Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3654
Title: | การศึกษาความต้องการแรงจูงใจและการเห็นคุณค่าในตนเองของประชาชนยากจน ในชุมชนมหาวงษ์ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | A Study on Needs, Motive and Self-Esteem of People in Mahawong Community Ampher Prapradaeng, Samut Prakarn Province |
Authors: | ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya ประภากร โกมลมิศร์ Prapakorn Komonmitsara Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | การจูงใจ (จิตวิทยา) Motivation (Psychology) ความจน -- ไทย -- สมุทรปราการ Poverty -- Thailand -- Samut Prakarn คุณภาพชีวิต Quality of life ความภูมิใจแห่งตน Self-esteem ความต้องการ (จิตวิทยา) Need (Psychology) ชุมชนมหาวงษ์ (พระประแดง) Mahawong Community (Prapradaeng) การจัดระเบียบชุมชน |
Issue Date: | 2001 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาความต้องการ แรงจูงใจ และการเห็นคุณค่าในตนเองของประชาชนยากจนในชุมชนมหาวงษ์ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความต้องการ แรงจูงใจ และการเห็นคุณค่าของตนเองของชาวชุมชนมหาวงษ์ โดยทำการเก็บข้อมูลในเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความเป็นมาโดยสังเขปของชุมชนซอยวัดมหาวงษ์ สำรวจสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและผลการวิจัยพบว่า 1. ในเรื่องการศึกษาความเป็นมาของชุมชนพบว่า ชุมชนนี้เป็นที่อยู่อาศัยตั้งรกรากของกลุ่มแรงงานที่ยากจน และไม่ดิ้นรนเพื่อที่จะยกระดับฐานะของตนไปสู่สิ่งที่ดีกว่า 2. สภาพชีวิตโดยทั่วไปของชาวชุมชนเป็นสภาพชีวิตที่มีคุณภาพชีวิตต่ำมาก 3. ลักษณะจิตใจของชาวชุมชน ชาวชุมชนมีระดับความต้องการต่ำแม้ในระดับความต้องการทางสรีระก็ต้องการเพียงแค่อาหารคุณภาพต่ำในด้านแรงจูงใจของชาวชุมชนโดยการอภิปรายด้วยหลักแห่งความขาดตกบกพร่อง ที่กล่าวถึงความขาดตกบกพร่องในชีวิตประจำวันของคนที่ได้รับอยู่เสมอ จะทำให้มีความต้องการที่เป็นตัวจูงใจให้เกิดพฤติกรรมในด้านอื่นๆ ต่อไป แต่คนเหล่านี้กลับเกิดความพอใจในสภาพที่ตนเองเป็นอยู่ ยอมรับและพอใจความขาดแคลนต่างๆ ในชีวิตโดยถือเป็นเรื่องธรรมดาและชาชินต่อสภาพที่เป็นอยู่มีความต้องการและพอใจเท่าที่เป็นอยู่โดยไม่มีการกระตุ้นและขวนขวายทำให้ตนเองดีขึ้นจากเดิมส่วนการเห็นคุณค่าในตนเองจากระดับจิตสำนึกของชาวชุมชนพบว่าโดยรวมแล้วชาวชุมชนมีจิตสำนึกในระดับตนเองและครอบครัวเท่านั้น หรือแม่แต่ต่ำกว่าระดับที่จะดูแลตนเองและครอบครัว จากการขาดความรัก ความเข้าใจในครอบครัวบิดามารดา ที่เป็นต้นแบบไม่ได้เป็นต้นแบบที่ดีที่จะกระตุ้นให้ลูกเห็นคุณค่าในตนเองได้4. จากระดับความต้องการต่ำ แรงจูงใจต่ำและเห็นคุณค่าในตนเองต่ำส่งผลให้ชาวชุมชนคุณภาพชีวติต่ำ ขาดความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเองแม้จะมีหน่วยงานพยายามยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือชุมชนก็ไม่อาจทำให้ชาวชุมชนได้รับการพัฒนาขึ้นมาได้เลย |
Description: | สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2544 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3654 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
A-Study-on-Needs-Motive-and-Self-Esteem-of-People.pdf Restricted Access | 15.43 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.