Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3828
Title: | การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการชุบสีแบบ Electrophoretic deposition (EPD) : กรณีศึกษา บริษัท ยานภัณฑ์ ไดโซะ (ประเทศไทย) จำกัด |
Other Titles: | Increasing the Efficiency in Paint Coating Process Electrophoretic Deposition (EPD) : A Case Study of Yarnapund Daiso (Thailand) Co., Ltd. |
Authors: | พิษณุ วรรณกูล Pitsanu Wannakul พหล ทิพย์สุมณฑา Pahol Tipsumontha Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | การชุบเคลือบผิวด้วยไฟฟ้า Electroplating อุตสาหกรรมรถยนต์ Automobile industry and trade การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า Electropherotic deposition โลหะ – การกำจัดสนิม Metals – Pickling บริษัท ยานภัณฑ์ ไดโซะ (ประเทศไทย) จำกัด Yarnapund Daiso (Thailand) Co.Ltd. การควบคุมการผลิต Production control |
Issue Date: | 2008 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาอิสระฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการชุบสีแบบ Electrophoretic Deposition (EPD) เพื่อเสนอแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการชุบสี EPD ของบริษัท ยานภัณฑ์ ไดโซะ (ประเทศไทย) จำกัด จากการศึกษาข้อมูลเกี่วกับขั้นตอนของกระบวนการชุบสี EPD โดยได้ทำการตรวจสอบมาตรฐานการชุบชองชิ้นงานแต่ละชนิดเพื่อหาแนวทางการปรับปรุงโดยใช้ทฤษฎีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและทฤษฎีของการชุบสีแบบ EPD โดยพบหัวข้อที่สามารถปรับปรุงได้ คือ จำนวนการแขวนชิ้นงานเข้าชุบสีต่อครั้ง ผู้ศึกษาได้นำมาวิเคราะห์หาแนวทางปรับปรุงโดยใช้ทฤษฎีการชุบสีแบบ EPD รวมทั้งขอคำปรึกษาจากผู้ที่เกี่ยวข้องในแผนกชุบสี จากการศึกษาพบว่า การแขวนชิ้นงานเข้าชุบสีจะแขวนชิ้นงานชนิดเดียวกันต่อที่แขวนหนึ่งอัน ซึ่งชิ้นงานบางชนิดมีขนาดใหญ่ทำให้แขวนได้จำนวนหนึ่งและทำให้เหลือพื้นที่ว่างอยู่พอสมควร ทางผู้ศึกษาจึงได้เสนอแนวทางในการปรับปรุงจำนวนการแขวนชิ้นงานดังกล่าว คือ การแขวนชิ้นงานบางชนิดยังสามารถแขวนชิ้นงานชนิดอื่นรวมกันได้อีก เพื่อให้การชุบหนึ่งครั้งมีประสิทธิภาพเต็มข้อจำกัด ซึ่งแนวทางในการปรับปรุงที่ได้กล่าวมานั้น คาดว่าจะสามารถช่วยลดจำนวนการชุบของที่แขวนโดยยังได้จำนวนชิ้นงานในปริมาณเท่าเดิม ซึ่งทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการชุบสีตามทฤษฎีการผลิต จากผลการศึกษาพบว่า สภาพปัจจุบันทางบริษัทฯ มีการผลิตชิ้นงานหลายชนิดทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ จากการศึกษากระบวนการชุบนีของบริษัทฯ พบว่ามีชิ้นงานบางชนิดที่มีการแขวนเข้าชุบสีไม่เต็มที่แขวน และจากการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการแขวนชิ้นงานสามารถแขวนชิ้นงานรวมกันได้ โดยการนำชิ้นงานชนิดหนึ่งมาแขวนรวมกับชิ้นงานอีกชนิดหนึ่ง พื่อให้จำนวนการผลิตในการแขวนชิ้นงานลดลง ซึ่งชิ้นงานที่นำมาทำการศึกษา คือ ชิ้นงานที่ 1 และชิ้นงานที่ 2 มีจำนวนการผลิตเท่ากับ 20 ที่แขวนต่อวัน และ 16 ที่แขวนต่อวัน ตามลำดับ จากแนวทางในการปรับปรุงดังกล่าว สามารถทำให้จำนวนการผลิตของชิ้นงานที่ 2 ลดลงเหลือ 12 ที่แขวนต่อวัน คือลดลง 4 ที่แขวนต่อวัน เท่ากับจำนวนการผลิตชิ้นงานที่ 2 ลดลง 25 เปอร์เซ็ยต์ และสามารถนำแนวทางนี้ไปใช้ในการปรับปรุงชิ้นงานชนิดอื่น ที่มีการแขวนไม่เต็มที่แขวน เพื่อให้ประสิทธิภาพของการผลิตโดยรวมมีค่าสูงขึ้นได้อีก |
Description: | การศึกษาอิสระ (บธ. ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2551 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3828 |
Appears in Collections: | Business Administration - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Increasing-the-Efficiency-in-Paint-Coating-Process-Electrophoretic-Deposition.pdf Restricted Access | 9.76 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.