Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3662
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุชาติ สังข์เกษม-
dc.contributor.advisorSuchart Sangkasem-
dc.contributor.authorประภาศรี ภู่จินดาตระกูล-
dc.contributor.authorPrapasri Poojindatrakul-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.date.accessioned2025-02-11T16:29:41Z-
dc.date.available2025-02-11T16:29:41Z-
dc.date.issued2000-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3662-
dc.descriptionภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2543en
dc.description.abstractการค้าระหว่างประเทศถือเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน กล่าวคือ ถ้ามีการส่งออกสูง ย่อมหมายถึง การได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อดุลการชำระเงินของประเทศ แต่ถ้าไม่มีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ก็จะไม่สามารถทำให้ประเทศนั้นมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เนื่อ่งจากขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเหตุผลการเกิดขึ้นของการค้าระหว่างประเทศ มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องที่ชี้ให้เห็นว่า เหตุใดจึงต้องมีการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน และเมื่อซื้อขายกันแล้วราคาและปริมาณควรจะเป็นเท่าใด คือ 1. ทฤษฎีการได้เปรียบโดยเด็ดขาด (Absolute Advantage) มี แนวคิดที่ว่าต่างฝ่ายต่างได้เปรียบในการผลิตสินค้าคนละชนิดกัน แล้วนำสินค้ามาแลกเปลี่ยนกัน2. ทฤษฎีการได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) มีแนวคิดที่สำคัญในด้านโครงสร้างต้นทุนสินค้าที่แตกต่างกัน ทำให้ราคาสินค้าแตกต่างกันโดยแต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่มีต้นทุนที่ต่ำสุดแล้วจึงส่งออก3. ทฤษฎีต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) มีแนวคิดในเรื่องของราคาสัมพัทธ์ คือ การย้ายปัจจัยการผลิตที่มีความสามารถในการผลิตสินค้าต่างกันทำให้มีต้นทุนค่าเสียโอกาสเพิ่มขึ้น 4. ทฤษฎีวัฏจักรสินค้า (The Product Life Cycle) ทฤษฎีนี้ไม่ได้นำปัจจัยการผลิตมาพิจารณา แต่ใช้วิทยาการใหม่ เป็นตัวกำหนดทิศทางการค้า ประเทศใดที่มีการคิดค้นพบสินค้าตัวใหม่ ประเทศนั้นจะเป็นผู้ส่งออกก่อนประเทศอื่น 5. แนวคิดเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน โดยอาศัยอำนาจซื้อเปรียบเทียบ (Purchasing Power Parity) จะเป็นตัวแสดงถึงอำนาจในการแข่งขันของการส่งออกได้อย่างหนึ่ง เช่น ถ้าอำนาจซื้อของเงินสกุลแรกลดลง เมื่อเทียบกับอำนาจซื้อของอีกประเทศหนึ่ง การลดลงของอำนาจซื้อดังกล่าว จะเป็นผลสะท้อนให้อัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลนั้นเปลี่ยนไปในทิศทางที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามาเกี่ยวข้องทำให้ผู้ประกอบการต้องมีแนวคิดในเรื่องการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่สามารถเกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น ความที่เกิดจากบัญชี ความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยการผลิต ความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยทางเศรษฐกิจในการประกอบธุรกิจส่งออก-นำเข้า จะมีธุรกรรมที่สำคัญ คือ 1. การเสนอขายและรับคำสั่งซื้อ 2. การเตรียมสินค้าและเอกสารต่างๆ 3. สิ่งสินค้าไปยังจุดหมายปลายทาง 4. การประกันภัยและเงื่อนไขการซื้อขาย 5. การผ่านพิธีศุลกากร ปัจจุบันใช้ระบบ EDI6. การชำระเงินค่าสินค้าในด้านการชำระเงินค่าสินค้าระหว่างประเทศ นั้น สามารถทำได้หลายวิธี คือ ชำระโดย Open account, Advance payment, Bill for collection, Letter of credit ซึ่งโดยส่วนใหญ่ผู้ประกอบธุรกิจจะใช้ Letter of credit ซึ่งนอกจากจะเป็นการรักษาผลประโยชน์ในการค้าของทั้งสองฝ่ายแล้ว ชนิดของ Letter of credit ที่ต่างกัน จะนำมาซึ่งการหาแหล่งเงินทุนที่ต่างกันกล่าวโดยสรุป คือ ในการค้าระหว่างประเทศ โดยใช้เครื่องมือการชำระเงินค่าสินค้าระหว่างประเทศ ประเภท Letter of credit นอกจากจะทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายได้รับประโยชน์ โดยเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย และได้รับความเชื่อถือ แล้วยังสามารถนำ Letter of credit มาขอสินเชื่อกับทางธนาคารเพื่อใช้เป็นเงิน หมุนเวียนในการขยายธุรกิจได้อีกต่อไปen
dc.language.isothen
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.subjectดุลการชำระเงินen
dc.subjectBalance of paymentsen
dc.subjectการค้าระหว่างประเทศen
dc.subjectInternational tradeen
dc.subjectการชำระเงินen
dc.subjectPaymenten
dc.subjectการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าen
dc.subjectSwaps (Finance)en
dc.subjectอัตราแลกเปลี่ยนen
dc.subjectForeign exchange ratesen
dc.subjectเลตเตอร์ออฟเครดิตen
dc.subjectLetters of crediten
dc.subjectสินค้าออกen
dc.subjectExportsen
dc.subjectสินค้าเข้าen
dc.subjectImportsen
dc.titleศึกษาวิธีปฏิบัติด้านการชำระเงินระหว่างประเทศในฐานะผู้นำเข้าและผู้ส่งออกen
dc.title.alternativeThe Study of International Payment Procedure for the Exporter and Importeren
dc.typeIndependent Studiesen
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจen
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
The-Study-of-International-Payment-Procedure-for-the-Exporter-and-Importer.pdf
  Restricted Access
11.26 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.