Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3633
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตสมรสของข้าราชการตำรวจ |
Other Titles: | Factors Effecting Marital Satisfaction of Police |
Authors: | สุภรัฐ หงษ์มณี บรรพต เวียงนนท์ Banphot Viangnon Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | การสมรส Marriage ตำรวจ -- ความสัมพันธ์ในครอบครัว Police -- Family relationships ข้าราชการตำรวจ |
Issue Date: | 1999 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาถึงความพึงพอใจในชีวิตสมรสของข้าราชการตำรวจ โดยศึกษาทั้งปัจจัยก่อนการสมรสและระหว่างสมรสที่มีผลต่อความพึงพอใจในชีวิตสมรสของข้าราชการตำรวจในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และสถานีตำรวจภูธรที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในชีวิตสมรสของข้าราชการตำรวจ และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตสมรสของข้าราชการตำรวจ เพื่อให้ได้ทราบระดับความพึงพอใจในชีวิตสมรสของข้าราชการตำรวจ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตสมรสของข้าราชการตำรวจ และข้อมูลที่ได้จากการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการตำรวจและครอบครัว โดยแจกแบบสอบถามไปจังหวัดละ 108 ชุด ได้แบบสอบถามคืนมา 324 ชุด เป็นแบบสอบถามที่ เสียหายและไม่สมบูรณ์ 7 ชุด เหลือแบบสอบถามที่ใช้ในการวิเคราะห์ 317 ชุด และนำมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS/PC+ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ สถิติเชิงพรรณา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression)ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยก่อนการสมรส พบว่า ความคล้ายคลึงกันทางศาสนา พร้อมทางด้านจิตใจของข้าราชการตำรวจ การสนับสนุนจากเพื่อนฝูง การเห็นแบบอย่างคุณภาพชีวิตสมรสของบิดามารดาและความคล้ายคลึงกันด้านการศึกษา มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตสมรสปัจจัยระหว่างการสมรส พบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ คือ ความพอเพียงของรายได้ ความพึงพอใจในการทำงานนอกบ้านของภรรยาและญาติผู้ใหญ่ในครอบครัว มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตสมรสข้อเสนอแนะ 1. หลักสูตรการศึกษาของข้าราชการตำรวจทุกหลักสูตร ควรพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับครอบครัวศึกษา และจริยธรรมศึกษา เพื่อให้ตำรวจได้เข้าใจถึงสถานภาพในการมีครอบครัว การเป็นแบบอย่างที่ดีของครอบครัว เพื่อคุณภาพชีวิตสมรสที่ดี 2. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรกำหนดเป็นนโยบายให้มีการยกย่อง เชิตซู ครอบครัวตำรวจที่มีความสมบูรณ์ในลักษณะครอบครัวตัวอย่าง เพื่อถือเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครอบครัวข้าราชการตำรวจทั่วไป 3. สมาคมแม่บ้านตำรวจ ควรมีบทบาทในการส่งเสริม แนะนำ สนับสนุนการฝึกอบรม หรือให้ความรู้แก่ภรรยาของข้าราชการตำรวจ เพื่อให้มีความรู้เท่าเทียมกับสามี ตลอดจนส่งเสริมให้ภรรยาข้าราชการตำรวจหารายได้ โดยทำงานในบ้านหรือนอกบ้านอย่างถาวร 4. ควรมีหน่วยงานภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการให้คำปรึกษา ข้อแนะนำในกรณีที่ครอบครัวของข้าราชการตำรวจมีปัญหา รวมทั้งสวัสดิการในการจุนเจือครอบครัวของข้าราชการตำรวจ เช่น มีการให้สวัสดิการแก่ครอบครัวตำรวจที่มีสมาชิกผู้ใหญ่ในครอบครัวข้อเสนอแนะในการทำวิจัยต่อไป 1. ควรมีการทำวิจัยเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตสมรสในกลุ่มข้าราชการตำรวจที่อยู่ส่วนภูมิภาคต่าง ๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงแตกต่างของปัจจัยตัวแปรที่เกี่ยวข้องในกลุ่มดังกล่าว 2. ควรมีการศึกษาแบบแผนการดำเนินชีวิตคู่สมรสของข้าราชการตำรวจที่มีความพึงพอใจในชีวิตสมรสสูง เพื่อเป็นแนวทาง แบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตสมรสของข้าราชการตำรวจกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป |
Description: | สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2542 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3633 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Factors-Effecting-Marital-Satisfaction-of-Police.pdf Restricted Access | 7.99 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.