Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3817
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสนาะ ติเยาว์-
dc.contributor.advisorSanoh Tiyao-
dc.contributor.authorไพรัช เหรียญปรีชา-
dc.contributor.authorPairat Rianpreecha-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.date.accessioned2025-04-27T11:35:05Z-
dc.date.available2025-04-27T11:35:05Z-
dc.date.issued1999-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3817-
dc.descriptionภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2542en
dc.description.abstractปัญหาในเรื่องการสูญเสียบุคลากรของธุรกิจปัจจุบัน นับเป็นปัญหาปกติสามัญไปแล้ว ซึ่งปัญหาดังกล่าว อาจมีสาเหตุมาจากหลายประการ ที่สำคัญประการหนึ่ง ก็คือ ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรในองค์การนั่นเอง ดังนั้น การศึกษาถึงปัจจัยจูงใจที่ทำให้พนักงานเกิดความผูกพันต่อองค์การ จึงเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับทุก ๆ องค์กร ไมว่าจะเป็นองค์กรของเอกชนหรือรัฐบาลก็ตาม เพราะจะช่วยให้ผู้ศึกษาเกิดความเข้าใจในเรื่องพฤติกรรมองค์การมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะได้นำสิ่งเหล่านี้มาใช้เป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างและเพิ่มพูนให้สมาชิกมีความผูกพันต่อองค์การ และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงการบริหารงานทรัพยากรบุคคลในองค์การนั้นๆ ซึ่งจะเป็นการช่วยลดปัญหาของการลาออกของพนักงาน และจากความผูกพันต่อองค์การก็อาจจะนำไปสู่ความรักและความภักดีที่มีต่อองค์การได้อีกด้วย ในการทำโครงการวิจัยในครั้งนี้ องค์การที่ผู้วิจัยได้คัดเลือกมาทำการวิจัย คือ บริษัท แซ็กเซิล คลัทช์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยขอบเขตการศึกษา นั้น ได้ทำการศึกษาเฉพาะพนักงานปฏิบัติการเท่านั้น โดยผู้วิจัยได้กำหนดสมมติฐานการวิจัยในครั้งนี้ ว่า ลักษณะส่วนบุคคล และปัจจัยจูงใจต่างๆ จะมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อใช้ในการศึกษาทั้งสิ้นจำนวน 140 คน การวิเคราะห์ก็ใช้ค่าสถิติที่เหมาะสมกับข้อมูล คือ ใช้ค่าร้อยละในการพรรณาข้อมูล ส่วนในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ผู้วิจัยได้ใช้ค่าทางสถิติวิเคราะห์ข้อมูลความผูกพัน ด้วยอัตราส่วนอัตรา (PERCENTAGE) ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต (ARITHEMIC MEAN) และวิเคราะห์การกระจายด้วยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พอสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. บุคลากรที่มีเพศต่างกัน มีระดับความพึงพอใจต่อปัจจัยจูงใจและความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน โดยที่เพศหญิงมีความพึงพอใจต่อปัจจัยจูงใจมากกว่าเพศชาย และเพศชายตามระดับความผูกพันต่อองค์การมากกว่าเพศหญิง 2. บุคลากรที่มีอายุแตกต่างกัน มีระดับความพึงพอใจต่อปัจจัยจูงใจและความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน โดยที่ระดับอายุ 18-20 ปี มีความพึงพอใจต่อปัจจัยจูงใจอยู่ในระดับสูงสุด ขณะที่ ระดับอายุ 30-40 ปี จะมีความผูกพันต่อองค์การมากที่สุด 3. บุคลากรที่มีอายุงานแตกต่างกัน มีระดับความพึงพอใจต่อปัจจัยจูงใจแตกต่างกัน โดยที่พนักงานอายุงาน 6 เดือนถึง 1 ปี จะมีระดับความพึงพอใจต่อปัจจัยจูงใจและความผูกพันต่อองค์การสูงที่สุด 4. บุคลากรที่มีสถานภาพสมรสแตกต่างกัน จะมีระดับความพึงพอใจต่อปัจจัยจูงใจและความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน สรุปได้ว่า บุคลากรมีสถานภาพหม้ายจะมีความพึงพอใจต่อปัจจัยจูงใจและความผูกพันต่อองค์การมากที่สุด 5. บุคลากรที่มีรายได้ต่างกันจะมีระดับความพึงพอใจต่อปัจจัยจูงใจและความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน สรุปได้ว่า พนักงานที่มีระดับรายได้ 15,001-20,000 บาท จะมีความพึงพอใจในปัจจัยจูงใจและความผูกพันต่อองค์การมากที่สุด ดังนั้น สรุปได้ว่า ลักษณะส่วนบุคคลทั้ง 5 ส่วน มีอิทธิพลต่อระดับความพึงพอใจในปัจจัยต่าง ๆ ทั้ง 8 หัวข้อ คือ เงินเดือนและสวัสดิการ ลักษณะงาน ความมั่นคงในงาน ความสัมพันธ์ต่อผู้บังคับบัญชา ความสัมพันธ์ต่อเพื่อนร่วมงาน สภาพการทำงาน นโยบายบริหาร การควบคุมบังคับบัญชา และความผูกพันต่อองค์การ ซึ่งผู้บริหารหรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องของบริษัท แซ็กเซิล คลัทช์ (ประเทศไทย) จำกัด ควรจะได้นำผลการวิจัยในครั้งนี้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาและปรับปรุงหน่วยงาน พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ โดยเฉพาะในเรื่องของการสร้างความผูกพันในองค์การ เพื่อให้เกิดประโชน์สูงสุดต่อองค์การต่อไปen
dc.language.isothen
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.subjectความผูกพันต่อองค์การen
dc.subjectOrganizational commitmenten
dc.subjectบริษัท แซ็กเซิล คลัทช์ (ประเทศไทย) จำกัด – พนักงานen
dc.subjectZexel Clutch (Thailand) Co., Ltd. -- Employeesen
dc.subjectความพอใจในการทำงานen
dc.subjectJob satisfactionen
dc.subjectการจูงใจในการทำงานen
dc.subjectEmployee motivationen
dc.subjectความต้องการ (จิตวิทยา)en
dc.subjectNeed (Psychology)en
dc.titleปัจจัยจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การ กรณีศึกษา บริษัท แซ็กเซิล คลัทซ์ (ประเทศไทย) จำกัดen
dc.title.alternativeThe Motivational Factors Are Influencing to Royalty in Organization Case Study Zexel Clutch (Thailand) Co., Ltd.en
dc.typeIndependent Studiesen
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจen
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
The-Motivational-Factors-Are-Influencing-to-Royalty-in-Organization.pdf
  Restricted Access
8.83 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.