Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3881
Title: การขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในชาวกัมพูชา : กรณีศึกษา เด็กและผู้สูงอายุชาวกัมพูชา ในชุมชนเปรมฤทัย ตำบลสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Elimination of Racial Discrimination : A Case Study of Cambodian Children and Elderly Persons in Pramruetai Community, SamRong Sub-district, Mung District, SamutPrakarn Province
Authors: จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร
Jaturong Boonyarattanasoontorn
ภาณุวัฒน์ กษิดิศ
Pannuwat Kasidis
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: แรงงานข้ามชาติ
แรงงานต่างด้าว
Foreign workers
แรงงานต่างด้าวกัมพูชา – ไทย – สมุทรปราการ
Foreign workers, Cambodian – Thailand – Samut Prakan
สิทธิมนุษยชน
Human rights
การเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน
Discrimination in employment
การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในการจ้างงาน
ชุมชนเปรมฤทัย (สำโรง, สมุทรปราการ)
Issue Date: 2012
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาอิสระเรื่อง “การขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในชาวกัมพูชา : กรณีศึกษาเด็กและผู้สูงอายุในชุมชนเปรมฤทัย ตำบลสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้าถึงสวัสดิการด้านการศึกษา และด้านการรักษาพยาบาลในชาวกัมพูชา และเพื่อเสนอแนะนโยบายทางด้านการศึกษา และการรักษาพยาบาลต่อชาวกัมพูชาที่อยู่บนหลักการเคารพสิทธิมนุษยชนและการไม่เลือกปฏิบัติต่อรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์เจาะลึกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กชาวกัมพูชา จำนวน 5 คน และกลุ่มผู้สูงอายุกัมพูชาอีก 5 คน ที่อยู่อาศัยในชุมชนเปรมฤทัย ผลการศึกษาพบว่า เด็กชาวกัมพูชาได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกับเด็กไทย นับตั้งแต่สิทธิในการศึกษาขั้นพื้นฐานฟรี สิทธิที่จะได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อเสื้อผ้า รองเท้า และอาหารกลางวัน ได้รับการปฏิบัติระหว่างการเรียนการสอนในชั้นเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษ การถูกลงโทษหากกระทำผิด การมีส่วนร่วมในห้องเรียน การแสดงความคิดเห็น เช่นเดียวกับเด็กไทย แต่ไม่ได้รับบัตรแสดงวุฒิการศึกษาเนื่องจากขาดเอกสารในสูติบัตร สำหรับการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุชาวกัมพูชา พบว่า ส่วนใหญ่มีบัตรหลักประกันสุขภาพของแรงงานต่างชาติ จึงสามารถเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลชองรัฐได้โดยเสียค่ารักษาเพียง 30 บาท ผู้สูงอายุชาวกัมพูชาไม่ได้รู้สึกกลัวหรือมีความกังวลในการเข้ารับบริการจากสถานพยาบาล ซึ่งให้บริการไม่แตกต่างจากคนไทย อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษายังพบว่า ผู้สูงอายุชาวกัมพูชาส่วนใหญ่เคยถูกดุด่า ต่อว่าจากเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล นอกจากนี้ ยังพบว่าแพทย์ไม่ได้ชี้แจงอาการและสาเหตุของโรค จากผลการศึกษาดังกล่าว ในด้านการศึกษา ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะว่า รัฐบาลควรมีนโยบายที่ชัดเจนเรื่องการออกวุฒิบัตรทางการศึกษาให้กับเด็กต่างชาติ ที่จบการศึกษาประเทศไทย โดยการปรับปรุงมติคณะรัฐมนตรี ว่าด้วยการศึกษาของเด็กไร้สัญชาติปี 2548 เพื่อให้เด็กได้รับวุฒิบัตรทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการควรมีนโยบาบให้สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สถาบันการศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน องค์กรเอกชน และภาคประชาสังคม ควรร่วมมือกันจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น ส่งเสริม เพื่อให้เด็กชาวกัมพูชาที่อพยพตามพ่อแม่เข้ามาในประเทศไทยได้รับการศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ควรร่วมมือกันส่งเสริมเด็กยากจน และเด็กต่างชาติที่ตามพ่อแม่มา ซึ่งอยู่ในพื้นที่ปกครองให้ได้รับการศึกษา โดยช่วยสมทบทุนอาหารกลางวัน ทุนซื้อเสื้อผ้า วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา และอื่น ๆ ตามความเหมาะสม สำหรับข้อเสนอแนะเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติด้านการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุชาวต่างชาติ ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลควรมีนโยบาบายส่งเสริมให้โรงพยาบาลของรัฐและเอกชนปฏิบัติกับผู้สูงอายุอย่างเท่าเทียมกัน โรงพยาบาลควรมีนโยบายต่อแพทย์อย่างเคร่งครัดในการปฏิบัติตามคำประกาศสิทธิผู้ป่วย โดยให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผู้ป่วยอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่ผู้ป่วยมาทำการรักษา โรงพยาบาลควรมีนโยบายเชิงรุกโดยการจัดหน่วยแพทย์ลงไปให้ความรู้กับชุมชนที่มีแรงงานอพยพอย่างทั่วถึง
Description: การศึกษาอิสระ (สส.ม.) (บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3881
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Elimination-of-Racial-Discrimination-a-Case-Study-of-Cambodian.pdf
  Restricted Access
5.6 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.