Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3613
Title: ความสำเร็จในการนำไปปฏิบัติโดยผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดบริการสังคม ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ในประเทศไทย
Other Titles: The Implementation Achievement by the Officials in Social Services According to Child Protection Law, 2003 in Thailand
Authors: Areena Lertsaenporn
อารีนา เลิศแสนพร
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Law
Keywords: พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
Child Protection Act. B.E. 2546 (2003)
บริการสังคม
Social services
การสงเคราะห์เด็ก
Child welfare
สิทธิเด็ก
Children's rights
Issue Date: 2020
Citation: วารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์ 11, 1 (กรกฏาคม-ธันวาคม 2563) : 104-166.
Abstract: วัตถุประสงค์หลักของบทความวิจัยนี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการบังค้บใช้กฎหมาย ที่เป็นเครื่องมือส่วนหนึ่งที่สำคัญสำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการปกป้องเด็ก และเยาวชน ดังนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่จำเป็นต้องมีความแม่นยำในความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่เลือกตัวบทกฎหมายที่ถูกต้องและการประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่มึความพิเศษ ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่จำเป็นต้องมีคุณธรรมในใจ และการทำงานอย่างเคร่งครัด ด้วยความมั่นใจในจริยธรรมเชิงวิชาชีพ และหลักการต่างๆ เพื่อที่จะได้ระดับของความสำเร็จในการนำไปปฏิบัติเกี่ยวกับความสามารถต่างๆของผู้ปฏิบัติหน้าที่ และเพื่อที่จะได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และการยอมรับทางสังคมในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการสังคมด้านการปกป้องเด็กและเยาวชน นอกเหนือจากความสำคัญของตัวบทกฎหมาย คือผู้ปฏิบัติหน้าที่ต้องมีจิตสำนึก และภาระผูกพันของผู้ปฏิบัติหน้าที่ ที่จะนำไปสู่การนำกฎหมายไปปฏิบัติ เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและบริบททางสังคมของแต่ละกรณี การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีจุดมุ่งหมายในการแสดงถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีต่อความสำเร็จในการนำไปปฏิบัติของผู้ปฏิบัติหน้าที่ ในการจัดบริการสวัสดิการสังคมสำหรับการปกป้องเด็กและเยาวชนในประเทศไทย ข้อค้นพบที่สำคัญจากความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานต่างๆ ที่ใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 เกี่ยวกับปัจจัยด้านคุณธรรม และจริยธรรม ด้านความรู้และความเข้าใจในระดับสูงมาก นอกจากนี้ ปัจจัยด้านคุณธรรม และจริยธรรม มีระดับความสัมพันธ์ที่สูงมากกับความสามารถของผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านทัศนคติ และระดับคุณธรรม จริยธรรมของผู้ปฏิบัติหน้าที่มีอิทธิพลเชิงบวกกับความสำเร็จในการนำไปฏิบัติ เรียงลำดับได้ดังนี้ (1) ความสามารถด้านทัศนคติที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ (2) ความสามารถด้านพฤติกรรมที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ และ (3) ความสามารถด้านความรู้ และการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ผลที่น่าสนใจของการวิจัยเชิงคุณภาพในการวิจัยครั้งนี้ พบว่าการใช้ความเมตตาเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติกับเด็กและเยาวชนเป็นสิ่งที่ดี หากผู้ใช้มีแต่ความเมตตา โดยขาดหลักวิชาชีพ หรือไม่มีความเข้าใจต่อเด็กตามพัฒนาการ หรือลักษณะเฉพาะของเด็กแต่ละคน ผลร้ายอาจเกิดขึ้นในทางตรงกันข้ามกับเด็กเสียเอง ดังนั้น จึงต้องใช้ความเมตตาอย่างพึงระวัง ปัจจุบันพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ..ศ. 2546 ยังคงทันสมัยและเหมาะสม ในแง่มุมของสภาพแวดล้อม ทางสังคม และยังคงสามารถใช้ได้ในการช่วยเหลือ และปกป้องสวัสดิการเด็ก ปัญหาต่างๆ ที่ปรากฏไม่ได้เกิดขึ้น การใช้ตัวบทกฎหมายเอง แต่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมาย ที่ยังคงไม่ก้าวหน้า
The main objective of this research article is to show the law enforcement as one of the most important important tools for the officers to protect child and youth. Thus, the officers must have accurate knowledge and understanding about the laws concerned which help them to select law sections correctly and suitably applied for such a particular case. Moreover, the officers must have virtue in their minds and strictly work with confidence in professional ethics and principles in order to obtain level of implementation achievement regarding the officer’s competencies and to have the best outcome and to be socially acceptable as a worker concerned with child and youth protection services. Apart of the importance of the laws itself, they are the consciousness and the obligation of the officers which will lead to law implementation regarding each environmental and social context. The research based on both quantitative and qualitative method aimed to show factors affecting the implementation achievement of officers who perform social services for child & youth protection in Thailand. The important findings were the officers’ opinions in agencies who used Child Protection Law, 2003 concerning the factors of morals & ethics, knowledge & understanding in high ranking. Besides, the factors of morals & ethics had a highest correlation with attitude’s competencies . Also, the level of morals & ethics of the officers had a positive result affecting the level of implementation achievement from high to low respectively (1) attitude’s competencies, (2) behaviors’ competencies, (3) knowledge and understanding competencies. The interesting result of the qualitative method was the basic using of kindness as the best proactive in working with child and youth. However, if the officers used kindness without professional code of ethics or didn’t understand the stage of child development individually, the had effect might happen in contradictory. Thus, kindness should be used carefully. Nowadays, Child Protection Law, 2003 is still up-to-date and suitable for all aspects of social environments and can be used in helping and protecting child welfare. The problems occurred are not from using the law itself, but from the law enforcement which is still not in progress.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full Text) ได้ที่ : https://so01.tci-thaijo.org/index.php/lawhcu/article/view/244035/165402
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3613
Appears in Collections:Law - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
The-Implementation-Achievement-by-the-Officials-in-Social-Services.pdf83.05 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.