Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3827
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิชิต สุขเจริญพงษ์-
dc.contributor.advisorPichit Sukchareonpong-
dc.contributor.authorพวงรัตน์ บุญประสาน-
dc.contributor.authorPuangrat Boonprasan-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.date.accessioned2025-04-27T14:39:09Z-
dc.date.available2025-04-27T14:39:09Z-
dc.date.issued2000-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3827-
dc.descriptionภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2543en
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทฤษฎีของการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management, TQM) และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบข้อแตกต่างของเกณฑ์ตัดสินรางวัลคุณภาพที่มีพื้นฐานมาจากการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ซึ่งประกอบด้วย 1. รางวัลคุณภาพแห่งชาติมัลคอล์มบอล์ดริจ (The Malcolm Baldrige National Quality Award : MBNQA) 2. รางวัลคุณภาพแห่งชาติสำหรับประเทศไทย (Thai/Royal Quality Award) 3. รางวัลคุณภาพของยุโรป (The European Quality Award) 4. รางวัลเดมมิ่ง (The Deming Prize) 5. ระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 : 2000 ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษานี้เป็นข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) โดยทำการสืบค้นข้อมูลทุติยภูมินี้จากแหล่งข้อมูลสิ่งพิมพ์ หน่วยงานราชการ เช่น สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (สวทช.) แหล่งข้อมูลจากห้องสมุด และการสืบค้นจาก Internet และนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน จากการศึกษาสามารถแบ่งกลุ่มรางวัลคุณภาพที่มาจากแม่แบบทีคิวเอ็มได้เป็น 3 ตระกูล ดังนี้ 1. รางวัลคุณภาพที่มาจากแม่แบบทีคิวเอ็มตระกูล NQAs 2. รางวัลคุณภาพที่มาจากแม่แบบทีคิวเอ็มตระกูลญี่ปุ่น 3. รางวัลคุณภาพที่มาจากแม่แบบทีคิวเอ็มตระกูล ISO 9000 ผลการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า รางวัลคุณภาพที่มาจากแม่แบบทีคิวเอ็มตระกูลต่าง ๆ มี ความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ 1. รางวัลคุณภาพที่มาจากแม่แบบทีคิวเอ็มตระกูล NQAs มีลักษณะเด่น คือ มุ่งเน้นในการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันองค์กร มุ่งยกระดับคุณภาพของระบบบริหารให้แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง ใช้เกณฑ์ตัดสินรางวัล เพื่อเป็นการเปรียบเทียบความสามารถในด้านการบริหารกับบริษัทชั้นนำ โดยให้รางวัลกับองค์กรที่มีคะแนนสูงที่สุด (คะแนนเต็ม = 1000 คะแนน) ผู้บริหารระดับสูงต้องมีส่วนร่วมโดยตรงกับระบบการบริหารคุณภาพ มุ่งสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เกณฑ์พิจารณาครอบคลุมทุกประเด็นในระบบบริหาร และเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานทั่วทั้งองค์กรด้วยความสมัครใจ 2. รางวัลคุณภาพที่มาจากแม่แบบทีคิวเอ็มตระกูลญี่ปุ่น มีลักษณะเด่น คือ มุ่งเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันขององค์กร ระบุถึงกิจกรรมที่ต้องดำเนินการเพื่อประกัน และปรับปรุงคุณภาพของสินค้า และบริการอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารระดับสูง ต้องมีส่วนร่วมโดยตรงกับระบบการบริหารคุณภาพ มุ่งสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า มีสาระกระชับ และชัดเจน สามารถครอบคลุมประเด็นทีสำคัญในระบบบริหาร และเน้นที่การปรับเปลี่ยนจิตสำนึกของ “คน” ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากร และการมีส่วนร่วมปรับปรุงคุณภาพของบุคคลทุกระดับอย่างจริงจัง โดยถือว่า “คน” เป็นศูนย์กลางของการบริหารคุณภาพ 3. รางวัลคุณภาพที่มาจากแม่แบบทีคิวเอ็มตระกูล ISO 9001 : 2000 มีลักษณะเด่น คือ มุ่งเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันขององค์กร มุ่งสร้างมาตรฐานให้กับกระบวนการทางธุรกิจ และขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยเน้นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เน้นเรื่องเป้าหมายคุณภาพ และให้ความสำคัญต่อการวางแผนคุณภาพ ใช้การตรวจติดตาม และให้การรับรองว่าระบบบริหารเป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่ ไม่มีการให้คะแนน ผู้บริหารระดับสูงมีบทบาทในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า โดยปฏิบัติตาม Quality Management System Requirement และสามารถแต่งตั้งผู้แทนฝ่ายบริหารได้ มุ่งผลิตสินค้า หรือบริการให้ตรงตามข้อกำหนด และให้ตามความต้องการของลูกค้า โดยต้องสร้างและตระหนักถึงความสำคัญในการทำให้บรรลุข้อกำหนดของลูกค้า เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เกณฑ์พิจารณาครอบคลุมเกือบทุกประเด็นในระบบริหารและเน้นการกำหนดวิธีการปฏิบัติงาน และให้ปฏิบัติตามวิธีการนั้น โดยตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรบุคคล และเน้นการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคคล นอกจากนี้ ISO 9001 : 2000 ได้ถูกปรับปรุงให้มีเกณฑ์พิจารณาใกล้เคียงกับแม่แบบทีคิวเอ็มตระกูล NQAs มากขึ้น แต่ยังมีความแตกต่างในส่วนของประเด็นพิจารณา และรายละเอียดที่จะนำมาพิจารณา นอกจากนี้ได้มีการศึกษาเปรียบเทียบรางวัลคุณภาพที่มาจากแม่แบบทีคิวเอ็มตระกูล NQAs ของประเทศต่างๆ ซึ่งพบว่ามีความแตกต่างกันในเรื่องของน้ำหนักคะแนนที่ให้ในแต่ละประเด็นพิจารณา ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมในด้านต่าง ๆ ของแต่ละประเทศ คือ ประเด็นสำคัญ และยังมีการดำเนินการน้อย หรือยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรจะมีน้ำหนักคะแนนมาก นอกจากนี้ความแตกต่างในเรื่องน้ำหนักคะแนนยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และความเห็นของคณะกรรมการในปีนั้น ๆ ด้วยen
dc.language.isothen
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.subjectการบริหารคุณภาพโดยรวมen
dc.subjectTotal quality managementen
dc.subjectรางวัลคุณภาพแห่งชาติมัลคัม บัลดริจen
dc.subjectMalcolm Baldrige National Quality Awarden
dc.subjectรางวัลเดมมิ่งen
dc.subjectDeming Prizeen
dc.subjectไอเอสโอ 9001en
dc.subjectISO 9001 Standarden
dc.subjectรางวัลคุณภาพยุโรปen
dc.subjectThe European Quality Awarden
dc.subjectรางวัลคุณภาพแห่งชาติen
dc.subjectThailand Quality Awarden
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบระบบการจัดการคุณภาพen
dc.title.alternativeThe Comparative Study of the Quality Management Systemen
dc.typeIndependent Studiesen
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจen
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
The-Comparative-Study-of-the-Quality-Management-System.pdf
  Restricted Access
10.56 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.