Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/408
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทวีศักดิ์ กสิผล-
dc.contributor.advisorTaweesak Kasiphol-
dc.contributor.authorนันทณัฏฐ์ ทัตธนธัชชัย-
dc.contributor.authorNanthanath Thadthanathachchai-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.date.accessioned2022-06-10T02:49:53Z-
dc.date.available2022-06-10T02:49:53Z-
dc.date.issued2015-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/408-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) (การสื่อสารสุขภาพ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2558.th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาณการเปิดรับสื่อกับระดับความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและทัศนคติต่อโรคความดันโลหิตสูง 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตามลักษณะประชากร ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา รายได้ อาชีพ สถานภาพสมรสเกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและทัศนคติต่อโรคความดันโลหิตสูงของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 400 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้มาโดยการเก็บข้อมูลด้วยวิธีบังเอิญจากศูนย์บริการสาธารณสุข ทั้ง 7 แห่ง ประมวลผลข้อมูล ด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ การทดสอบค่าเฉลี่ย (t-test independent) และการทดสอบความแปรปรวน (One-way ANOVA) และการหาค่าสัมประสิทธิ์เพียร์สัน (Pearson's correlation coefficients : r) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีปริมาณการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงทางวิทยุมากที่สุด (x̄=3.31) รองลงมา คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (x̄=3.10) และสื่ออินเทอร์เน็ต (x̄=2.35) กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงโดยรวมในระดับปานกลาง (x̄=14.45, คะแนนเต็ม 20) ร้อยละ 70.2 พิจารณาด้านต่างๆ ของความรู้พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายอยู่ในระดับสูง (x̄=3.83) ความรู้เกี่ยวกับการจัดการกับความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ (x̄=2.76) ส่วนความรู้เกี่ยวกับยารักษาโรคความดันโลหิตสูงและความรู้เกี่ยวกับอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับต่ำ (x̄=2.28, 2.16) กลุ่มตัวอย่างมีระดับทัศนคติเชิงบวกต่อโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับปานกลาง (x̄=3.11, คะแนนเต็ม 5) พบว่าปริมาณการเปิดรับสื่อวิทยุสื่อแผ่นพับ/วิดีโอในโรงพยาบาลและสื่ออินเทอร์เน็ตมีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวกกับระดับความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.05, r=.316, r=.404 ตามลำดับ)th
dc.description.abstractThis research aimed 1) to study the relationship between the media exposure level of the patients with hypertension in Bangkok Metropolitan area and their knowledge and attitude about hypertension and 2) to study the relationship between their demographic factors, genders, ages, educations, income, marital status and their knowledge and attitude about hypertension. The research methodology is survey, using questionnaires for collecting data. The sample group consisted of 400 hypertension patients in Bangkok Metropolitan Area where the hypertension patient density is the highest in Thailand. The collected data was processed by computer programs. Statistical tests were t-test indenpendent, One-way ANOVA and Pearson's correlation coefficients: r, by setting statistical significance at 0.05. The survey findings showed the media that hypertension patient sample groups were exposed to the most radios (x̄=3.31) then mobile phones (x̄=3.10) and the internet (x̄=2.35) respectively. The sample group had knowledge of hypertension at moderate level (x̄=14.45, full points 20) or 70.2 percents of toatl hypertension knowledge of 100 percents. For other useful knowledge, the sample group had knowledge of exercise at high level (x̄=3.83), knowledge of stress management at moderate level (x̄=2.76) and knowledge of high blood pressure medicine and knowledge of food for hypertension patients at low levels (x̄=2.28, 2.16). The sample group's attitude towards hypertension was positive at moderate level (x̄=3.11, full point 5). The survey found that the sample group exposure to radios, brochures/videos in hospitals and the internet were positively correlated to the sample group patient's knowledge of hypertension at statistically significant correlation level at <0.05 (r=0.316, r=0.450 and r=0.404 respectively)th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectHypertension -- Patientsth
dc.subjectความดันเลือดสูง -- ผู้ป่วยth
dc.subjectการสื่อสารทางการแพทย์th
dc.subjectCommunication in medicineth
dc.subjectการเปิดรับสื่อมวลชนth
dc.subjectMedia exposureth
dc.titleการเปิดรับสื่อความรู้และทัศนคติของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงth
dc.title.alternativeMedia Exposure, Knowledge and Attitude of Person with Hypertension to Hypertension Disease in Bangkok Metropolitanth
dc.typeThesisth
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการสื่อสารสุขภาพth
Appears in Collections:ommunication Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nanthanath-Thadthanathachachai.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.