปี ร้อยละ 58.0 การศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ 72.4 มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในช่วง 1 ปี ร้อยละ 18.8 มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่ออายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 75.0 รสนิยมทางเพศเป็น Homosexual ร้อยละ 90.2 โดยมีคู่นอนในช่วง 3 เดือน จำนวน 3 คน ร้อยละ 32.1 เป็นทั้งฝ่ายรุกและฝ่ายรับเมื่อมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ร้อยละ 69.96 ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักและช่องคลอด ร้อยละ 5.9, 36.4 ตามลำดับ ไม่ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ทางปาก เคยใช้ยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (ยา PrEP) ก่อนมีเพศสัมพันธ์ใน 1 ปี ร้อยละ 31.3 ใช้ยา PrEP ร่วมกับการใช้ถุงยางอนามัย ร้อยละ 5.7 ใช้สารเสพติดในชีวิตประจำวันและขณะมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 15.2, 12.5 ตามลำดับ มีการรับรู้ความเสี่ยงและความรุนแรงของการติดเชื้อซิฟิลิสระดับสูง ร้อยละ 93.8 และ 96.4 ตามลำดับ การรับรู้ประโยชน์และความสามารถตนเองในการป้องกันการติดเชื้อซิฟิลิสระดับสูง ร้อยละ 92.0 และ 90.2 ตามลำดับ และการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันการติดเชื้อซิฟิลิสระดับต่ำ ร้อยละ 22.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อซิฟิลิสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ สถานะการติดเชื้อเอชไอวี (OR=5.26, 95%CI=1.432-19.347, p=0.012) การใช้สารเสพติดดขณะมีเพศสัมพันธ์ใน 1 ปี (OR=2.878, 95%CI=1.120-7.390, p=0.041) รสนิยมทางเพศแบบ Homosexual (OR=2.844, 95%CI=1.372-5.948,p=0.005) การใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก (OR=20.706, 95%CI=8.401-51.035, p=<0.001) การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันการติดเชื้อซิฟิลิส (OR=10.079,95%CI=5.534-18.358,p=<0.001) การวิเคราะห์แบบตัวแปรหลายตัว (Multivariate analysis) พบตัวแปรที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อซิฟิลิส คือ การใช้ถุงยางอนามัยทางช่องทวารหนัก (Adjusted OR=20.936, 95%CI=7.458-58.77) The objective of this research was to investigate the factors associate with male syphilis infection at Bangkok Clinic, Sexually Transmitted Diseases and the Rainbow Sky Association of Thailand. Case control study was conducted in this study and sample group were males who was be tested for syphilis infection and divided into syphilis cases (112) and cases without syphilis (148). Data were collected by case record form (CRF) and the health belief model questionnaire had content validity of 0.83-1.00 and reliability of 0.75-0.79. Odds ratios and 95% confident interval (95%CI) to asses the associations between sociodemogrphic and sexual behavioral variables by cases of syphilis. The results showed that the majority of case syphilis were 20-30 years old 58.0% undergraduate studies 72.4% had a history of sexually transmitted disease during one year 18.8% sex for the first time under age 20, 75.0% sexual orientation was homosexual 90.2% with three partners 32.1% both proactive and defensive when anal sex 69.6% always used a condom when having anal and vaginal intercourse 5.9%. 36.4% respectively not using condoms when having oral sex, used anti-HIV drug for Pre-Exposure Prophylaxis (PrEP) in one year 31.3% PrEP was used with condom 5.7% substance using on a daily basis and while having sex 15.2% and 12.5% respectively. The perception of risk and severity of syphilis infection, the percevied benefit and self-efficacy of prevention of syphilis infection among cases syphilis were high-level 92.0%, 90.2%, 93.8% and 96.4% respectively and the perceived barriers of prevention of syphilis infection to low-level 22.3%. Factors that were significantly associated with syphilis infection were HIV infection status (OR=5.26, 95%CI=1.432-19.347, p=0.012) substance use during sexual intercourse in one year (OR=2.878, 95%CI=1.120-7.390, p=0.041), homosexual (OR=2.844, 95%CI=1.372-5.948,p=0.005) condom use during anal sex (OR=20.706, 95%CI=8.401-51.035, p=<0.001) the low perceived barriers of prevention of syphilis infection (OR=10.079,95%CI=.534-18.358,p=<0.001). A multivariate analysis revealed the variables associated with syphilis infection were condom use during anal sex (Adjusted OR=20.936, 95%CI=7.458-58.77) and the low perceived barrier to prevention of syphilis infection (Adjusted OR=9.915, 95%CI=4.471-21.990). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2563 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/361 |
Appears in Collections: | Nursing - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
LAWITRA-PHITHAWUTTHIKORN.pdf Restricted Access | 6.67 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.