Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3720
Title: ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อทัศนคติและกลยุทธ์ในการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรกรณีศึกษา บริษัท ซาโต้ ออโต้-ไอดี (ประเทศไทย) จำกัด
Other Titles: The Demographic Factors Affecting Attitudes and Strategy of Employees Development and Training : A Case Study of Sato Auto-ID (Thailand) Co., Ltd.
Authors: ธิดารัตน์ โชคสุชาติ
Tidarat Choksuchart
ปราณี อิ่มเพิ่มสุข
Pranee Impermsuk
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: บริษัท ซาโต้ ออโต้-ไอดี (ประเทศไทย) จำกัด – พนักงาน
Sato Auto-ID (Thailand) Co., Ltd. -- Employees
การพัฒนาบุคลากร
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
Human resources development
การฝึกอบรม
Training
ลูกจ้าง – ทัศนคติ
Employees – Attitudes
Issue Date: 2011
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อทัศนคติและกลยุทธ์ในการพัฒนาและฝึกอบรมของบุคลากร กรณีศึกษา บริษัท ซาโต้ ออโต้-ไอดี (ประเทศไทย) จำกัด โดยจำแนกตามลักษณะทางปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ตำแหน่งงาน อายุงาน แผนก/สายการปฏิบัติงาน ที่จะส่งผลต่อทัศนคติของบุคลากรในการพัฒนาและฝึกอบรมและกลยุทธ์ในด้านหลักสูตรการฝึกอบรม ด้านกิจกรรมการฝึกอบรม และด้านวัฒนธรรมองค์กรการฝึกอบรม ผู้ศึกษาได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากบุคลากรจำนวน 91 ชุด สถิติที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยสถิติพรรณนาแสดงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติเชิงอนุมาน คือ Independent t-test และ One-Way ANOVA เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Scheffe ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 26-30 ปี มีสถานะในการทำงานเป็นพนักงานปฏิบัติการ อายุงานระหว่าง 3-5 ปี กลุ่มประชากรแผนกผลิตมีจำนวนมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์จากระดับความคิดเห็นพบว่า การฝึกอบรมเป็นการเพิ่มพูนความรู้อยูในระดับความคิดเห็นด้วยมากที่สุด และการฝึกอบรมไม่มีประโยชน์ ควรจะเลิกจัดการฝึกอบรมได้แล้ว อยู่ในระดับความคิดเห็นไม่เห็นด้วยมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ ส่งผลต่อทัศนคติด้านบวกในการพัฒนาและฝึกอบรมโดยเฉลี่ยต่างแตกกันมากที่สุด ในเรื่องผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมเป็นผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการเพิ่มพูนความรู้ในการทำงานและการฝึกอบรมเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ส่วนทัศนคติด้านลบ เพศส่งผลต่อทัศนคติในการพัฒนาและฝึกอบรม โดยเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มากที่สุดในเรื่องการฝึกอบรมเป็นการพักผ่อน และการเข้ารับการฝึกอบรมเป็นการลงโทษอย่างหนึ่งทางด้านกลยุทธ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาและฝึกอบรม ในกลยุทธ์ด้านหลักสูตรการฝึกอบรม ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ อายุงาน และแผนกงานส่งผลต่อทัศนคติในการพัฒนาและฝึกอบรม กลยุทธ์ด้านกิจกรรมการฝึกอบรม เพศ และตำแหน่งงานส่งผลต่อทัศนคติในการพัฒนาและฝึกอบรม กลยุทธ์ด้านวัฒนธรรมองค์กร อายุ ตำแหน่งงาน และแผนกงานส่งผลต่อทัศนคติในการพัฒนาและฝึกอบรม โดยเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Description: การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2554
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3720
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
The-Demographic-Factors-Affecting-Attitudes-and-Strategy-of-Employees-Development.pdf
  Restricted Access
12.27 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.