Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3863
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรรณราย แสงวิเชียร | - |
dc.contributor.advisor | Pannarai Saengwichian | - |
dc.contributor.author | พรศักดิ์ พิพัฒนวิไลกุล | - |
dc.contributor.author | Pornsak Pipattanavilaikul | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | - |
dc.date.accessioned | 2025-05-19T07:35:33Z | - |
dc.date.available | 2025-05-19T07:35:33Z | - |
dc.date.issued | 2002 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3863 | - |
dc.description | ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2545 | en |
dc.description.abstract | การจัดทำรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการแก้ปัญหาวิกฤติทางการเงินของธนาคารกสิกรไทยและธนาคารทหารไทย โดยศึกษาจากผลการดำเนินงานของธนาคารกสิกรไทยและธนาคารทหารไทย ในช่วงก่อนและหลังการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจไทย โดยพิจารณาถึงอัตราส่วนทางด้านการเงินในกิจกรรมต่าง ๆ 4 ด้านด้วยกันคือ อัตราส่วนด้านสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) อัตราส่วนด้านสัดส่วนเงินทุน (Leverage Ratio) อัตราส่วนด้านกิจกรรม (Activity Ratio) และ อัตราส่วนด้านความสามารถทำกำไร (Profitability Ratio) และความสามารถในการบริหารงานของธนาคารกสิกรไทยและธนาคารทหารไทย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานผลการดำเนินงานของธนาคารกสิกรไทยและธนาคารทหารไทย ในช่วงระหว่างปี 2539-2543 และศึกษาผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจที่มีต่อธนาคารพาณิชน์ของไทยและการปรับตัวเพื่อรองรับวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น รวมทั้งเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาทางการเงินของธนาคารกสิกรไทยและธนาคารทหารไทยสรุปผลการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินของธนาคารกสิกรไทยและธนาคารทหารไทยในช่วงก่อนและหลังการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจไทย มี 4 ข้อ ดังนี้1) ด้านความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น จากปี 2539-2543 จะเห็นได้ว่า ธนาคารกสิกรไทยมีความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นได้ดีกว่าธนาคารทหารไทย แสดงว่า ธนาคารกสิกรไทยมีสภาพคล่องยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีในระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ก็ตาม แต่ธนาคารสามารถรักษาสภาพคล่องให้มีอย่างเพียงพอและรักษาเสถียรภาพในการดำเนินงาน จึงส่งผลให้สภาพคล่องยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่สำหรับธนาคารทหารไทยมีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินจะต้องเร่งแก้ไขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และเพิ่มทุนของธนาคารอย่างเพียงพอ2) ด้านความสามารถในการก่อหนี้ ธนาคารกสิกรไทยและธนาคารทหารไทย มีอัตราส่วนหนี้สินสูงในระดับใกล้เคียงกัน แสดงถึงสัดส่วนทุนของธนาคารทั้งสองยังมีภาระหนี้สินสูง3) ด้านประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพยก์ จากการวิเคราะห์จะเห็นว่า ในปี 2539-2542 ธนาคารกสิกรไทยและธนาคารทหารไทย มีค่าติดลบ เนื่องจากธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ทำให้รายได้ของธนาคารลดลงไปอย่างมาก เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่ของธนาคารมาจากรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผล แต่ในปี 2543 ธนาคารกสิกรไทย มีค่าเป็นบวก อาจเป็นเพราะธนาคารได้ตั้งสำรองหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญไว้มีจำนวนเกินกว่าเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดและธนาคารยังมีกำไรจากการปริวรรตและกำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น ส่วนธนาคารทหารไทยมีค่าติดลบ อาจเป็นเพราะธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บหนี้ NPLs จากลูกหนี้ได้รวมทั้งต้องตั้งสำรองหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญไว้ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดด้วย4) ด้านความสามารถในการทำกำไร ตั้งแต่ปี 2539-2542 ทั้งธนาคารกสิกรไทยและธนาคารทหารไทยมีความสามารถทำกำไรที่ลดลง เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่องและปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เป็นจำนวนมาก เพราะรายได้หลักของธนาคารมาจากรายได้จากดอกเบี้ยงและเงินปันผล ทำให้ธนาคารประสบกับปัญหาในการทำกำไร แต่ในปี 2543 ธนาคารกสิกรไทยมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากธนาคารได้แก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไปแล้ว และธนาคารมีรายได้จากการเพิ่มขึ้นของกำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุนในหลักทรัพย์ รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ กำไรจากการปริวรรต ฯลฯ แต่สำหรับธนาคารทหารไทยมีค่าติดดลบเนื่องมาจาก ธนาคารมีปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งธนาคารต้องตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้ธนาคารไม่มีกำไรจากผลการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินของธนาคารกสิกรไทยและธนาคารทหารไทย จะเห็นได้ว่าธนาคารกสิกรไทย ควรแก้ไขด้านความสามารถในการก่อหนี้ ส่วนธนาคารทหารไทย ควรแก้ไขด้านความสามารถในการชำระหนี้สินระยะสั้น ด้านความสามารถในการก่อหนี้ ด้านประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ และด้านความสามารถในการทำกำไร เป็นต้น | en |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | en |
dc.rights | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | en |
dc.subject | ธนาคารและการธนาคาร -- ไทย | en |
dc.subject | Banks and banking -- Thailand | en |
dc.subject | วิกฤตการณ์การเงิน -- ไทย | en |
dc.subject | Financial crises -- Thailand | en |
dc.subject | วิกฤตการณ์การเงิน -- ผลกระทบจากนโยบายการเงิน | en |
dc.subject | Financial crises -- Effect of monetary policy on | en |
dc.subject | การจัดการธนาคาร | en |
dc.subject | Bank management | en |
dc.subject | การชำระหนี้ | en |
dc.subject | Performance (Law) | en |
dc.subject | การบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน | en |
dc.subject | Asset-liability management | en |
dc.subject | ธนาคารกสิกรไทย -- การเงิน | en |
dc.subject | Thai Farmer Bank -- Finance | en |
dc.subject | ธนาคารทหารไทย -- การเงิน | en |
dc.subject | Thai Military Bank -- Finance | en |
dc.title | การศึกษาเปรียบเทียบการแก้ปัญหาวิกฤติทางการเงินของธนาคารกสิกรไทยและธนาคารทหารไทย | en |
dc.title.alternative | Comparison Study of the Financial Crisis Problem Solving between Thai Farmer Bank and Thai Military Bank | en |
dc.type | Independent Studies | en |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | บริหารธุรกิจ | en |
Appears in Collections: | Business Administration - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
A-Comparison-Study-of-the-Financial-Crisis-Problem-Solving.pdf Restricted Access | 15.45 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.