Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3847
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นบุคคลไร้ที่พึ่ง :ศึกษาเฉพาะบุคคลไร้ที่พึ่ง ในสถานแรกรับคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดนนทบุรี กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ |
Other Titles: | Factors Related to the Homeless : Case Study of the Homeless in Foster Homeless, Department of Social Development and Welfare |
Authors: | ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล Thipaporn Phothithawil พีรยศ วรรณภพ Peerayote Wannapop Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | คนไร้ที่อยู่อาศัย Homeless persons คนเร่ร่อน คนจรจัด Tramps สถานแรกรับคนไร้ที่พึ่ง – ไทย – นนทบุรี คนไร้ที่อยู่อาศัย – บริการที่ได้รับ Homeless persons -- Services for การขัดเกลาทางสังคม Socialization สังคมประกิต ความจน Poverty การพึ่งตนเอง Self-Reliance Social action การกระทำทางสังคม |
Issue Date: | 2009 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษา เรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นบุคคลไร้ที่พึ่ง : ศึกษาเฉพาะบุคคลไร้ที่พึ่ง ในสถานแรกรับคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดนนทบุรี กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของคนไร้ที่พึ่งในสถานแรกรับคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดนนทบุรี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้บุคคลตัดสินใจออกมาไร้ที่พึ่ง และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการช่วยเหลือบุคคลไร้ที่พึ่ง เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นบุคคลไร้ที่พึ่ง ที่อยู่ในความดูแลของสถานแรกรับคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดนนทบุรี กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จำนวน 113 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวนค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเฉลี่ยรวมผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายุระหว่าง 38-56 ปี อายุสูงสุด 80 ปี และอายต่ำสุด 17 ปี มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในภาคกลาง ส่วนภูมิลำเนาเดิมอยู่ในภาคตะวันตกน้อยที่สุด นับถือศาสนาพุทธมากที่สุด รองลงมานับถือศาสนาคริสต์และอิสาลามตามลำดับ จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป.4-ป.6) มากที่สุด รองลงมาจบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น (ป. 1-ป.3) จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1- ม.3) จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) ส่วนจบการศึกษาในระดับวิทยาลัย (เทคนิค อาชีวะ) มหาวิทยาลัย และการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) มีจำนวนน้อยที่สุด ความสามารถในการอ่านออกเขียนได้มากที่สุด รองลงมา อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และอ่านออกแต่เขียนไม่ได้ มีน้อยที่สุด และก่อนเข้ารับการสงเคราะห์ส่วนใหญ่ สถานภาพโสด มากที่สุด รองลงมามีสถานภาพหย่าร้าง แยกทางกับคู่สมรส หรือถูกทอดทิ้งมีสถานภาพหม้าย และมีสถานภาพสมรสแล้ว มีจำนวนน้อยที่สุด ก่อนเข้ารับการสงเคราะห์มีสถานะเป็นบุตรมากที่สุด รองลงมา มีสถานะเป็นผู้อาศัย มีสถานะเป็นหัวหน้าครอบครัว มีสถานะเป็นภรรยา มีสถานะเป็นสามี มีสถานะเป็นหลาน และมีสถานะเป็นญาติ มีจำนวนน้อยที่สุด ส่วนใหญ่เคยอยู่ในความอุปการะของบุคคลอื่นก่อนเข้ารับการสงเคราะห์ ส่วนใหญ่กอนเข้ารับการสงเคราะห์เคยอยู่ในความอุปการะของบิดา มารดา มากที่สุด รองลงมาเคยอยู่ในความอุปการะของญาติ เคยอยู่ในความอุปการะของพี่ น้อง เคยอยู่ในความอุปการะของนายจ้าง เคยอยู่ในความอุปการะของบุตร (ลูก) ส่วนเคยอยู่ในความอุปการะของสามี ก่อนเข้ารักการสงเคราะห์ และเคยอยู่ในความอุปการะของบุตร (ลูก) ส่วนเคยอยู่ในความอุปการะของสามี ก่อนเข้ารับการสงเคราะห์ และเคยอยู่ในความอุปการะของเพื่อนหรือคนรู้จัก มีจำนวนน้อยที่สุด และส่วนใหญ่ก่อนเข้ารับการสงเคราะห์ มีภาระที่ต้องเลี้ยงดูบิดา มารดา (พ่อ แม่) มากที่สุด รองลงมามีภาระที่ต้องเลี้ยงดูบุตร (ลูก) มีภาระที่ต้องเลี้ยงดูพี่น้อง มีภาระที่ต้องเลี้ยงดูภรรยา และมีภาระที่ต้องเลี้ยงดูสามี มีจำนวนน้อยที่สุด และ ส่วนใหญ่มีบุตรจำนวน 1 คน มากที่สุด รองลงมา มีบุตรจำนวน 2 คน มีบุตรจำนวน 4 คน และมีบุตรจำนวน 3 คน มีจำนวนน้อยที่สุด และส่วนใหญ่ก่อนเข้ารับการสงเคราะห์ประกอบอาชีพรับจ้างมากที่สุด รองลงมา ประกอบอาชีพก่อสร้าง ประกอบอาชีพค้าขาย และประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีจำนวน้อยที่สุด และส่วนใหญ่มีรายได้จากการประกอบอาชีพก่อนเข้ารับการสงเคราะห์เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 2,200-4,500 บาท และส่วนใหญ่เคยเข้ารับการสงเคราะห์จำนวน 1 ครั้ง มากที่สุด รองลงมา เคยเข้ารับการสงเคราะห์จำนวน 2 ครั้ง เคยเข้ารับการสงเคราะห์จำนวน 3 ครั้ง เคยเข้ารับการสงเคราะห์จำนวน 5 ครั้ง และเคยเข้ารับการสงเคราะห์จำนวน 7 ครั้ง และเข้ารับการสงเคราะห์จำนวน 9 ครั้ง มีจำนวนน้อยที่สุดเท่ากัน และความต้องการในการดำเนินชีวิตส่วนใหญ่ต้องการกลับภูมิลำเนา มากที่สุด รองลงมาต้องการกลับไปใช้ชีวิตนอกสถานสงเคราะห์แต่ไม่กลับภูมิลำเนา และต้องการอยู่ในสถานสงเคราะห์มีจำนวน้อยสุดปัจจัยผลัดดันให้บุคคลตัดสินใจเป็นบุคคลไร้ที่พึ่ง คือ สิ่งที่เป็นแรงผลักให้บุคคลจำเป็นต้องตัดสินใจกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อให้ตนเองมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หรือว่าออกมาจากสิ่งที่เป็นอยู่เพื่อหาสิ่งที่ดีกว่า ซึ่งประกอบไปด้วย 6 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านความรู้สึกต่อการเป็นบุคคลไร้ที่พึ่ง ปัจจัยด้านสถานภาพทางเศรษฐกิจของบุคคลไร้ที่พึ่ง (ก่อนเข้ามาอยู่ในสถานสงเคราะห์) ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านญาติพี่น้อง ปัจจัยด้านเพื่อน และปัจจัยด้านชุมชนเดิม จากการศึกษา พบว่า ปัจจัยผลักดันให้บุคคบตัดสินใจ เป็นบุคคลไร้ที่พึ่ง มีค่าเฉลี่ยรวม 2.60 อยู่ในระดับปานกลาง ประกอบด้วย ปัจจัยด้านความรู้สึกต่อการเป็นบุคคลไร้ที่พึ่ง ค่าเฉลี่ย 2.52 อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านสถานภาพทางเศรษฐกิจของบุคคลไร้ที่พึ่ง (ก่อนเข้ามาอยู่ในสถานสงเคราะห์) ค่าเฉลี่ย 2.66 อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านครอบครัว ค่าเฉลี่ย 2.49 อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านญาติพี่น้อง ค่าเฉลี่ย 2.42 อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านเพื่อน ค่าเฉลี่ย 2.71 อยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยทางด้านชุมชนเดิม ค่าเฉลี่ย 2.81 อยู่ในระดับปานกลางปัจจัยดึงให้บุคคลตัดสินใจเป็นบุคคลไร้ที่พึ่ง คือ สิ่งที่เข้ามาเป็นแรงกระตุ้นให้บุคคลอยากที่จะเข้ามาหาสิ่งที่ตนเองคิดว่าจะทำให้ชีวิตของตนเองมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม ประกอบไปด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านความเจริญทางด้านเศรษฐกิจของชุมชนเมือง ปัจจัยด้านการเข้าถึงบริการ ปัจจัยด้านการชักจูงและเลียนแบบครอบครัว ญาติพี่น้อง และเพื่อน จากการศึกษา พบว่า ปัจจัยดึงให้บุคคลตัดสินใจเป็นบุคคลไร้ที่พึ่ง มีค่าเฉลี่ยรวม 2.37 อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยด้านความเจริญทางด้านเศรษฐกิจของชุมชนเมือง ค่าเฉลี่ย 2.18 อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านการเข้าถึงบริการ ค่าเฉลี่ย 2.25 อยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยด้านการชักจูงและเลียนแบบครอบครัว ญาติพี่น้องและเพื่อน ค่าเฉลี่ย 2.83 อยู่ในระดับปานกลางข้อเสนอแนะและแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา บุคคลไร้ที่พึ่ง1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาล คือ รัฐบาลควรมีนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างอาชีพให้กับประชาชนทุกภูมิภาคอย่างทั่วถึง ส่งเสริมให้มีการฝึกอาชีพ จัดอบรมพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพ ควรเน้นการส่งเสริมการกระจายรายได้ไปสู่ภาคท้องถิ่นอย่างทั่วถึงประชาชนทุกคน ได้รับเท่าเทียมกัน ควรจัดสวัสดิการเพื่อประชาชนอย่างทั่วถึงทุกภูมิภาคของประเทศ และควรมีแหล่งพักพิงที่เป็นของภาครัฐคอยบริการให้กับประชาชนทั่วทุกภูมิภาค เพื่อช่วยเหลือประชาชนยามไม่มีที่อยู่อาศัยตกทุกข์ได้ยาก2. ข้อเสนอแนะต่อสถานสงเคราะห์ คือ สถานสงเคราะห์ควรมีเนื้อที่กว้างขวางกว่านี้ เพื่อจะได้มีพื้นที่ให้ผู้รับบริการได้ทำกิจกรรมมากขึ้น และควรให้อิสระกับผู้รับบริการในการดำรงชีวิตอยู่ในสถานสงเคราะห์3. ข้อเสนอแนะต่อการวิจัยในอนาคต คือ สำหรับงานวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาแนวทางในการดำเนินชีวิตของบุคคลไร้ที่พึ่งว่าต้องการที่จะดำเนินชีวิตอย่างไรต่อไปในอนาคตหลังออกจากสถานสงเคราะห์ ศึกษาว่าจะกลับไปเร่ร่อน เหมือนเดิมหรือมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม และหากเป็นไปได้ ควรทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นชาวต่างด้าวด้วย เพื่อจะได้รู้ถึงปัญหาและปัจจัยที่ผลักดันหรือปัจจัยดึงให้บุคคลเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างประเทศต่อไป |
Description: | การศึกษาอิสระ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2552 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3847 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Factors-Relates-to-Being-the-Homeless.pdf Restricted Access | 18.19 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.