Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/396
Title: | การเสริมพลังอำนาจแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการปรับตัวและลดระดับน้ำตาลในเลือดผู้เป็นเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ภายใต้แบบจำลองการปรับตัวของรอย |
Other Titles: | Partcipatory Empowerment for Promoting Adaptive Behavior and Controlling Blood Sugar Levels of Diabetes Clients under Roy Adaptation Model |
Authors: | วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม Vanida Durongrittichai Kamonthip Khungtumneum โชติกา พลายหนู Chotikha Plainu Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing |
Keywords: | ผู้ป่วยเบาหวาน Diabetics พฤติกรรมสุขภาพ Health behavior น้ำตาลในเลือดสูง Hyperglycemia น้ำตาลในเลือด -- การควบคุม Blood sugar -- Control |
Issue Date: | 2017 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ เพื่อศึกษาการรับรู้การปรับตัว ผลการส่งเสริมการปรับตัวและค่าระดับน้ำตาลหลังการเสริมสร้างพลังอำนาจ เพื่อส่งเสริมการปรับตัวของผู้เป็นเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองโก จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างหลัก คือ ผู้ที่เป็นเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ 15 คน กลุ่มตัวอย่างรอง คือ ผู้ดูแล บุคลากรชุมชน และบุคลากรสุขภาพ 26 คน เก็บข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณด้วยแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ลักษณะส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพการรับรู้ของต่อการปรับตัวด้วยสถิติพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยการรับรู้และค่าระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังการเสริมพลังอำนาจด้วยสถิติ Paired t-test และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงบทบาทของครอบครัวบุคลากรชุมชนและบุคลากรสุขภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ประกอบอาชีพ ทำนา รายได้ครอบครัวเฉลี่ย 10,001-30,000 บาทต่อเดือน มีหนี้สิน ส่วนใหญ่มีอาการปัสสาวะบ่อย ตามัย การรับรู้การปรับตัว โดยรวมระดับปานกลาง และรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง สิ่งเร้าที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาล คือ ความเพียงพอของรายได้และการรับรู้ต่อการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) จากการวิเคราะห์เชิงเนื้อหากับปัจจัยด้านครอบครัวแบบทั่วไป แต่ไม่ลงลึกตามปัญหารายบุคคล ปัจจัยด้านบุคลากรชุมชน จะแนะนำส่งเสริมสุขภาพ ส่งให้เข้าถึงบริการสุขภาพ ไม่เคยดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องเนื่องจากคิดว่าเป็นงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเท่านั้น กระบวนการเสริมพลังอำนาจแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 1) การสะท้อนให้ผู้เป็นเบาหวานคิดถึงความสามารถในการเปลี่ยนแปลงเพื่อควบคุมตนเองทั้งที่เคยทำได้สำเร็จและไม่สำเร็จ 2) ทบทวนการปรับพฤติกรรมรับประทานอาหาร ออกกำลังกายดูแลเท้า เพื่อให้เห็นความสำเร็จของตนเองแต่ละระยะ ร่วมกันกำหนดทางเลือกสำหรับตัดสินใจ 3) ผู้เป็นเบาหวานลงมือปรับวิถีการดำรงชีวิต ประจำวันที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตด้วยตนเองตามทางเลือกที่ตัดสินใจ 4) การตรวจสอบและประเมินความสำเร็จของการปรับตัวที่เหมาะกับวิถีชีวิตและกำหนดวิธีที่จะปฏิบัติได้ในระยะยาว ข้อเสนอแนะ คือ พัฒนากระบวนการเสริมพลังอำนาจที่ให้ความสำคัญกับการปรับตัวแบบมีส่วนร่วมเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลและทดลองใช้อย่างต่อเนื่อง ถอดบทเรียนจากระบวนการเสริมพลังอำนาจที่ให้ความสำคัญกับการปรับตัวแบบมีส่วนร่วมมาสร้างเป็นคู่มือการดำเนินงานที่แสดงบทบาทหน้าที่เฉพาะของผู้เกี่ยวข้อง วิจัย ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสรีระที่ชัดเจน This Participatory Action Research was to study of perceived self-efficacy promoting adaptive, the effects of promoting adaptive and score of blood sugar levels after empowerment to promote adaptation of diabetes clients in District Health Promotion Hospital Nonggo, Nakhon Swas Province. The samples inclusion criteria was fifteen with diabetes clients and twenty six with caretaker, community personnel and health personnel. The data collection was conducted the qualitative and quantitate by questionnaire and in-dept intervier methodology. Statistical analysis on personal health data, the effects for promoting adaptive by qualitative statistical analysis, comparing of score perceived self-efficacy and score of blood sugar levels before and after the empowerment for promoting adaptive by paired T-test and change of role family, caretaker community personnel and health personnel by the content analysis. The results of this research indicated that most of the samples was femaly. Their monthly family income ranged from 10,001 to 30,000 baht per month, have debt. That most of symptom was polyurai, amblyopia. The perceived self-efficacy promoting overall and individual adaptation was moderate. The stimuli that affect controlling blood sugar levels was sufficient income and perceived self-efficacy promoting adaptive behavior significantly p-value <0.05. The content analysis and family factors was take not care of diabetes clients, health personnel factors was received the general enhance adaptive but not specific, caretaker community personnel factors was take care to hospital but received the enhance adaptive. The participatory empowerment for promoting adaptive behavior was 1) Discorvering reality 2) Critical reflection 3) Taking charge 4) Holding on. The recommendation was beneficial in a positive change consistent with participatory empowerment for improve nursing care model and experiment to take lessons change of role guide and received the empowerment has physiological adaptation behavior. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2560 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/396 |
Appears in Collections: | Nursing - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
CHOTIKHA-PLAINU.pdf Restricted Access | 4.17 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.