Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3825
Title: | การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้านในชุมชน |
Other Titles: | The Development of the Clinical Nursing Practice Guideline for Promoting Caregiver's Quality of Life in Caring for the Terminally Ill Cancer Patient in Community |
Authors: | พรศิริ พันธสี Pornsiri Pantasri พวงแก้ว พุทธพิทักษ์ Phoengkaew Phutthapitak Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing |
Keywords: | แนวปฏิบัติการพยาบาล Clinical nursing practice guideline ผู้ดูแล Caregivers มะเร็ง Cancer มะเร็ง -- ผู้ป่วย -- การดูแลระยะยาว Cancer -- Patients -- Long-term care ผู้ป่วยระยะสุดท้าย Terminally ill การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย Terminal care คุณภาพชีวิต Quality of life |
Issue Date: | 2010 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งสุดท้ายในชุมชน โดยการประยุกต์รูปแบบการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของศูนย์ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงประเทศสหรัฐอเมริการ (Evidence-Based Practice Model; Soukup, 2000) โดยเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ปัญหาจากประสบการณ์การทำงานในหน่วยดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์โดยกำหนดคำสำคัญเพื่อสืบค้นข้อมูล ได้งานวิจัยที่ตรงประเด็นปัญหาระหว่าง พ.ศ. 2542-2553 จำนวน 10 เรื่อง ประกอบด้วย การวิเคราะห์เมต้า 1 เรื่อง งานวิจัยเชิงทดลอง 3 เรื่อง งานวิจัยที่เป็นการศึกษาติดตามไปข้างหน้า 2 เรื่อง การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของงานวิจัยเชิงบรรยาย 1 เรื่อง งานวิจัยเชิงบรรยาย 2 เรื่อง การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของงานวิจัยเชิงบรรยาย 1 เรื่อง งานวิขัยเชิงบรรยาย 2 เรื่องและบืความพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง 1 เรื่อง แล้วประเมินระดับความน่าเชื่อถือของหลักฐานเชิงประจักษ์โดยใช้เกณฑ์ของเมลนิค และไฟน์เอาท์-โอเวอร์ฮอล์ท (ฟองคำ ติลกสกุลชัย. 2549 อ้างถึงใน Melnyk and Fineout-Overholt. 2005) จากกนั้นทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์หลักฐานเชิงประจักษ์ดังกล่าว จนได้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในชุมชน และให้ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความเชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยมะเร็งหน่วย Palliative care ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งมีการประเมินความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติไปใช้โดยใช้เกณฑ์ของโพลิค และ เบค (Polit and Beck. 2004) แนวปฏิบัติการพยาบาลประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การประเมินคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย และส่วนที่ 2 รูปแบบและกิจกรรมการพยาบาลเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ซึ่งประกอบด้วย การเยี่ยมบ้าน การโทรศัพท์ กลุ่มสนับสนุนช่วยเหลือผู้ดูแล การให้ความรู้ร่วมกับการประคับประคองด้านจิตใจ การฝึกทักษะการเผชิญปัญหา การให้คำปรึกษา และกิจกรรมกลุ่ม หลังจากนั้น ได้นำแนวปฏิบัติการพยาบาลให้พยาบาลหน่วยปฐมภูมิสำนักคร้อ จังหวัดกาญจนบุรี นำไปทดลองใช้กับผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในชุมชน 3 ราย เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล พบว่า ผู้ดูแลมีความพึงพอใจต่อการได้รับกิจกรรมการพยาบาลที่ส่งเสริมให้มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยและการดูแลตนเอง รวมทั้งการรร่วมกิจกรรมกลุ่มทำให้มีเครือข่ายที่ช่วยเหลือกันในชุมชน ผู้ดูแลสามารถให้การดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้นส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลและผู้ป่วย
ข้อเสนอแนะ ควรมีการปรับปรุงแนวปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ใหม่ ๆ เป็นฐานการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งนำไปใช้กับผู้ดูลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในชุมชน จำนวนมากขึ้น เพื่อพัฒนาให้เป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศและได้มาตรฐาน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพพยาบาลอย่างแท้จริงต่อไป The purpose of this study was to develop a clinical nursing practice guideline (CNPG) for promoting caregiver’s quality of life in caring for the terminally ill cancer patient in community by applying evidence-bases practice model of the Center for Advanced Nursing Practice, America (Soukup. 2000). The first phase, the investigator analyzed the problem of caregiver’s quality of life in caring for the terminally ill cancer patients in cancer patient unit. The second phase was to search and review of empirical evidence from 1999-2010. Ten related evidences were selected which composed one meta-analysis, three randomized control trial researches, two longitudinal study researches, one systematic review, two descriptive researches and one special article. All revevant evidences were evaluated the strength of information based on Melnyk and Fineout-Overholt (Fongcome Tilogskunchai. 2006 cited in Melnyk and Fineout-Overholt. 2005). Then they were analyzed and synthesized to develop a CNPG. Afterwards the CNPG was validated by the expert from Palliative Care Unit and was evaluated possibility (transferability, feasibility and coast-benefit ratio) which based on Polit and Beck’s criteria (2004). The CNPG consisted of 2 parts, part 1 was the caregiver’s quality of life assessment and part 2 was the nursing interview which comprised of home visit, phone call, caregiver support group, psycho-education, coping skills, counseling and group activity. The last phase of the study, the CNPG had been implemented at primary care unit in Kanchanaburi province for 4 weeks. It was found that caregivers were satisfied to receive the program of nursing intervention for caring their loved ones and were able to take care themselves with support group to improve quality of care and their quality of life. Suggestion for the effectiveness of this CNPG, the CNPG should be continuously developed to ensure its usefulness whenever further evidences become available and should be performed with more caregivers in order to improve caregiver’s quality of life. Furthermore, it becomes the best practice guideline and the gold standard for developing quality of nursing practice. |
Description: | การศึกษาอิสระ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2553 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3825 |
Appears in Collections: | Nursing - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Promoting-Caregivers-Quality-of-Life-in-Caring-for-the-Terminally-Ill-Cancer-Patient-in-Community.pdf Restricted Access | 26.36 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.