Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3866
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร-
dc.contributor.advisorJaturong Boonyarattanasoontorn-
dc.contributor.authorพิกุล เจียวท่าไม้-
dc.contributor.authorPikul Jiewthamai-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2025-05-19T09:29:00Z-
dc.date.available2025-05-19T09:29:00Z-
dc.date.issued2001-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3866-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2544en
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของแรงงานไทย จังหวัดลำปาง ก่อนและหลังไปทำงานต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของแรงงานไทย ก่อนและหลังไปทำงานต่างประเทศและเพื่อศึกษาปัญหาในปัจจุบันของแรงงานไทยหลังกลับจากต่างประเทศ ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 450 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย สมรสแล้ว อายุเฉลี่ย 37.52 ปี ก่อนไปทำงานต่างประเทศ มีอาชีพรับจ้าง และทำนา และมีภาระที่ต้องรับผิดชอบในครอบครัวเฉลี่ย 3.53 คน ในการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของแรงงานไทยก่อนและหลังไปทำงานต่างประเทศ พบว่า คุณภาพชีวิตทั้ง 7 ด้าน ก่อนและหลังไปทำงานต่างประเทศมีระดับใกล้เคียงกันในระดับปานกลางเท่านั้น ผลการศึกาษาปัญหาของผู้ใช้แรงงานในปัจจุบัน พบว่า แรงงานไทยยังคงมีปัญหาเรื่องหนี้สินจำนวนมาก เมื่อเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ยังคงมีการประกอบอาชีพเกษตรกรรม และรับจ้างเป็นส่วนใหญ่ และยังมีผู้ใช้แรงงานจำนวนไม่น้อยที่ต้องทำงานที่มีรายได้น้อย ไม่มั่นคงและต้องเสี่ยงอันตราย และมีรายได้ที่ไม่เพียงพอที่จะใช้จ่ายในครอบครัว อันเนื่องมาจากภาระรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าแรงงานส่วนหนึ่งยังไม่มีทางเลือกในการประกอบอาชีพ ข้อเสนอแนะในระดับนโยบาย คือ (1) รัฐฯ ควรทบทวนนโยบายและมาตรการค่าง ๆ ในการส่งแรงงานไทยไปทำงานในต่างประเทศ เพราะผลการศึกษา พบว่า คุณภาพชีวิตของแรงงานไทย ก่อนและหลังไปทำงานต่างประเทศ มีคุณภาพชีวิตที่ไม่แตกต่างกันมาก และ (2) กรมการจัดหางาน ควรมีนโยบายช่วยเหลือด้านตลาดรองรับแรงงานไทย หรือช่วยเหลือแรงงาน กรณีเมื่อกลับมาแล้วประสบปัญหาการว่างงาน หรือการทำงานที่มีรายได้น้อยเกินไป และไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในครอบครัว ข้อเสนอแนะระดับปฏิบัติการ คือ (1) กรมการจัดหางานควรออก กฎ ระเบียบ ว่าด้วยการฝึกอบรม เสริมทักษะ พัฒนา ความสามารถ ความถนัด รวมทั้ง กฎหมายแรงงานของประเทศที่จะไปทำงาน ให้ผู้ใช้แรงงานททุกคนก่อนเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานไปทำงานอย่างมีคุณภาพและไม่ฝ่าฝืนกฎหมายของประแทศที่ไปทำงาน และ (2) รัฐฯ ควรสร้างจิตสำนึกแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน ในการดูแลผู้ใช้แรงงานไทย ที่ประสงค์จะไปทำงานในต่างประเทศอย่างยุติธรรม ไม่รับผลประโยชน์จากบริษัทจัดหางาน ที่เอารัด เอาเปรียบผู้ใช้แรงงาน ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไป คือ (1) ควรมีการศึกษาขั้นตอน วิธีการ ในการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการควบคุม ดูแล แรงงานที่เดินทางไปต่างประเทศ (2) ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ และการใช้ชีวิตของแรงงานไทยในต่างประเทศ และ (3) ควรมีการศึกษา เกี่ยวกับปัญหา ความต้องการของผู้ใช้แรงงาน ที่กลับจากการทำงานต่างประเทศen
dc.language.isothen
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.subjectแรงงาน -- ไทย -- ลำปางen
dc.subjectLabor – Thailand -- Lampangen
dc.subjectคุณภาพชีวิตen
dc.subjectQuality of lifeen
dc.subjectแรงงานไทยในต่างประเทศen
dc.subjectแรงงานต่างด้าวไทยen
dc.subjectForeign workers, Thaien
dc.subjectนโยบายแรงงานen
dc.subjectLabor policyen
dc.subjectสวัสดิการแรงงานen
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของแรงงานไทยจังหวัดลำปางก่อนและหลังไปทำงานต่างประเทศen
dc.title.alternativeThe Comparative Study of Thai Labors' Life Quality in Lampang Province before and after Working in the Foreign Countriesen
dc.typeIndependent Studiesen
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการจัดการโครงการสวัสดิการสังคมen
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
The-Comparative-Study-of-Thai-Labours-Life-Quality.pdf
  Restricted Access
8.14 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.