Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3748
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฏฐ์ษา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา-
dc.contributor.advisorNuttsa Sanitvong Na Ayuttaya-
dc.contributor.authorพงศ์อินทร์ ทิชินพงศ์-
dc.contributor.authorPong-In Thichinpong-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2025-03-21T14:34:46Z-
dc.date.available2025-03-21T14:34:46Z-
dc.date.issued2003-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3748-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับจรรยาบรรณของนักสังคมสงเคราะห์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (2) ศึกษาถึงความแตกต่างของจิตลักษณะของนักสังคมสงเคราะห์ เมื่อจำแนะออกตามตัวแปรต่างๆ และ (3) ศึกษาถึงปัจจัย ลักษณะทางจิต ที่มีความสัมพันธ์กับจรรยาบรรณของนักสังคมสงเคราะห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยระหว่าง 26-35 ปี อายุงานส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 1-5 ปี มีสถานภาพสมรสโสด มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีรายได้อยู่ระหว่าง 6,001-8,000 บาทกลุ่มตัวอย่างมีการควบคุมตนเองในระดับค่อนข้างสูง และมีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมในระดับการทำตามกฎเกณฑ์ของสังคม โดยพบว่า เพศหญิงมีการควบคุมตนเองสูงกว่าเพศชายและผู้มีระดับการศึกษาสูงมีการควบคุมตนเองในระดับสูงกว่าผู้มีการศึกษาในระดับต่ำ และลักษณะทางจิตทั้งสองด้านมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติการปฏิบัติตามกรอบจรรยาบรรณของนักสังคมสงเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติตามกรอบจรรยาบรรณนักสังคมสงเคราะห์ในระดับปานกลาง ถึงปานกลางค่อนข้างสูง โดยจรรยาบรรณด้านคุณธรรมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ การเคาพรสิทธิของผู้รับบริการ ความรับผิดชอบการเพิ่มพูนความรู้และทักษะ และการประพฤติตามกรอบวิชาชีพตามลำดับโดยความรับผิดชอบ คุณธรรม และการเคารพสิทธิของผู้รับบริการ เป็นจรรยาบรรณซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อกันและกันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามกรอบจรรยาบรรณานักสังคมสงเคราะห์พบว่า - ปัจจัยด้านลักษณะทางจิต อันได้แก่ การควบคุมตนเอง มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ 4 ด้านได้แก่ ความรับผิดชอบ คุณธรรม การเคารพสิทธิของผู้รับบริการ และการประพฤติตามกรอบวิชาชีพ - รายได้ (น้อย) มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบ - อายุ (มาก) มีอิทธิพลต่อคุณธรรม - อายุงาน (มาก) และเพศ (หญิง) มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามกรอบวิชาชีพจากผลการศึกษาดังกล่าว ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้ทั้งระดับนโยบายและระดับหน่วยงานให้ความสำคัญกับการส่งเสริมหรือเสริมสร้างจิตลักษณะด้านการควบคุมตนเอง เพื่อเป็นพื้นฐานาทางจิตใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน อันจะนำไปสู่การมีจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานการให้บริการแก่ประชาชนต่อไปen
dc.language.isothen
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.subjectจรรยาบรรณนักสังคมสงเคราะห์en
dc.subjectSocial workers ethicsen
dc.subjectจรรยาบรรณen
dc.subjectProfessional ethicsen
dc.subjectจริยธรรมในการทำงานen
dc.subjectWork ethicen
dc.subjectการควบคุมตนเองen
dc.subjectSelf-controlen
dc.titleความสัมพันธ์ของจิตลักษณะกับจริยธรรมในการทำงานตามกรอบจรรยาบรรณของนักสังคมสงเคราะห์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลen
dc.title.alternativeThe Relationship of Mental Characteristics and Work Ethics of Social Workers in Bangkok and It's Peripheralen
dc.typeIndependent Studiesen
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการบริหารสังคมen
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
The-Relationship-of-Mental-Characteristics-and-Work-Ethics.pdf
  Restricted Access
12.17 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.